ประเมินมูลค่าหุ้น แบบง่าย ๆ ฉบับนักลงทุนมือใหม่ | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP13

ประเมินมูลค่าหุ้น แบบง่าย ๆ ฉบับนักลงทุนมือใหม่ | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP13

4 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • การประเมินมูลค่าหุ้น คือ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
  • วิธีในการประเมินมูลค่าหุ้นหลัก ๆ แล้ว มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ 1. Dividend Discount Model (DDM), 2. DCF และ 3. P/E ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการวิเคราะห์หุ้นมักจะนิยมใช้วิธี P/E มากที่สุด 
  • วิธีการคาดการณ์ EPS สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ 1. เชื่อผู้บริหาร  2. อ้างอิงจากการเติบโตในอดีต 3. คาดการณ์จากจำนวนสาขาหรือกำลังการผลิตในอนาคต 
  • วิธีคาดการณ์ P/E สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ 1. เทียบกับบริษัทตัวเองในอดีต 2. เปรียบเทียบกับคู่แข่งที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกัน 
  • เราสามารถประเมินมูลค่าหุ้นโดยการใช้ P/E มาคูณกับ EPS ได้โดยการใช้วิธี Sensitivity Analysis 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ซีรีส์การเงินตอน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ในตอนที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้ไปแล้วว่าก่อนที่เราจะเริ่มลงทุนในหุ้นต้องรู้อะไรบ้าง, นักลงทุนมีกี่ประเภทและปัจจัยที่ทำให้หุ้นราคาขึ้นมีอะไรบ้าง มาถึงตอนนี้พี่ทุยจะมาสอนทุกคนมา ประเมินมูลค่าหุ้น ที่เหมาะสมของหุ้นตัวที่เราสนใจกัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย..

การ ประเมินมูลค่าหุ้น (Valuation) คืออะไร ?

การประเมินมูลค่าหุ้น คือ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น โดย 

  • ถ้าราคาในปัจจุบันต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม (Fair Price) หมายความ ว่าเราควรจะซื้อหุ้น
  • ถ้าราคาในปัจจุบันสูงกว่าราคาที่เหมาะสม (Fair Price) หมายความ ว่าเราควรจะขายหุ้นหรือไม่ซื้อหุ้นตัวนั้น

วิธีการ ประเมินมูลค่าหุ้น มีกี่แบบ ?

วิธีการประเมินหุ้นที่เป็นที่นิยมในตลาดมีอยู่ทั้งหมด 3 แบบด้วยกัน คือ

  • Dividend Discount Model (DDM)

ประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้เงินปันผลที่บริษัทจ่ายออกมาให้กับผู้ถือหุ้น แต่ข้อเสียของวิธีนี้ คือ ใช้ได้กับเฉพาะบริษัทที่จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเท่านั้นหรือเท่ากับว่าบริษัทไหนที่ไม่จ่ายปันผลเราก็จะประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทนั้นไม่ได้เลย

  • Discounted Cash Flow (DCF)

การประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้วิธี DCF มีข้อดี คือ ถือเป็นการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างแม่นยำ เพราะ การวิเคราะห์ DCF อาศัยหลาย ๆ ตัวแปรเข้ามาใช้ในการประมินราคาหุ้น ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์กระแสเงินสด (Cash Flow) รวมไปถึงการคาดการณ์อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นต้องการ เป็นต้น 

ส่วนข้อเสียของการประเมินราคาหุ้น โดยใช้วิธี DCF นั่นก็คือ การใช้กระแสเงินสด (Cash Flow) มาเป็นตัวประเมินราคาหุ้นอาจจะไม่ถูกต้องนักสำหรับนักลงทุนอย่างเรา เพราะ กระแสเงินสดมาจากการที่เราเอากระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เช่น กำไรสุทธิมาหักกับกระแสเงินสดจากการลงทุน และ กระแสเงินสดจากการจัดหาเงินนั่นเอง ซึ่งประเด็นก็คือ กระแสเงินสดไม่ใช่ส่วนที่นักลงทุนแบบเราได้รับ นักลงทุนแบบเราต้องการที่จะเห็นกำไรของบริษัทมากกว่ากระแสเงินสด 

ข้อเสียอีกข้อหนึ่งของการใช้ DCF ในการประเมินมูลค่าหุ้นก็คือ มีโอกาสที่มูลค่าที่แท้จริงจะผิดพลาดได้ค่อนข้างมาก เพราะอย่างที่พี่ทุยได้บอกไปในตอนต้นว่า การประเมินมูลค่าหุ้นแบบ DCF ต้องอาศัยการคาดการณ์ตัวแปรต่าง ๆ ค่อนข้างมาก ซึ่งยิ่งตัวแปรมากโอกาสที่เราจะได้ราคาหุ้นที่เหมาะสมก็จะยิ่งมีโอกาสผิดพลาดได้มากตามไปด้วย 

  • P/E

การใช้ P/E ในการประเมินมูลค่าหุ้นถือเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและส่วนตัวพี่ทุยก็คิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างเหมาะสมมากที่สุดในการใช้เพื่อประเมินมูลค่าหุ้น เพราะ วิธีนี้เป็นวิธีที่แก้ไขข้อบกพร่องของวิธี DDM และ DCF

นั่นคือ  วิธี P/E ใช้กำไรสุทธิในการประเมินมูลค่าหุ้น ดังนั้น หุ้นตัวไหนที่ไม่มีการจ่ายปันผลก็ยังสามารถหามูลค่าหุ้นได้และการใช้ P/E ในการประเมินมูลค่าหุ้นก็จะตัดปัญหาเรื่อง “กระแสเงินสด” ออกไปด้วยเช่นกัน 

และข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการใช้ P/E ประเมินมูลค่าหุ้นก็คือ มีตัวแปรที่ต้องคาดการณ์น้อย เพราะ การหามูลค่าหุ้นโดยใช้ P/E จะมีตัวแปรที่เราต้องคาดการณ์เพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ P/E และ EPS เพราะสูตรการคำนวณมูลค่าหุ้นของวิธีนี้คือการนำ P/E มาคูณกับ EPS นั่นเอง

โดยวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้ P/E มีวิธีการทำ ดังนี้ 

  1. คาดการณ์ EPS ในอีก 3 ปีข้างหน้า
  2. คาดการณ์ P/E
  3. นำ P/E และ EPS ที่คาดการณ์ได้มาประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้วิธี Sensitivity Analysis

วิธีการคาดการณ์ EPS 

เรามาเริ่มกันที่วิธีการคาดการณ์ EPS ในอีก 3 ปีข้างหน้ากันก่อนเลยดีกว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วิธีนี้เราต้องการที่จะหา EPS ในอีก 3 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้น ถ้าเราคาดการณ์ EPS ในอีก 1-2 ปีหน้าผิดก็ไม่เป็นไรขอให้ผลสุดท้ายแล้วผลของปีที่ 3 ถูกต้องก็พอ ส่วนตัวแล้วพี่ทุยจะแบ่งวิธีการคาดการณ์ EPS ไว้ 3 วิธีด้วยกัน คือ

  • เชื่อผู้บริหาร

วิธีเชื่ออัตราการเติบโตตามที่ผู้บริหารบอกถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยเราสามารถหาอัตราการเติบโตที่ผู้บริหารคาดการณ์ได้จากการ Opportunity Day จากบริษัทที่เราสนใจ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายก็จริง แต่ก็เป็นวิธีที่มีโอกาสผิดพลาดได้สูงที่สุดเช่นกัน 

  • สมมติให้เติบโตอิงกับแนวโน้มเดิม

วิธีนี้เป็นวิธีการคาดการณ์กำไรต่อหุ้นหรือ EPS โดยการใช้อัตราการเติบโตในอดีตมาเปรียบเทียบ เช่น 

ประเมินมูลค่าหุ้น แบบง่าย ๆ ฉบับนักลงทุนมือใหม่ | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP13

จากรูปเราจะเห็นว่าโดยเฉลี่ยแล้ว EPS ของบริษัทเติบโตขึ้นประมาณ 11.2% (คิดแบบทบต้น) ดังนั้น ถ้าเราเชื่อในทฤษฎีนี้เราก็สามารถคาดการณ์ EPS ในอีก 3 ปี ข้างหน้าได้ว่าน่าจะมีโอกาสที่จะเติบโตอีก 11.2% จาก EPS ในปีปัจจุบันได้ หรือเท่ากับ 2.64 บาท

  • คาดการณ์ EPS จากการขยายสาขาหรือกำลังการผลิต

วิธีนี้ส่วนตัวพี่ทุยคิดว่าน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว เพราะว่า เป็นการคาดการณ์การจากผลการดำเนินงานของบริษัทจริง ๆ เพราะ เมื่อจำนวนสาขาเพิ่มรายได้และกำไรของบริษัทก็ย่อมจะเพิ่มขึ้นไปด้วยทำให้ EPS ของบริษัทเพิ่มขึ้นนั่นเอง 

  1. คาดการณ์จำนวนสาขาทั้งหมดของบริษัทในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยการอ้างอิงจากข้อมูลเดิม
  2. นำรายได้ต่อสาขามาคูณกับจำนวนสาขาที่เราคาดการณ์เอาไว้
  3. นำรายได้มาคูณกับอัตรากำไรสุทธิเพื่อให้ได้ตัวเลขของกำไรสุทธิออกมา
  4. นำกำไรสุทธิหารจำนวนหุ้นของบริษัท

ตัวอย่างการคาดการณ์ EPS โดยใช้วิธีการคาดการณ์ตามจำนวนสาขา 

ตัวอย่างการคาดการณ์ EPS โดยใช้วิธีการคาดการณ์ตามจำนวนสาขา 

จากรูปพี่ทุยมีข้อมูลเดิมจากบริษัท คือ ปี 58 ถึงปี 63 และข้อมูลที่ต้องคาดการณ์ คือ ตั้งแต่ปี 64-66 ซึ่งข้อมูลที่เราต้องคาดการณ์มีดังนี้

  • จำนวนสาขา พี่ทุยใช้วิธีดูจากข้อมูลในอดีตโดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละปีจำนวนการขยายสาขาจะลดลงปีละ 0.5% ดังนั้น ปี 64 พี่ทุยก็คาดการณ์ว่าจำนวนที่สาขาที่ขยายก็น่าจะลดลงจากปี 63 ประมาณ 0.5% เหมือนกัน 
  • ส่วนรายได้ต่อสาขาพี่ทุยก็คิดว่าโดยเฉลี่ยแล้วที่ผ่านมารายได้ต่อสาขาก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 45 ล้านบาทต่อสาขา
  • จากนั้นก็นำรายได้ต่อสาขาไปคูณกับจำนวนสาขาก็จะได้รายได้มา
  • นำรายได้ที่คาดการณ์ได้ไปคูณกับอัตรากำไรสุทธิ เราจะได้กำไรสุทธิในแต่ละปีออกมา
  • นำกำไรสุทธฺไปหารจำนวนหุ้น เราก็จะได้ EPS ออกมา

วิธีการคาดการณ์ P/E

วิธีการคาดการณ์ P/E มี 2 วิธีด้วยกันคือ

  • เปรียบเทียบกับตัวเองในอดีต

วิธีการเปรียบเทียบกับตัวเองสามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบ P/E ณ ปัจจุบันของหุ้นตัวนั้นมาเปรียบเทียบกับบริษัทเดียวกันในอดีตเพื่อดูว่าปัจจุบัน P/E ของบริษัทถือว่าอยู่ในระดับที่สูงหรือต่ำ ซึ่งวิธีการเปรียบเทียบ P/E กับบริษัทตัวเองในอดีตเราสามารถใช้ P/E Band ตามที่พี่ทุยเคยสอนไปแล้วได้เลย

วิธีการคาดการณ์ P/E

ซึ่งถ้าดู P/E Band ของหุ้นตัวที่พี่ทุยยกตัวอย่างมานี้เราจะเห็นว่า ณ ตอนนี้ราคาของหุ้นอยู่ที่ระดับ +2sd ซึ่งถ้าสำหรับพี่ทุยแล้วถือว่าค่อนข้างแพงอยู่พอสมควร ดังนั้น ถ้าเป็นพี่ทุยจะยังไม่ซื้อหุ้นตัวนี้ในเวลานี้ และ ค่า P/E ที่พี่ทุยจะนำไปใช้คือ ค่า P/E ที่ระดับค่าเฉลี่ย ซึ่งจากตัวอย่างนี้ค่าเฉลี่ยก็อยู่ที่ประมาณ 28 เท่า หรือถ้าใครอยากจะให้แม่นยำมากกว่านี้อีก ก็สามารถใช้ค่าความน่าจะเป็นมาคูณกับค่า P/E ที่ระดับสูง กลาง ต่ำ ได้ 

  • เปรียบเทียบกับบริษัทที่ทำกิจการคล้ายคลึงกัน 

วิธีนี้เราสามารถทำได้โดยการเข้าไปที่ www.settrade.com แล้วพิมพ์ชื่อหุ้นที่เราสนใจ จากนั้นเลื่อน Tab ไปด้านขวาสุด (บริเวณเดียวกันกับ ‘ข้อมูลความยั่งยืน’) แล้วก็เลือกอันดับในหมวดธุรกิจ จากนั้น กด P/E ก็เป็นอันเรียบร้อย 

  • ถ้าบริษัทที่เราสนใจมีค่า P/E ต่ำกว่าบริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกันก็ถือว่า ราคาปัจจุบันของหุ้นที่เราสนใจยังมีราคาถูกอยู่
  • แต่ถ้าค่า P/E ของหุ้นที่เราสนใจมากกว่าบริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกันในช่วงนั้นเราก็อาจจะต้องหลีกเลี่ยงหุ้นตัวนี้ไปก่อน เพราะราคาอาจจะยังแพงอยู่

ซึ่งตัวเลขที่เราจะเอามาใช้ในกรณีนี้ก็คือค่า P/E โดยเฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกับบริษัทที่เราสนใจนั่นเอง

วิธีการ ประเมินมูลค่าหุ้น โดยใช้วิธี Sensitivity Analysis

ขั้นตอนการหามูลค่าที่แท้จริงหรือราคาที่เหมาะสมของหุ้น โดยใช้วิธี Sensitivity Analysis หรือจำลองราคาหุ้นที่เกิดจากการจำลอง P/E และ EPS ในแต่ละสถานการณ์ คือ แย่ (Worst) กลาง (Base) และดี (Best) และหลังจากนั้นก็เอาค่าความน่าจะเป็นของแต่ละสถานการณ์มาคูณกับราคาที่จะจากแต่ละกรณี

ตัวอย่างการ ประเมินมูลค่าหุ้น โดยการใช้วิธี Sensitivity Analysis

 

ตัวอย่างการ ประเมินมูลค่าหุ้น โดยการใช้วิธี Sensitivity Analysis

จากตัวอย่างนี้พี่ทุยเลือกใช้ EPS ของกรณีกลางเท่ากับ 2.53 บาท ค่า EPS ที่เราหาได้จากตัวอย่างด้านบน และเลือกใช้ P/E กรณีกลาง จากค่าเฉลี่ยของ P/E ของหุ้นตัวนี้ ต่อมาเราก็ทำการประเมินมูลค่าหุ้น (Fair Price) ได้เลย

  1. นำ EPS และ P/E ในแต่ละกรณีมาคูณกันตามตาราง เช่น EPSแย่ * P/Eแย่, EPSกลาง * P/Eกลาง , EPSดี * P/Eดี เป็นต้น
  2. นำค่าความน่าจะเป็นของกรณี แย่ กลาง ดี มาคูณกับ ราคาหุ้นในกรณี  EPSแย่ * P/Eแย่, EPSกลาง * P/Eกลาง ,EPSดี * P/Eดี ตามลำดับ
  3. สุดท้ายเราก็จะได้มูลค่าหรือราคาหุ้นที่เหมาะสมออกมา    

และเราก็จะได้ราคาที่เหมาะสม (Fair Price) ของหุ้น A มาได้เท่ากับ 73 บาท และสมมติว่าราคาปัจจุบันของหุ้น A เท่ากับ 69 บาท เท่ากับว่า ถ้าเราซื้อหุ้น A ตอนนี้ เราก็จะได้กำไรเท่ากับ 4 บาทต่อหุ้น (73-69) หรือ คิดเป็น 5.79% ถ้าเป็นแบบนี้ส่วนตัวพี่ทุยคิดว่ากำไรที่ได้อาจจะน้อยไปซักหน่อย เพราะ การถือ 3 ปี แล้วได้กำไร 5.79 ก็เท่ากับว่าตกปีละประมาณ 1% กว่า ๆ เท่านั้นเอง 

สำหรับพี่ทุยแล้วในระยะเวลา 3 ปี เราควรจะมีกำไรประมาณ 30-45% เป็นอย่างน้อยถึงจะคุ้มค่ากับแรงที่เราเสียไป อย่างหุ้นตัวอย่างที่พี่ทุยยกมานี้ ถ้าตอนนี้ซื้อแล้วยังไม่คุ้มแต่พื้นฐานที่เราคัดกรองและวิเคราะห์มาเห็นว่าเป็นหุ้นที่ดี เราก็อาจจะรอซื้อตอนที่ราคาหุ้นตัวนี้ตกลงมา เช่น รอซื้อที่ระดับราคาประมาณ 55 บาท เราก็จะได้กำไร 18 บาทต่อหุ้น (73-55) หรือคิดเป็น 32.72% นั่นเอง  

และนี่ก็เป็นวิธีการหามูลค่าหุ้นที่เหมาะสมหรือ Fair Price แบบง่าย ๆ ในฉบับมือใหม่ที่พี่ทุยเอามาให้ทุกคนได้ดูและได้ลองเอาไปใช้กัน ซึ่งจริง ๆ แล้ว ถ้าใครคิดราคาที่เหมาะสมออกมาแล้วได้ไม่เหมือนกันคนอื่น ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะให้คนร้อยคนหามูลค่าหุ้นตัวเดียวกันก็มีโอกาสที่จะไม่ตรงกันเลยซักคน และการหามูลค่าหุ้นของแต่ละคนก็ไม่มีคำว่าผิดและคำว่าถูก เพราะมันขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและการคาดการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละคนนั่นเอง..

เปิดบัญชีกับ LH Securities วันนี้ เรียนฟรีคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์

สำหรับใครที่กำลังมองหาที่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นอยู่ พี่ทุยแนะนำให้เปิดบัญชีกับทาง LH Securities ผู้สนับสนุนหลักของ ซีรีส์ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน

เพราะทั้งสะดวก และให้บริการครบ สามารถจบในที่เดียวได้ ตั้งแต่เปิดบัญชี การสมัครบริการตัดเงินบัญชีอัตโนมัติ ไปจนถึงวางหลักประกัน  LH Securities ก็มีให้บริการ และที่สำคัญคือสามารถทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกและง่ายมาก ๆ

สนใจเปิดบัญชีกับ LH Securities พร้อมดูขั้นตอนแบบละเอียด สามารถทำตามได้แบบ Step by Step คลิกที่นี่เลย

ยังไม่หมดแค่นี้ ! เปิดพอร์ตกับทาง LH Securities ตอนนี้รับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์กันแบบฟรี ๆ กับ “คุณเคน – จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร , CFP ®” ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo ของเรา ที่จะมาพาจับมือเทรดกันตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 ให้ โดยจะเน้นที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) วิเคราะห์กราฟกันแบบมันส์ ๆ พร้อมลุยตลาดจริงกันเลย

banner LH

banner

อ่าน EP ต่อไป

ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้

ติดตามซีรีส์การเงิน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile