ราคาหุ้น ขึ้นเพราะอะไร ? | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP6

ราคาหุ้น ขึ้นเพราะอะไร ? | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP6

4 min read  

ฉบับย่อ

  • ปัจจัยที่ทำให้ “ราคาหุ้น” ขึ้น หลัก ๆ แล้ว มีอยู่ 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ 1. EPS หรือ กำไรต่อหุ้น และ 2. P/E Ratio 
  • กำไรต่อหุ้น หรือ EPS เป็นค่าที่ใช้วัดผลการดำเนินงานของบริษัทนั้น ๆ ถ้า EPS เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี นั่นหมายความว่า บริษัทสามารถทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นได้ เพราะฉะนั้น บริษัทไหนที่มีค่า EPS เพิ่มขึ้นทุกปีก็มีโอกาสที่ราคาจะเพิ่มขึ้นได้
  • นอกจากผลการดำเนินงานของบริษัทแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง คือ ความถูกแพงของหุ้น โดยความถูกแพงของหุ้นเราสามารถดูได้จาก P/E Ratio
  • P/E Band เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และนักลงทุนนิยมใช้กัน เพื่อวัดความถูกแพงของหุ้น

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ซีรีส์การเงิน ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน ในตอนที่ 5 เราได้รู้กันไปแล้วว่านักลงทุนในตลาดหุ้นมีแบบไหนบ้าง ในตอนที่ 6 นี้ พี่ทุยจะเริ่มพาทุกคนไปรู้จักนักลงทุนสายพื้นฐานกัน ทั้งแนวคิด วิธีวิเคราะห์ของนักลงทุนแบบพื้นฐาน

ซึ่งสิ่งแรกที่เป็นพื้นฐานที่เราควรรู้ก่อนเลย ก็คือ ราคาหุ้นขึ้นเพราะอะไร ? เพื่อเราจะได้วิเคราะห์หุ้นได้ตรงจุดนั่นเอง

ปัจจัยที่ทำให้ ราคาหุ้น ขึ้นมีอะไรบ้าง ?

พี่ทุยเชื่อว่าคำตอบในใจของหลาย ๆ คนอาจจะบอกว่าหุ้นขึ้นเพราะ ตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมาดี รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใหม่ หรือมีข่าวว่าต่างชาติต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

ส่วนราคาหุ้นลง เพราะอัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้น เลยทำให้เงินไหลไปในที่ที่อัตราผลตอบแทนดีกว่า หรืออีกเหตุผล คือ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้บริษัทที่มีหนี้สินต้องคืนดอกเบี้ยมากขึ้น รวมถึงเกิดโรคระบาด เป็นต้น

แต่ทิศทางของราคาหุ้น ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีเสมอไป ในบางครั้งราคาก็สวนทางกับทฤษฎีได้ เช่น อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แต่หุ้นก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเหมือนกัน 

และถึงแม้ราคาหุ้นปรับตัวตามปัจจัยเหล่านี้จริง ๆ แต่ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยในระยะสั้น ซึ่งคนที่ลงทุนหุ้นสไตล์พื้นฐาน หรือ VI ส่วนมากแล้วจะลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว เพราะฉะนั้นสิ่งที่นักลงทุนสายพื้นฐาน (VI) จะต้องให้ความสำคัญจริง ๆ ก็คือ ปัจจัยที่ทำให้หุ้นขึ้นในระยะยาว

และปัจจัยหลัก ๆ ที่จะทำให้หุ้นตัวนั้นมีราคาเพิ่มขึ้น ก็คือ มูลค่าของหุ้นตัวนั้น ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าหุ้น นั่นก็คือ ผลการดำเนินงานของบริษัทนั่นเอง  

แล้วผลการดำเนินงานเราจะวัดจากอะไร ?

บางคนอาจจะวัดจากรายได้ หรือบางคนก็วัดจากกำไรสุทธิของบริษัท แต่จริง ๆ แล้วรายได้และกำไรสุทธิ เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้นที่เราใช้วัดผลการดำเนินงานของบริษัท ตัวเลขหรือปัจจัยที่พี่ทุยแนะนำให้ทุกคนใช้ในการวัดผลการดำเนินงานของบริษัท ก็คือ

ปัจจัยที่ 1 – Earning Per Share หรือ EPS

EPS ย่อมาจาก Earning Per Share หรือ กำไรต่อหุ้นนั่นเอง ซึ่งสูตรในการคำนวณ EPS คือ กำไรสุทธิ หารด้วย จำนวนหุ้น

เพราะฉะนั้น ถ้า EPS ของบริษัทไหนเพิ่มขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในต่อ ๆ ไป ราคาของหุ้นตัวนั้นก็มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นได้ 

ปัจจัยที่ 2 – P/E Ratio

P/E Ratio หรือ Price to Earnings เป็นตัวกำหนดว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง หรือพูดง่าย ๆ คือ เป็นตัวที่บอกว่าราคาของหุ้นตัวนั้นถูกหรือแพงเกินไป ซึ่งสูตรในการคำนวณ P/E Ratio ก็คือ ราคา หรือ Price หารด้วย กำไรต่อหุ้น หรือ EPS นั่นเอง

ซึ่งความถูกหรือแพงของราคาหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับราคาที่นักลงทุนแต่ละคนยินดีจะจ่ายให้กับหุ้นตัวนั้น และราคาที่นักลงทุนยินดีจะจ่ายก็ขึ้นอยู่กับความกล้าและความกลัวของนักลงทุนนั่นเอง 

สมมติว่า EPS ของหุ้น ก เท่าเดิมมาโดยตลอดและพื้นฐานของหุ้น ก ก็เหมือนเดิมทุกอย่าง แต่ช่วงนั้นเราอาจจะไปได้ยินข่าวมาว่า ปีหน้าหุ้น ก จะมีเงินเข้าซื้อจากหลาย ๆ กองทุนเป็นเงินมหาศาล หรือ เราได้ยินคนรอบข้างคุยกันว่าหุ้นตัวนี้ราคาถูกเกินไป ปีหน้าราคาน่าจะขึ้นได้มากกว่านี้หลายเท่าตัว

ปัจจัยเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เรายินดีหรือกล้าที่จะให้ราคากับหุ้นตัวนี้มากขึ้น ทำให้หุ้นอาจจะมีราคาแพงเกินพื้นฐานของมันได้

ในทางกลับกัน ถ้าเราได้ยินข่าวไม่ดีของหุ้นตัวนี้มา เช่น ปีหน้าจะมีแรงขายหุ้น ก จากต่างชาติจำนวนมาก หรือนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ หั่นราคาเป้าหมายของหุ้น ก ลง ก็ทำให้นักลงทุนเกิดความกลัว เลยทำให้นักลงทุนในตลาดให้ค่ากับหุ้นตัวนั้นลดลงไป ทั้งที่พื้นฐานของหุ้นตัวนี้ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าตอนนี้ราคาหุ้นที่เราสนใจถูกหรือแพง ?

โดยส่วนใหญ่แล้วนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และนักลงทุนจะใช้เครื่องมือตัวหนึ่งในการวัดความถูกแพงของหุ้น นั่นก็คือ P/E Band 

P/E Band คืออะไร ?

P/E Band เป็นการนำราคาหุ้น (Price) มาเปรียบเทียบกับค่า P/E ที่ระดับต่าง ๆ คือ ที่ระดับ

  • P/E เฉลี่ย
  • P/E บวก 1 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
  • P/E บวก 2 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
  • P/E ลบ 1 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
  • P/E ลบสองเท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ Standard Deviation (SD) คืออะไร ?

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เป็นค่าเฉลี่ยที่บอกว่าโดยเฉลี่ยแล้วตัวเลขที่นำมาหาค่าเฉลี่ย มีค่าต่างจากค่าเฉลี่ยอยู่เท่าไหร่ 

ตัวอย่างการใช้ P/E Band

ราคาหุ้น ขึ้นเพราะอะไร ?

จากรูป เราจะเห็นว่ามีเส้นกราฟทั้งหมด 6 เส้น ด้วยกัน คือ

  1. เส้นราคา (Price) แทนด้วย เส้นสีเทา
  2. เส้นราคาที่ P/E ค่าเฉลี่ยลบสองเท่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) หรือ -2SD หรือที่ P/E เท่ากับ 25.51 เท่า แทนด้วย เส้นสีส้ม
  3. เส้นราคาที่ P/E ค่าเฉลี่ยลบหนึ่งเท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) หรือ -1SD หรือที่ P/E เท่ากับ หรือ P/E เท่ากับ 30.24 เท่า แทนด้วย เส้นสีเขียวอ่อน
  4. เส้นราคาที่ P/E ค่าเฉลี่ย หรือที่ P/E เท่ากับ หรือ P/E เท่ากับ 34..96 เท่า แทนด้วย เส้นสีเหลือง
  5. เส้นราคาที่ P/E ค่าเฉลี่ยลบบวกหนึ่งเท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) หรือ +1SD หรือที่ P/E เท่ากับ 39.69 เท่า แทนด้วย เส้นสีฟ้า 
  6. เส้นราคาที่ P/E ค่าเฉลี่ยบวกสองเท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) หรือ +2SD หรือที่ P/E เท่ากับ 44.42 เท่า แทนด้วย เส้นสีเขียวเข้ม

เราจะเห็นว่าพอราคาหุ้นหรือเส้นสีเทา ลงมาที่ระดับ P/E -1SD และ -2SD หรือเส้นสีส้มและเขียว ตามลำดับเมื่อไหร่ ราคาก็มักจะเด้งกลับขึ้นไปที่ราคาที่ P/E เฉลี่ย หรือเส้นสีเหลืองทุกที และเมื่อราคาดีดขึ้นไปที่ระดับ +1SD และ +2SD หรือเส้นสีฟ้าและเขียวเข้ม ตามลำดับ ราคาหรือเส้นสีเทาก็มักจะตกกลับลงมาสู่ระดับราคาที่ P/E เฉลี่ย

สรุปการวัดความถูกแพงของหุ้นด้วยการดู P/E Band

ถ้าระดับราคาลงต่ำกว่าระดับราคาที่ P/E เฉลี่ย เช่น ลงมาที่ราคา -1SD หรือ -2SD นักลงทุนสายพื้นฐานก็จะถือว่าระดับนี้เป็นราคาที่ถูก เพราะว่าในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่คิดว่าราคาที่ระดับ P/E เฉลี่ยเป็นราคาที่เหมาะสม

ดังนั้น ถ้าราคาลงมาที่ระดับ -1SD, -2SD หรือติดลบมากกว่านั้น ถือเป็นจังหวะที่ควรซื้อหุ้นและมาขายที่ราคาที่ P/E ค่าเฉลี่ยนั่นเอง 

ในทางกลับกัน ถ้าราคาสูงกว่าราคาที่ P/E เฉลี่ย เช่นที่ระดับราคา +1SD และ +2SD นักลงทุนก็จะถือว่าเป็นราคาที่แพง ดังนั้นถ้าใครมีหุ้นอยู่ก็ควรจะขายหรือไม่ควรซื้อหุ้นที่ระดับราคานี้

แต่ P/E Band จะใช้วิเคราะห์หุ้นได้เพียงแค่เบื้องต้นเท่านั้น เราควรจะต้องเอาหุ้นไปวิเคราะห์แบบละเอียดอีกทีนึง เพื่อให้ได้หุ้นที่มีคุณภาพจริง ๆ ซึ่งซีรีส์การเงินตอนต่อไปเราจะยังอยู่กับการเจาะลึกการวิเคราะห์แบบพื้นฐานอยู่ ต้องติดตามให้ดีว่าซีรีส์การเงินตอนต่อไปพี่ทุยจะมาพูดถึงเรื่องอะไร แต่รับรองว่ามีประโยชน์และอ่านสนุกอย่างแน่นอน 

เปิดบัญชีกับ LH Securities วันนี้ เรียนฟรีคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์

สำหรับใครที่กำลังมองหาที่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นอยู่ พี่ทุยแนะนำให้เปิดบัญชีกับทาง LH Securities ผู้สนับสนุนหลักของ ซีรีส์ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน

เพราะทั้งสะดวกและให้บริการครบ สามารถจบในที่เดียวได้ ตั้งแต่เปิดบัญชี การสมัครบริการตัดเงินบัญชีอัตโนมัติ ไปจนถึงวางหลักประกัน  LH Securities ก็มีให้บริการ และที่สำคัญคือสามารถทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกและง่ายมาก ๆ

สนใจเปิดบัญชีกับ LH Securities พร้อมดูขั้นตอนแบบละเอียด สามารถทำตามได้แบบ Step by Step คลิกที่นี่เลย

banner LH

banner

ยังไม่หมดแค่นั้น ! เปิดพอร์ตกับทาง LH Securities ตอนนี้รับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์กันแบบฟรี ๆ กับ “คุณเคน – จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร, CFP ®” ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo ของเรา ที่จะมาพาจับมือเทรดกันตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 ให้ โดยจะเน้นที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) วิเคราะห์กราฟกันแบบมันส์ ๆ พร้อมลุยตลาดจริงกันเลย

อ่าน EP ต่อไป

ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้

ติดตามซีรีส์การเงิน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย