พี่ทุยเชื่อว่ามีนักลงทุนมือใหม่หลายคนมาก ๆ ที่อยากดูกราฟหุ้นเป็น แต่ก็ไม่รู้จะว่าจะเริ่มต้นยังไงดี และกังวลว่ามันจะยากมั้ย นักลงทุนมือใหม่แบบเราจะทำได้หรือเปล่า พี่ทุยจะบอกว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่เราคิด และพี่ทุยเชื่อว่าทุกคนจะทำได้แน่นอน ซีรีส์การเงินในตอนนี้พี่ทุยจะมาสอนวิธีหา จุดซื้อขายหุ้น แบบง่าย ๆ มาให้ทุกคนฟังกัน ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย
วิธีหา จุดซื้อขายหุ้น โดยการใช้ แนวรับ แนวต้าน
พี่ทุยจะมาค่อย ๆ เล่าว่า เราจะดูกราฟยังไง เพื่อหาราคาที่เหมาะสมซื้อหุ้น
แนวรับ คืออะไร ?
แนวรับ ถ้าพูดแบบง่าย ๆ เลย ก็คือ จุดที่เวลาที่ราคาหุ้นลงมาตรงนี้เมื่อไหร่ ราคาหุ้นก็มักจะไม่หลุดราคานี้ และจะเด้งกลับไปทุกที ซึ่งวิธีดูแนวรับแบบง่าย ๆ ที่พี่ทุยแนะนำ ก็คือ บริเวณที่กราฟลงมาแตะบริเวณนั้นมากที่สุด
จากรูปเราจะเห็นว่าบริเวณประมาณ 1,467 จุด มีกราฟแท่งเทียนลงมาแตะบริเวณนี้ถึง 4 ครั้ง และกราฟก็มักจะไม่ค่อยหลุดจากบริเวณนี้ และก็มักจะเด้งกลับขึ้นไปทุกที ซึ่งแนวรับนี้เราก็จะใช้เป็นจุดซื้อหุ้น ถ้าแนวรับไหนมีแท่งเทียนมาแตะมากเท่าไหร่ ก็จะถือว่าจุดนั้นเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น
หลังจากที่เราดูจุดซื้อหุ้น หรือแนวรับเป็นแล้วสิ่งต่อมาที่เราต้องทำ ก็คือ การหาจุดหรือราคาที่เราจะไปขายหุ้น ซึ่งจุดที่เราจะใช้เป็นจุดขายหุ้น ก็คือ แนวต้าน
แนวต้าน คืออะไร ?
แนวต้าน คือ จุดที่ต้านไว้ไม่ให้หุ้นขึ้น ซึ่งวิธีดูแนวตต้าน ก็คือ ใช้จุดที่เวลาราคาหุ้นขึ้นมาถึงตรงนี้เมื่อไหร่ก็มักจะไม่ผ่าน หรือจะเด้งตกลงไปทุกที
จากรูปเราจะเห็นว่าจุดที่ราคาหุ้นขึ้นไปทดสอบบ่อย ๆ ก็คือ บริเวณประมาณ 1,507 จุด เพราะ เราจะเห็นว่ามีกราฟแท่งเทียนขึ้นมาแตะที่ราคานี้ถึง 5 ครั้ง ดังนั้น เราก็จะใช้จุดนี้เป็นจุดขายหุ้นนั่นเอง พี่ขอแนะนำเพิ่มเติมนิดหนึ่งว่า ถ้าเราเห็นแนวต้านไหนที่มีแท่งเทียนมาแตะมากเท่าไหร่ ก็จะถือว่าจุดนั้นเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น
วิธีการหา จุดซื้อขายหุ้น โดยโดยการใช้ Channel Trade
หลังจากที่เราดูแนวรับ และแนวต้านเป็นแล้ว สิ่งต่อมาที่พี่ทุยอยากจะแนะนำให้ทุกคนเอาไปใช้กัน ก็คือ การใช้ Channel Trade หรือสร้างกรอบแนวรับแนวต้านเอาไว้ทำหาจุดซื้อขายหุ้นนั่นเอง ซึ่งประโยชน์ของการใช้ Channel Trade ก็คือ ทำให้เราสามารถกำหนดกรอบการเทรด, วางแผนการเทรดได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากรูปพี่ทุยทำการตีแนวรับและแนวต้านทำให้เราได้กรอบขึ้นมาหนึ่งกรอบ วิธีการใช้ Channel Trade ก็คือ เวลาที่ราคาหุ้นลงมาที่เส้นด้านล่าง หรือแนวรับให้เราซื้อหุ้น และเวลาที่ราคาหุ้นขึ้นไปแตะที่เส้นด้านบน หรือแนวต้าน เราจะเห็นว่าถ้าเราเทรดตามกรอบนี้เราจะเทรดได้หลายรอบ และได้กำไรไปหลายบาทเลย
วิธีการหา จุดซื้อขายหุ้น โดยการใช้ Indicators
ตอนนี้เราก็รู้จักวิธีหาจุดซื้อขายหุ้นโดยการใช้ แนวรับแนวต้าน และ Channel Trade ไปแล้ว ต่อมาพี่ทุยจะมาสอนให้ทุกคนรู้จักการหาจุดซื้อขาย โดยการใช้ Indicators กัน
Indicators คืออะไร ?
Indicators คือ เครื่องมือที่เอาไว้ช่วยในการวิเคราะห์สภาพตลาด แนวโน้ม และทิศทางของราคาหุ้น ซึ่ง Indicators หลัก ๆ ที่พี่ทุยแนะนำให้นักลงทุนมือใหม่ใช้มีอยู่ 4 ตัว ด้วยกัน คือ
1. Exponential Moving Average (EMA)
EMA คือ เส้นที่แสดงค่าเฉลี่ยของราคาตามจำนวนวันที่ระบุ เช่น เส้น EMA 5 วัน คือ เส้นที่คิดค่าเฉลี่ยของราคาหุ้นตัวนั้น 5 วันย้อนหลัง และถ้าถามว่าเราควรจะใช้ EMA กี่เส้น และกี่วันดี พี่ทุยจะบอกว่าจริง ๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับความชอบ ความถนัด และรูปแบบการเทรดของแต่ละคนเลย
แต่ส่วนตัวพี่ทุยแนะนำว่าให้ใช้ EMA 4 เส้น คือ EMA 5, 50, 75 และ 200 วัน เหตุผลที่พี่ทุยแนะนำให้ใช้ 4 เส้นนี้ ก็เพราะมันค่อนข้างที่จะครอบคลุมระยะเวลาการเทรด (ระยะสั้น, กลาง และยาว) ทั้งหมด คือ เส้น EMA 5 วัน เอาไว้ใช้ในการเทรดระยะสั้น, เส้น EMA 50 และ 75 วัน เอาไว้ใช้เทรดในระยะกลาง และสุดท้ายเส้น EMA 200 วันเอาไว้ใช้ในการเทรดในระยะยาว
วิธีการใช้ EMA ดูจุดซึ้อจุดขายเราสามารถดูได้ตามนี้เลย
- ซื้อ เมื่อเส้น EMA น้อยวัน ตัดเส้นมากวันขึ้น เช่น เส้น EMA 5 วัน ตัดเส้น EMA 50 วัน ขึ้นข้างบน
- ขาย เมื่อเส้น EMA มากวัน ตัดเส้นน้อยวันลงด้านล่าง เช่น เส้น EMA 50 วัน ตัดเส้น EMA 5 วัน ลงด้านล่าง
2. MACD (Moving Average Convergence Divergence)
MACD จะประกอบด้วย 3 เส้นด้วยกัน คือ เส้น EMA 12 วัน, Zero Line และ EMA 26 วัน
วิธีการดูจุดซื้อ และจุดขายโดยการใช้ MACD คือ
- ซื้อ เมื่อเส้น EMA 12 วัน ตัดเส้น EMA 26 วัน ขึ้นด้านบน และจะเป็นสัญญาณซื้อที่ชัดเจนมากขึ้น ถ้าการตัดขึ้นนั้นเป็นการตัดเหนือเส้น Zero Line
- ขาย เมื่อเส้น EMA 26 วัน ตัดเส้น EMA 12 วัน ลงด้านล่าง และจะเป็นสัญญาณขายที่ชัดเจนมากขึ้น ถ้าการตัดลงนั้นเป็นการตัดใต้เส้น Zero Line
3. Relative Strength Index (RSI)
RSI เป็นเครื่องมือที่เอาไว้ดูว่าในช่วงนั้นหุ้นตัวที่เราสนใจถูกขายมากเกินไปหรือเปล่า (Oversold) หรือถูกซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือเปล่า
- ถ้า ค่า RSI ต่ำกว่า 30 หมายความว่า ในช่วงนั้นหุ้นตัวนี้ถูกขายมากเกินไป (Oversold) หรือ หมายถึงเป็จุดเข้า “ซื้อ” หุ้นนั่นเอง
- ถ้า ค่า RSI มากกว่า 80 หมายความว่า ในช่วงนั้นหุ้นตัวนี้ถูกซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือ หมายถึงเป็นจุด “ขาย” หุ้นนั่นเอง
4. Stochastic Oscillator
Stochastic Oscillator หรือ STO ป็นเครื่องมือเป็นการเอา MACD และ RSI มารวมกัน ดังนั้น การใช้ RSI เราก็จะดูได้ทั้งจุดซื้อ จุดขาย และดูว่าในช่วงนั้นหุ้นตัวที่เราสนใจถูกซื้อ หรือขายมากเกินไปหรือยัง โดย Stochastic จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ด้วยกัน คือ เส้น %K และ เส้น %D
- ถ้า เส้น %K ตัด %D ขึ้นที่บริเวณค่าน้อยกว่า 20 หมายความ ว่าในช่วงนั้นหุ้นตัวนี้ถูกขายมากเกินไปแล้ว (Oversold) และเป็นจุดเข้า “ซื้อ” หุ้น
- ถ้า เส้น %D ตัด %K ลงที่บริเวณค่ามากกว่า 80 หมายความ ว่าในช่วงนั้นหุ้นตัวนี้ถูกขายมากเกินไปแล้ว (Overbought) และเป็นจุด “ขาย” หุ้น
การหา จุดซื้อขายหุ้น โดยการใช้ EMA, MACD, RSI และ Stochastic ร่วมกัน
หลังจากที่เรารู้วิธีดูจุดซื้อ และจุดขายหุ้นโดยการใช้ Indicators ทั้ง 4 ตัวกันไปแล้ว ต่อมาพี่ทุยจะพาทุกคนไปลองใช้การวิเคราะห์หาจุดซื้อ และขายหุ้น โดยการใช้ทั้ง 4 Indicators ร่วมกัน เพื่อการการซื้อขายหุ้นของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากรูปมีอยู่ 4 เครื่องมือด้วยกัน คือ
- EMA – เส้นสีส้ม, น้ำเงิน, ฟ้า และแดง แทนเส้น EMA 5, 50, 75 และ 200 วัน ตามลำกับ
- MACD – เส้นสีน้ำเงิน แทนเส้น MACD และเส้นสีแดง แทนเส้น Signal Line
- RSI
- Stochastic Oscillator – เส้นสีน้ำเงิน แทน เส้น %K และเส้นสีแดง แทนเส้น %D
เราจะเห็น ว่าจุดซื้อของแต่ละ Indicators จะอยู่ที่ราคาค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่กันใช้หลาย ๆ Indicators ก็จะทำให้จุดซื้อนี้มีความแน่นอนมากขึ้น เราจะเห็น ว่าหลังจากที่จุดซื้อเกิดกันทั้ง 4 Indicators ราคาหุ้นก็ขึ้นต่อไปจริง ๆ
ส่วนจุดขายก็เหมือนกัน ถ้าสมมติ ว่าเราเจอสัญญาณขายเพียง 1-2 Indicators สัญญาณก็อาจจะยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราให้น้ำหนักกับ Indicators ตัวไหนมากกว่ากัน สมมติว่า EMA และ MACD เกิดสัญญาณขาย แต่ RSI และ Stochastic ยังไม่เกิด และโดยส่วนตัวเราค่อนข้างจะเชื่อในการใช้ RSI เราก็จะยังไม่ขายหุ้นตัวนั้น แต่กลับกัน ถ้าเราเชื่อใน EMA เราก็อาจจะตัดสินใจขายหุ้นตัวนี้ไปก่อน
แต่ถ้าสมมติ ว่าหุ้นที่เราสนใจเกิดสัญญาณขายทั้ง 4 Indicators อันนี้ก็จะเป็นสัญญาณขายที่ค่อนข้างชัดเจน ดังนั้น ถ้าเรามีหุ้นตัวนี้อยู่ก็อาจจะต้องยอมตัดขาดทุน (Cut Loss) หรือทำ Short Against Port (SAP) ไปก่อน แล้วถ้าเกิดสัญญาณซื้อใหม่เมื่อไหร่เราค่อยกลับมาซื้อหุ้นตัวนี้ใหม่ก็ยังได้
และนี่ก็เป็นวิธีดูจุดซื้อ และจุดขายหุ้นที่พี่ทุยเอามาฝากทุกคนกัน ถ้าใครยังงง และทำไม่ได้ในตอนแรกก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะ ทุกคนก็ต้องเคยผ่านจุดเริ่มต้นมาทั้งนั้น แต่พี่ทุยเชื่อ ว่าถ้าเวลาผ่านไป และทุกคนยังฝึกฝนกันอยู่เรื่อย ๆ ทุกคนจะเก่งขึ้นกันอย่างแน่นอน และซีรีส์การเงินตอน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ในตอนหน้าเราจะยังอยู่กันการเทรดหุ้นของนักลงทุนสายเทคนิค (Technical) เพราะฉะนั้น ถ้าใครที่เป็นนักลงทุนสายเทคนิคก็ห้ามพลาดเด็ดขาด
เปิดบัญชีกับ LH Securities วันนี้ เรียนฟรีคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์
ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เร็ว ๆ แบบพร้อมจบเพื่อไปลงสนามการลงทุนจริง แนะนำให้เปิดพอร์ตกับทาง LH Securities ตอนนี้ เพื่อรับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์กันแบบฟรี ๆ กับ “คุณเคน – จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร , CFP ®” ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo ของเรา ที่จะมาพาจับมือเทรดกันตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 ให้ โดยจะเน้นที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) วิเคราะห์กราฟกันแบบมันส์ ๆ พร้อมลุยตลาดจริงกันเลย
และที่พี่ทุยแนะนำให้เปิดบัญชีกับทาง LH Securities ผู้สนับสนุนหลักของ ซีรีส์ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน นั่นก็เพราะที่นี่ทั้งสะดวก และให้บริการครบ สามารถจบในที่เดียวได้ ตั้งแต่เปิดบัญชี การสมัครบริการตัดเงินบัญชีอัตโนมัติ ไปจนถึงวางหลักประกัน LH Securities ก็มีให้บริการ และที่สำคัญคือสามารถทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกและง่ายมาก ๆ
สนใจเปิดบัญชีกับ LH Securities พร้อมดูขั้นตอนแบบละเอียด สามารถทำตามได้แบบ Step by Step คลิกที่นี่เลย
อ่าน EP ต่อไป
ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้
ติดตามซีรีส์การเงิน ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่