5 รูปแบบกราฟที่เจอและใช้บ่อยในตลาดหุ้น | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP22

5 รูปแบบกราฟที่เจอและใช้บ่อยในตลาดหุ้น | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP22

5 min read  

ฉบับย่อ

  • การวางแผนการเทรดและศึกษารูปแบบกราฟต่าง ๆ ในตลาดหุ้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้เราไม่ตกใจจนเกินเหตุเวลาที่เจอ และสามารถเอาตัวรอดและทำกำไรจาก “ตลาดหุ้น” ได้
  • รูปแบบกราฟหุ้นที่เราเจอและใช้บ่อยใหนตลาดหุ้นมีอยู่ 5 แบบด้วยกัน คือ 1. Channel Trade 2. Breakout 3. Buy on Dip 4. Bullish Divergence และ 5. Bearish Divergence

 


รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ซีรีส์การเงินในตอนที่ผ่าน ๆ มาเราได้เรียนรู้วิธีการเทรดหุ้นด้วยการใช้ Technical กันไปพอสมควรแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวิธีดูแนวรับ แนวต้าน, การเอา Indicators ต่าง ๆ เข้ามาช่วยเทรด “ตลาดหุ้น” รวมถึงเรื่องการหาจุด Cut Loss ที่เอามาใช้ในตอนที่หุ้นของเราเสียทรงและป้องกันไม่ให้เราเข้าขาดทุนไปมากกว่านี้ วันนี้พี่ทุยจะพาทุกคนไปรู้จัก 5 รูปแบบกราฟที่เจอและใช้บ่อยในตลาดหุ้น และจะสอนทุกคนวางแผนการเทรดด้วยการใช้ Technical กัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย..

การวางแผนการเทรดด้วยในตลาดหุ้นสำคัญยังไง ?

ต้องบอกเลยว่าการวางแผนการเทรดถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับนักลงทุนสายเทคนิค (Technical) ทั้งคนที่เฝ้าจอและไม่ได้เฝ้าจอ เพราะจะทำให้เรารู้ว่าจังหวะไหนที่เราเข้าซื้อ และจังหวะไหนที่ควรถอยออกมาก่อน ซึ่งถ้าเราวางแผนมาดีพอเจอสถานการณ์จริง เราก็จะไม่ตกใจจนเกินไปและจะเอาตัวรอดมาได้นั่นเอง

5 รูปแบบกราฟที่เจอและใช้บ่อยในตลาดหุ้น

พี่ทุยรวมรูปแบบกราฟที่นักเทรดใช้ตัดสินใจในการซื้อขายหุ้น

1. Channel Trade

Channel Trade ถือเป็นหน้าเทรด หรือรูปแบบการเทรดที่ Basic มากที่สุดแต่กลับมีประสิทธิภาพที่สูงมาก Channel Trade เกิดจากการที่เราตีเส้นแนวรับ แนวต้าน ธรรมดา ๆ 2 เส้น เพื่อให้ได้กรอบที่เอาไว้ช่วยให้เราตัดสินใจในการเทรดได้ง่ายยิ่งขึ้น และจะได้ผลดีมากตอนที่หุ้นตัวนั้นมีแนวโน้มออกข้าง หรือ Sideway 

วิธีการใช้ Channel Trade คือซื้อเมื่อราคาหุ้นลงมาแตะที่เส้นแนวรับ และขายตอนที่ราคาหุ้นขึ้นไปแตะที่แนวต้าน ซึ่งข้อดีของ Channel Trade ก็คือมีกรอบการเทรดที่ค่อนข้างชัดเจน ทำให้เราวางแผนได้ง่าย

2. Breakout

Breakout เป็นรูปแบบกราฟที่เราเจอและใช้บ่อยมากในตลาดหุ้นอีกเช่นกัน โดยเฉพาะนักลงทุนสาย Day Trade และเฝ้าจออยู่ตลอดเวลา โดยรูปแบบการ Breakout ที่เรามักจะเจอกันบ่อย ๆ คือ 

  • Break กรอบ Channel Trade

เกิดขึ้นตอนที่กราฟแท่งเทียน หรือราคาขึ้นทะลุ (Break) กรอบ Sideway, แนวต้าน, Break Trend Line หรือ Break กราฟในรูปแบบอื่น ๆ  

5 รูปแบบกราฟที่เจอและใช้บ่อยในตลาดหุ้น

จากรูปจะเห็นว่าตอนแรกหุ้นตัวนี้เทรดอยู่ในกรอบ Sideway หรือระยะสะสมที่กำลังจะเลือกทาง และถ้าราคาหุ้นทะลุ หรือ Break แนวต้านของกรอบนี้เมื่อไหร่ก็ถือว่าน่าจะสนใจ เพราะถ้าหุ้น Break กรอบนี้ไปก็จะเป็นการเปลี่ยนกรอบเทรด และจะมีช่องว่างของกรอบ (Gap) ให้เราทำกำไรได้อยู่พอสมควรเลย

  • Break กรอบ Downtrend

การ Breakout กรอบ Downtrend ถือเป็นรูปแบบกราฟ หรือหน้าเทรดที่เราเจอบ่อยที่สุดรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน ข้อดีของการ Breakout กรอบ Downtrend คือถ้า Break แล้วยืนได้หุ้นก็มีโอกาสที่จะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ และจะทำให้อยู่ตรงต้นเทรนด์ทำให้มีโอกาสที่เราจะทำกำไรได้มาก

5 รูปแบบกราฟที่เจอและใช้บ่อยในตลาดหุ้น

จากรูปจะเห็นว่าตอนแรกหุ้นตัวนี้อยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง (Downtrend) และถูกเส้น Downtrend กดอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าตอนแรกเราเจอสถานการณ์นี้พี่ทุยจะยังไม่เข้าไป เพราะมีโอกาสที่จะขาดทุนสูง แต่ต่อมาถ้าราคาหุ้นเกิด Break ทะลุกรอบ Downtrend ขึ้นมา จังหวะนี้หุ้นตัวนี้ก็จะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง

ข้อดีของ Breakout

  • ทำให้เราอยู่ตรงต้นเทรนด์ หรือได้หุ้นที่ราคาต่ำ ๆ ก่อนที่หุ้นจะปรับตัวขึ้น ทำให้เราสามารถทำกำไรได้จำนวนมาก

ข้อเสียของ Breakout 

  • บางครั้งการ Break ของหุ้นก็เป็นการ Break ไม่จริง คือ Break แล้วลงต่อ หรือภาษาทั้ง Technical เรียกว่า False Break ถ้าเราเจอสถานการณ์นี้พี่ทุยแนะนำให้เราขายตรงราคาที่ Break ขึ้นมาไปก่อน ไม่อย่างนั้นเราอาจจะขาดทุนจำนวนมากได้

3. Buy on Dip

Buy on Dip เป็นการซื้อหุ้นเมื่อหุ้นย่อตัวในขาขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อจากการเกิด Break Out เพราะนักลงทุนบางกลุ่มจะคิดว่าตอนที่หุ้น Breakout ขึ้นมานั้นราคาอาจจะสูงเกินไป หรือหุ้นตัวนั้นขึ้นมาเร็วเกินไป ดังนั้นก็ควรจะมีจังหวะพักตัวบ้าง หรือที่ในวงการเทรดหุ้นเรียกกันว่า “ย่อเพื่อขึ้นต่อ” 

ซึ่ง Buy On Dip จะมีข้อดี คือ เราจะได้ราคาหุ้นที่ถูก, นิ่ง และชัวร์กว่าการซื้อตอน Break Out ซึ่งคำว่าชัวร์กว่าของพี่ทุย คือ Buy On Dip เราจะไม่ซื้อหุ้นตอนที่ Break Out ใหม่ ๆ แต่ถ้าหุ้นย่อตัวลงแล้วไม่ไหลกลับไปที่เดิมนี่แหละถึงจะเป็นจังหวะซื้อของเรา

ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ทำให้เราได้เปรียบพวกที่ซื้อหุ้นตอน Break Out เพราะไหนจะได้ราคาหุ้นที่แพงแล้ว เขายังต้องมานั่งลุ้นไม่ให้การ Break ครั้งนี้เป็น False Break หรือเปล่าด้วย

แต่ Buy On Dip ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว ข้อเสียของ Buy On Dip ก็มีอยู่บ้าง คือบางครั้งราคาหุ้นที่ Break Out แล้วหุ้นก็วิ่งต่อเลย ไม่มีจังหวะย่อลงมาให้เราได้ Buy On Dip แต่ส่วนตัวแล้วสำหรับพี่ทุยก็ถือว่าไม่ได้เป็นข้อเสียที่เลวร้ายอะไรมากนัก เพราะพี่ทุยถือว่าเรารอในจังหวะที่ชัวร์มากกว่า ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะพี่ทุยจะถือว่าหุ้นดียังมีอยู่อีกมาก นี่ไม่ได้เป็นโอกาสให้เราได้ทำกำไรในครั้งเดียว ยังมีหุ้นตัวอื่นที่มีจังหวะให้เราซื้อและทำกำไรอีกมาก   

4. Bullish Divergence

Divergence คือการสวนทางกันระหว่างกราฟแท่งเทียนกับ Indicators ต่าง ๆ เช่น MACD, RSI และ Stochastic

ซึ่ง Bullish Divergence จะเกิดเมื่อ กราฟแท่งเทียนเป็นแนวโน้มขาลง แต่ Indicators ต่าง ๆ เป็นแนวโน้มขาขึ้น

4. Bullish Divergence

จากรูปเราจะเห็นว่าหุ้นตัวนี้กราฟแท่งเทียนเป็นแนวโน้มขาลง แต่ MACD กลับเป็นแนวโน้มขาขึ้น 

ถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้เราอาจจะต้องจับตาดูหุ้นตัวนี้เป็นพิเศษ เพราะหุ้นอาจจะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเห็นกราฟเริ่มส่งสัญญาณกลับตัว เช่น EMA เส้นสั้น เช่น 5 วัน หรือ 10 วัน ตัด EMA เส้นยาว เช่น 50 วันขึ้นด้านบน เราก็สามารถเข้าซื้อได้เลย

5. Bearish Divergence

การเกิด Bearish Divergence จะตรงข้ามกับการเกิด Bullish Divergence คือกราฟแท่งเทียนเป็นแนวโน้มขาขึ้นแต่ Indicators ต่าง ๆ กลับเป็นแนวโน้มขาลง ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าหุ้นตัวนั้นอาจจะหยุดขึ้น และเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงได้ 

ถ้า ณ ตอนนั้นเราถือหุ้นตัวนี้อยู่เราจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าเกิดกราฟหักตัวลงเมื่อไหร่ เราก็ควรออกมาก่อน ไม่อย่างนั้นเราอาจจะขาดทุนเยอะได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง คือถ้าเกิดเราเจอหุ้นตัวนี้แล้วคิดว่ากราฟอยู่ในช่วงขาขึ้น แล้วไม่ได้ดู Divergence ก่อนก็อาจจะทำให้เราขาดทุนได้ ดังนั้น เวลาที่เราจะซื้อหุ้นตัวไหนพี่ทุยแนะนำให้เราดูทั้งกราฟแท่งเทียนและ Indicators ประกอบกัน เพื่อเช็ก Divergence ให้ดีก่อน

5. Bearish Divergence

จากรูปเราจะเห็น ว่ากราฟหุ้นตัวนี้กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ RSI กลับอยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง แบบนี้ก็ถือได้ว่าหุ้นตัวนี้กำลังเกิด Bearish Divergence ดังนั้น เราก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงหุ้นตัวนี้ไปก่อน

และนี่ก็เป็นรูปแบบของกราฟที่เป็นรูปแบบที่สำคัญ, มีประโยชน์ และเราเจอได้บ่อยได้ตลาดหุ้น ซึ่งถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้พี่ทุยอยากให้เราตั้งสติและวางแผนการเทรดให้ดี เพราะถ้าเรามีแผนการเทรดที่ดี เราก็สามารถเอาตัวรอดและทำกำไรจากตลาดหุ้นได้

เปิดบัญชีกับ LH Securities วันนี้ เรียนฟรีคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์

สำหรับใครที่กำลังมองหาที่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นอยู่ พี่ทุยแนะนำให้เปิดบัญชีกับทาง LH Securities ผู้สนับสนุนหลักของ ซีรีส์ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน

เพราะทั้งสะดวก และให้บริการครบ สามารถจบในที่เดียวได้ ตั้งแต่เปิดบัญชี การสมัครบริการตัดเงินบัญชีอัตโนมัติ ไปจนถึงวางหลักประกัน  LH Securities ก็มีให้บริการ และที่สำคัญคือสามารถทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกและง่ายมาก ๆ

สนใจเปิดบัญชีกับ LH Securities พร้อมดูขั้นตอนแบบละเอียด สามารถทำตามได้แบบ Step by Step คลิกที่นี่เลย

ยังไม่หมดแค่นั้น ! เปิดพอร์ตกับทาง LH Securities ตอนนี้รับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์กันแบบฟรี ๆ กับ “คุณเคน – จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร , CFP ®” ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo ของเรา ที่จะมาพาจับมือเทรดกันตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 ให้ โดยจะเน้นที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) วิเคราะห์กราฟกันแบบมันส์ ๆ พร้อมลุยตลาดจริงกันเลย

banner

banner LH

อ่าน EP ต่อไป

ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้

ติดตามซีรีส์การเงิน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย