4 สิ่งที่ นักลงทุนสายเทคนิค ควรรู้ก่อนเริ่มลงทุน | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP15

4 สิ่งที่ นักลงทุนสายเทคนิค ควรรู้ก่อนเริ่มลงทุน | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP15

4 min read  

ฉบับย่อ

  • ความรู้พื้นฐานของ Technical ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ นักลงทุนสายเทคนิค เพราะ ถ้าเรามีพื้นฐานที่ดีเราก็สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดได้ง่าย 
  • แนวคิดที่สำคัญของนักลงทุนสาย Technical คือ เขาเชื่อว่าปัจจัยทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐาน หรือข่าวสารต่าง ๆ ได้สะท้อนอยู่บนราคาหุ้นทั้งหมดแล้ว 
  • รูปแบบของกราฟที่เราใช้ในการวิเคราะห์ Technical มีอยู่ 4 แบบด้วยกัน คือ กราฟแท่ง,เส้น, จุด และกราฟแบบแท่งเทียน หรือ Candlesticks ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
  • Time Frame เป็นกรอบระยะเวลาที่เราดูกราฟ ซึ่งแต่ละ Time Frame ก็ให้ความหมายที่แตกต่างกัน คือ Month ให้ภาพกว้าง หรือระยะยาว, Week ให้ภาพในระยะกลาง และสุดท้าย Day ที่ให้ภาพระยะสั้น
  • นักลงทุนในตลาดหุ้นมีอยู่ 4 กลุ่มด้วยกัน คือ นักลงทุนต่างชาติ, โบรกเกอร์, กองทุน และรายย่อย  

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

มีคนถามพี่ทุยกันเข้ามาเยอะมาก ว่า นักลงทุนสายเทคนิค (Technical) มีวิธีดูกราฟหุ้นยังไง, เราต้องเริ่มยังไง, และต้องดูตรงไหนบ้าง พี่ทุยจะบอกว่าการวิเคราะห์ Technical มันไม่ได้ยากอย่างที่เราคิดนะ แต่สิ่งที่สำคัญ ก็คือ เราควรที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานให้แน่นก่อน ถึงสามารถไปวิเคราะห์แบบลึก ๆ ได้ ซีรีส์การเงินในตอนนี้พี่ทุยเลยตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อให้นักลงทุนมือใหม่ได้อ่านกันเพื่อจะได้เข้าใจพื้นฐานของ Technical และพร้อมที่จะเอาไปต่อยอดในซีรีส์การเงินตอนต่อไป ๆ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย  

แนวคิดที่สำคัญของของ นักลงทุนสายเทคนิค

แนวคิดที่สำคัญ “นักลงทุนสายเทคนิค” คือ เขาเชื่อกันว่าปัจจัยทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ เช่น แนวโน้มธุรกิจของบริษัท, ความสามารถของผู้บริหาร, ผลการดำเนินงาน รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทได้สะท้อนไปในราคาหุ้นในปัจจุบันทั้งหมดแล้ว ดังนั้น การที่ราคาหุ้นขึ้นลง “นักลงทุนสายเทคนิค” เขาจะไม่มานั่งหาเหตุผลทางพื้นฐานว่า ทำไมราคาหุ้นขึ้น ? เพราะเหตุผลทั้งหมดมันได้สะท้อนไปกราฟ หรือราคาหุ้นเรียบร้อยแล้ว 

กราฟหุ้นที่ นักลงทุนสายเทคนิค ใช้ในวิเคราะห์มีแบบไหนบ้าง ?

โดยทั่วไปแล้วกราฟหุ้นที่ “นักลงทุนสายเทคนิค” ใช้ในการวิเคราะห์หุ้นมีทั้งหมด 4 แบบด้วยกัน คือ

  • กราฟแบบแท่ง (Bar Chart)
  • กราฟแบบเส้น (Line Chart)
  • กราฟแบบจุด (Point and Figure)
  • กราฟแบบแท่งเทียน (Candlesticks)

กราฟแบบแท่ง (Bar Chart)

กราฟแบบแท่ง (Bar Chart)

กราฟแบบแท่ง หรือ Bar Chart จะมีลักษณะเป็นเส้นตรง และจะมีเส้นแนวนอนลากออกมาทางด้านซ้ายเพื่อแทนราคาเปิด ส่วนเส้นขีดแนวนอนทางด้านขวาแทนราคาปิด 

กราฟแบบเส้น (Line Chart)

กราฟแบบเส้น (Line Chart)

กราฟรูปแบบที่สอง คือกราฟแบบเส้น โดนกราฟแบบเส้นจะแสดงการเคลื่อนไหวของราคาเป็นเส้นทึบ และลากเชื่อมต่อราคาปิดตลาดในแต่ละวัน กราฟเส้นจะแสดงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องของราคา

กราฟแบบจุด (Point and Figure Chart)

กราฟแบบจุด (Point and Figure Chart)

กราฟแสดงราคาหุ้นอีกหนึ่งประเภท คือกราฟแบบจุด โดนกราฟแบบจุดจะแสดงการเคลื่อนไหวของราคาด้วยเครื่องหมาย x และ o โดยเครื่องหมาย x หมายถึง ราคาขึ้น ส่วนเครื่องหมาย o หมายถึงราคาลดลง แต่พี่ทุยว่าปัญหาของการใช้กราฟแบบจุดมาวิเคราะห์คือ มันเป็นกราฟที่เข้าใจได้ยาก

กราฟแบบแท่งเทียน (Candlesticks)

กราฟแบบแท่งเทียน (Candlesticks)

กราฟแบบแท่งเทียนถือเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะเป็นกราฟที่ดูง่าย และบอกรายละเอียดเราได้มากที่สุด ซึ่งกราฟแบบ Candlesticks จะแสดงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในแต่ละวัน โดยการใช้ “แท่งเทียน”

  • ถ้าราคาหุ้นเพิ่มขึ้น จะแสดงด้วย “แท่งเทียนสีเขียว”
  • ถ้าราคาลดลง จะแสดงด้วย “แท่งเทียนสีแดง”

ในหนึ่งแท่งเทียนบอกอะไรเราบ้าง ?

อย่างที่พี่ทุยได้บอกไปในตอนต้นว่าแท่งเทียนมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ ราคาเพิ่มขึ้น แทนด้วยสีเขียว และราคาลดลง แทนด้วยสีแดง ซึ่งองค์ประกอบของแท่งเทียนสีเขียว และสีแดงก็จะแตกต่างกันไปด้วย เพื่อความละเอียด และไม่สับสนพี่ทุยเลยจะขอแบ่งการอธิบายเป็น 2 สี ดังนี้

1. แท่งเทียนสีเขียว

ในหนึ่งแท่งเทียน “สีเขียว” จะประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน คือ

ไส้เทียนด้านล่าง 

ไส้เทียนด้านล่างบ่งบอกถึงราคาต่ำสุด (Low) ดังนั้น ถ้าราคาต่ำสุดห่างจากราคาเปิดมากไส้เทียนด้านล่างก็จะยาว

ตัวเนื้อเทียน

ตัวเนื้อเทียนของแท่งเทียน “สีเขียว” จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  • ขอบล่างที่แสดงถึงราคาเปิด (Open) และ
  • ขอบบนแสดงราคาปิด (Close)

ไส้เทียนด้านบน

ไส้เทียนด้านบนบ่งบอกถึงราคาสูงสุด (High) ดังนั้น ถ้าราคาสูงสุดห่างจากราคาปิดมากไส้เทียนด้านบนจะยาว

2. แท่งเทียนสีแดง

ในหนึ่งแท่งเทียน “สีแดง” จะประกอบด้วย 3 ส่วนเหมือนกับแท่งเทียนสีเขียว คือ

ไส้เทียนด้านล่าง

ไส้เทียนด้านล่างบ่งบอกถึงราคาต่ำสุด (Low) ดังนั้น ถ้าราคาต่ำสุดห่างจากราคาปิดมากไส้เทียนด้านล่างก็จะยาว

ตัวเนื้อเทียน

ส่วนของตัวเนื้อเทียนของแท่งเทียน “สีแดง” จะประกอบไปด้วยสองส่วนด้วยกัน คือ ขอบล่าง และขอบบน 

  • ขอบล่างแสดงถึงราคาปิด (Close) และ
  • ขอบบนแสดงถึงราคาเปิด (Open)

ไส้เทียนด้านบน

ไส้เทียนด้านบนบ่งบอกถึงราคาสูงสุด (High) ดังนั้น ถ้าราคาสูงสุดห่างจากราคาเปิดมากไส้เทียนด้านบนจะยาว

Time Frame ที่ นักลงทุนสายเทคนิค ใช้ในการวิเคราะห์

Time Frame หมายถึง ระยะเวลาของกราฟที่แสดงให้เราดู ซึ่งการเลือก Time Frame ก็จะส่งผลต่อการวิเคราะห์หุ้นพอสมควร โดยหลัก ๆ แล้ว Time Frame จะมีค่อนข้างเยอะเลยทีเดียวตั้งแต่ 1 นาที, 5 นาที, 15 นาที, 30 นาที, 1 ชั่วโมง, วัน, สัปดาห์ และเดือน 

แต่สำหรับมือใหม่ส่วนตัวพี่ทุยคิดว่าเราใช้ แค่ 3 Time Frame ก็เพียงพอแล้ว นั่นคือ

  • วัน (Day)
  • สัปดาห์ (Week)
  • เดือน (Month)

ซึ่งแต่ละ Time Frame ก็จะให้ข้อมูลและผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป คือ 

Time Frame Month

นักลงทุนสายเทคนิค Time Frame Month

พี่ทุยแนะนำว่าการดูกราฟเราควรดู Time Frame Month ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะ Time Frame Month จะให้ข้อมูลในภาพกว้าง หรือระยะยาว โดยสิ่งที่เราจะต้องดู คือ ในช่วงนั้นภาพใหญ่หุ้นเป็นขาขึ้น หรือขาลง ซึ่งถ้าใครยังไม่เข้าใจว่าขาขึ้น (Uptrend) และ ขาลง (Downtrend) คืออะไร ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะเดี๋ยวพี่ทุยจะมีอธิบายความหมาย และวิธีการดูแนวโน้มขาขึ้นขาลงให้ทุกคนได้อ่านกันในซีรีส์การเงินตอนต่อ ๆ ไป 

Time Frame Week

Time Frame Week

Time Frame Week เป็นกรอบที่เล็กลงมาจาก Time Frame Month โดยในหนึ่งแท่งเทียนของ Week แทนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในระยะเวลา 5 วัน วิธีการดู Time Frame Week ก็จะคล้าย ๆ กับการดู Time Frame Month คือดูว่าในช่วงนั้นแนวโน้มของหุ้นตัวนั้นเป็นยังไง และแนวรับแนวต้านในกรอบ Week อยู่ตรงไหน เป็นต้น 

ซึ่งวิธีการดูแนวรับ และแนวต้าน หรือการดูจุดซื้อจุดขาย พี่ทุยจะเขียนบทความให้ได้อ่านกันในตอนหน้า รับรองว่าถ้าอ่านจบทุกคนดูจุดซื้อ และจุดขายเป็นกันอย่างแน่นอน คอยติดตามกันให้ดี 

Time Frame Day 

Time Frame Day  นักลงทุนสายเทคนิค

Time Frame Day เป็น Time Frame สุดท้ายที่เราจะมาดูกัน โดยหนึ่งแท่งเทียนของ Time Frame Day แทนการเคลื่อนไหวของราคาในหนึ่งวันของหุ้นตัวนั้น สิ่งที่เราต้องดูใน Time Frame Day ก็จะคล้ายคลึงกับ Time Frame Week และ Month เพียงแต่เป็นการมองในภาพเล็กลงมา

เราจะเห็นว่าวิธีการวิเคราะห์กราฟในแต่ละ Time Frame จะคล้ายกัน แต่ประเด็นที่สำคัญอยู่ที่ “การเชื่อมโยงแต่ละ Time Frame ให้ได้”  

ตัวอย่างการวิเคราะห์ Technical โดยการเชื่อมโยงกราฟแต่ละ Time Frame 

สมมติว่าเราดู Time Frame ใหญ่ หรือ Month แล้วเห็นว่าในระยะยาวหุ้นตัวนี้เป็นแนวโน้ม “ขาลง” ต่อมาพอดู Time Frame Week แล้วก็เห็นว่าแนวโน้มเป็น “ขาลง” เหมือนกัน แต่พอมาดู Time Frame Day ซึ่งให้ภาพในระยะสั้น กลับเห็นว่าตอนนี้หุ้นตัวนั้นเป็นแนวโน้ม “ขาขึ้น”

ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้พี่ทุยอาจจะยังไม่ซื้อหุ้นนี้ เพราะมันเป็นการปรับตัวขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น แนวโน้มระยะกลาง และระยะยาวยังเป็นแนวโน้ม “ขาลง” อยู่ ดังนั้นถ้าเราซื้อไปก็อาจจะขาดทุนได้

ประเภทนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ นักลงทุนสายเทคนิค ควรรู้

ประเภทนักลงทุนในตลาดหุ้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเราสามารถเอามาวิเคราะห์ได้ว่าในช่วงนั้น นักลงทุนแต่ละกลุ่มมีความคิดเห็นยังไงกับตลาดหุ้น ซึ่งนักลงทุนในตลาดหุ้นมีทั้งหมด 4 กลุ่มด้วยกัน

1. นักลงทุนต่างชาติ

นักลงทุนต่างชาติถือเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ค่อนข้างมีความสำคัญ เพราะนักลงทุนต่างชาติเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนค่อนข้างมาก ดังนั้นเวลาที่นักลงทุนต่างชาติซื้อขายแต่ละครั้งก็จะส่งผลต่อทิศทางราคาของตลาด และหุ้นแต่ละตัว 

2. โบรกเกอร์

โดยปกติแล้วเราอาจจะเข้าใจว่า หน้าที่ของโบรกเกอร์ คือ เป็นตัวกลางในการรับ และส่งคำสั่งซื้อขายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วโบรกเกอร์ยังสามารถซื้อขายหุ้นเพื่อสร้างผลตอบแทนให้ตัวเองได้ ซึ่งโดยปกติแล้วนักลงทุนในตลาดหุ้นมักจะเรียกนักลงทุนกลุ่มนี้ว่า Proprietary Trade หรือ Prop Trade

3. นักลงทุนสถาบัน หรือกองทุนในประเทศ

นักลงทุนสถาบัน หรือกองทุน หมายถึง การซื้อขายหุ้นของกองทุนรวมของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ในแต่ละวัน เพื่อสร้างผลกำไรให้กับกองทุนนั้น ๆ ซึ่งนักลงทุนประเภทนี้ถือว่ามีความสำคัญพอ ๆ กับนักลงทุนต่างชาติ เนื่องด้วยจำนวนเงินที่ค่อนข้างมากเหมือนกัน ดังนั้น เมื่อจำนวนเงินที่มาก กองทุนก็พร้อมที่จะลากหรือทุบหุ้นตัวไหนก็ได้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องจับตาดูการเคลื่อนไหวของกองทุนในแต่ละวันไว้ให้ดี เช่น ถ้าวันไหนเราซื้อหุ้น แล้วกองทุนก็ซื้อเหมือนกันก็สบายใจได้ไประดับหนึ่ง

4. นักลงทุนรายย่อย

นักลงทุนประเภทสุดท้าย ก็คือนักลงทุนรายย่อย หรือนักลงทุนที่เป็นประชาชนคนทั่วไปแบบเรา ๆ พี่ทุยต้องขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า นักลงทุนรายย่อย หมายถึง ประชาชนทั่วไป ดังนั้น ไม่ว่าเซียนหุ้น,  นักลงทุนรายใหญ่ หรือนักลงทุนรายเล็ก ก็ถูกจัดประเภทเป็น “นักลงทุนรายย่อย” ด้วยกันทั้งหมด

การดูการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยก็ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเราจะได้เห็นว่าในแต่ละวันนักลงทุนประชาชนแบบเราเขาซื้อ หรือขายหุ้นกัน แต่ถ้าวันไหนนักลงทุนรายย่อยซื้อหุ้น แล้วนักลงทุนต่างชาติ และกองทุนขายหุ้น เราก็อาจจะต้องเพิ่มความระวังให้มากขึ้น 

นี่เป็นเพียงแค่การเริ่มต้นของการเรียนรู้การวิเคราะห์หุ้นโดยการใช้ Technical เท่านั้น พี่ทุยจะบอกว่า หลังจากนี้ทุกคนจะได้เรียนรู้การวิเคราะห์หุ้นโดยใช้วิเคราะห์หุ้นโดย Technical อีกมากมายรับรองว่าสนุก และถ้าตามอ่านกันจนจบรับรองว่าทุกคนจะต้องดูกราฟหุ้นเป็นกันอย่างแน่นอน

เปิดบัญชีกับ LH Securities วันนี้ เรียนฟรีคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์

ส่วนใครที่อยากขึ้นทางด่วนโดยไม่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองอีกต่อไป แนะนำให้เปิดพอร์ตกับทาง LH Securities ตอนนี้ เพื่อรับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์กันแบบฟรี ๆ กับ “คุณเคน – จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร , CFP ®” ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo ของเรา ที่จะมาพาจับมือเทรดกันตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 ให้ โดยจะเน้นที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) วิเคราะห์กราฟกันแบบมันส์ ๆ พร้อมลุยตลาดจริงกันเลย

และที่พี่ทุยแนะนำให้เปิดบัญชีกับทาง LH Securities ผู้สนับสนุนหลักของ ซีรีส์ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน นั่นก็เพราะที่นี่ทั้งสะดวก และให้บริการครบ สามารถจบในที่เดียวได้ ตั้งแต่เปิดบัญชี การสมัครบริการตัดเงินบัญชีอัตโนมัติ ไปจนถึงวางหลักประกัน  LH Securities ก็มีให้บริการ และที่สำคัญคือสามารถทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกและง่ายมาก ๆ

สนใจเปิดบัญชีกับ LH Securities พร้อมดูขั้นตอนแบบละเอียด สามารถทำตามได้แบบ Step by Step คลิกที่นี่เลย

banner LH

banner

อ่าน EP ต่อไป

ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้

ติดตามซีรีส์การเงิน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย