รู้จักกับ Money Management แบบง่าย ๆ ฉบับนักลงทุนมือใหม่

รู้จักกับ Money Management แบบง่าย ๆ ฉบับนักลงทุนมือใหม่ | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP25

5 min read  

ฉบับย่อ

  • “Money Management” หรือ MM คือการจัดการเงินทุน เพื่อให้การเทรดของเราเป็นระบบ และมีหลักการ ซึ่ง Money Management จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พอร์ตเรามีความปลอดภัยมากขึ้น
  • เราสามารถจัดการเงินทุนได้จากการกำหนดจำนวนเงินที่จะลงทุนในหุ้นแต่ละตัวได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ 1. วิธีถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงของหุ้นแต่ละตัว ที่จะกำหนดเงินที่จะลงทุนตาม Risk Reward ของหุ้น และ 2. วิธีกฎ 2% ซึ่งจะกำหนดการขาดทุนของพอร์ตเราไว้ที่ 2% และจะหาจำนวนเงินลงทุนจากจำนวนเงินที่เรายอมขาดทุนได้นั่นเอง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ซีรีส์การเงินในตอนที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้ถึงการคัดเลือกหุ้น วิธีวิเคราะห์งบการเงิน รวมถึงวิธีการวิเคราะห์หุ้นด้วยการใช้ Technical เช่น กราฟ และ Indicators ต่าง ๆ กันไปแล้ว แต่พี่ทุยจะบอกว่าในโลกของการลงทุนยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่คนส่วนใหญ่มักจะละเลยไป นั่นก็คือการจัดการเงินทุน หรือ Money Management ซีรีส์การเงินในตอนนี้พี่ทุยจะพาทุกคนไปรู้จักกับหลักการจัดการเงินทุนกัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย..

Money Management คืออะไร ?

Money Management หรือ MM คือการจัดการเงินทุน เพื่อให้การเทรดของเราเป็นระบบ และมีหลักการ ซึ่ง MM จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พอร์ตเรามีความปลอดภัยมากขึ้น

คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม Money Management ไป 

พี่ทุยจะบอกว่า โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนส่วนมากมักจะให้ความสำคัญกับการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการหาหุ้นที่ดี หุ้นที่มีงบการเงินดี ๆ หรือ หุ้นที่ทรงกราฟสวย เกิดสัญญาณซื้อ หรือกำลังจะกลับตัว ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดีนะ แต่หนึ่งสิ่งที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้าม และไม่ค่อยให้ความสนใจกัน ก็คือเรื่องของ MM เพราะด้วยความที่มันไม่ได้เป็นรูปธรรมอะไรมากมาย ไม่ได้เกี่ยวกับตัวหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง หลาย ๆ คนก็เลยคิดว่ามันไม่ได้สำคัญอะไร 

แต่จริง ๆ แล้ว MM ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้จะเก่งกาจด้านการเทรดหุ้นขนาดไหน แต่ถ้าเราไม่มี MM ที่ดี พอร์ตเราก็สามารถพังได้  

ทำไมเราต้องมี Money Management ?

พี่ทุยเชื่อว่านักลงทุนหลาย ๆ คนคงเจอกับเหตุการณ์ที่เราทำกำไรได้มากมายหลายรอบ และขาดทุนน้อยครั้งมาก หรือพูดง่าย ๆ คือเราชนะมากกว่าแพ้ หรือมีอัตราการชนะ (Win Rate) ที่สูงนั่นเอง แต่ประเด็น คือ ครั้งที่เราแพ้ เราดันขาดทุนเยอะจนทำให้มันล้างกำไรที่เราเคยทำมาจนหมดสิ้น

ครั้งแรก ๆ มันยังอาจจะพอถูไถไปได้ เพราะเรามีการทำกำไรตุนไว้บ้างแล้ว แต่พอหลาย ๆ ครั้งเข้ามันจะเริ่มเข้าเนื้อเรา และถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปเราอาจจะต้องออกจากตลาดไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นพี่ทุยเลยเชื่อว่าการที่ทุกคนเทรดหุ้นเก่งมีกำไรเยอะถือเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือทุกคนควรจะมีการบริษัทจัดการเงินทุนที่ดีด้วย เพื่อให้กำไรของเราสามารถต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง 

เราควรใช้เงินซื้อหุ้นเท่าไหร่ ?

พี่ทุยเชื่อว่านักลงทุนหลาย ๆ คน คงจะเจอกับเหตุการณ์ที่เจอหุ้นตัวที่เราสนใจแล้ว รู้ว่าเราจะเทรดหุ้นตัวนี้ยังไง เข้าซื้อตรงไหน ขายที่เท่าไหร่ และ Stop Loss ตรงไหน แต่ปัญหา คือเราไม่รู้ว่าควรจะซื้อด้วยเงินเท่าไหร่ดี ซึ่งเมื่อไม่มีแผน และไม่มีหลักการ แน่นอนว่าการเข้าซื้อหุ้นจะกลายเป็นไปตามอารมณ์ของเรา ว่าซื้อตัวนี้เท่านี้นะ ส่วนตัวนี้ซื้อเท่านี้ละกัน ซึ่งตรงจุดนี้เองที่มันสามารถทำให้พอร์ตของเราเสียหายได้ 

วันนี้พี่ทุยเลยมีวิธีจัดการเงินทุนมาฝากทุกคน 2 วิธีด้วยกัน คือ

1. วิธีถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงของหุ้นแต่ละตัว 

วิธีนี้จะถือว่าค่อนข้างง่ายเลย โดยหลักการของวิธีนี้ คือ ลงทุนในหุันตัวที่ความเสี่ยงต่ำมาก และไล่จำนวนเงินที่เราจะลงทุนน้อยลงไปเรื่อย ๆ ตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความเสี่ยงนี้เราอาจจะใช้ Risk Reward เข้ามาช่วยได้ 

Risk Reward คืออะไร ?

Risk Reward คือการเปรียบเทียบกันระหว่างจำนวนที่เราจะกำไรกับจำนวนที่เราคาดว่าจะขาดทุน เช่น เราวางแผนว่าจะซื้อหุ้น A ที่ราคา 15 บาท ขายทำกำไรที่ราคา 25 บาท และวางจุด Stop Loss ไว้ที่ 10 บาท เพราะฉะนั้นเราจะได้ Risk Reward เท่ากับ (10/5) = 2 เท่า

2. วิธีกฎ 2%

กฎ 2% เป็นหนึ่งในวิธีที่จะเข้ามาช่วยกำหนดจำนวนเงินที่เราจะลงทุนในหุ้นแต่ละตัวได้ โดยปัจจัยที่สำคัญ ๆ ของหลักการนี้จะมีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ 

  • จำนวนเงินทุนของเรา และ
  • ความเสี่ยงที่เรารับได้

ในส่วนของความเสี่ยงที่เรารับได้หมายถึง เราสามารถยอมรับความขาดทุนได้เท่าไหร่จากการลงทุนในครั้งนี้ ซึ่งถ้าตามกฏข้อนี้เราจะกำหนดไว้ที่ 2% 

สมมติว่าเรามีเงินทุนอยู่ 100,000 บาท ถ้าเราขาดทุนจากการลงทุนไป 2,000 บาทก็ถือว่ายอมรับได้ ซึ่งตัวเลข 2% นี้เป็นเพียงตามกฎที่เขานิยมใช้กันเท่านั้น เพราะ 2% ถือเป็นตัวเลขที่ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป แต่ใครที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้มาก หรือน้อยกว่านี้ก็ลองเอาไปปรับใช้ดูกันได้ 

ตัวอย่าง การใช้ Money Management จากกฎ 2%

ตัวอย่างที่ 1

สมมติว่าพี่ทุยมีเงินทุนในการลงทุนอยู่ทั้งหมด 100,000 บาท และใช้วิธีการจัดการ “MM” ด้วยกฎ 2% จะได้ว่าในการซื้อหุ้นครั้งหนึ่งพี่ทุยจะขาดทุนได้ 2,000 (100,000*2%) บาท 

และพอตอนที่เริ่มเทรด สมมติว่าพี่ทุยวางแผนว่าจะเข้าเทรดหุ้น ก ราคา 100 บาท  และจะยอมตัดขาดทุนที่ 95 บาท เท่ากับว่าการเทรดในครั้งนี้ ถ้าพี่ทุยขาดทุนแบบเต็มที่เลย พี่ทุยจะขาดทุนเท่ากับ 5 บาท/หุ้น 

เพราะฉะนั้นพี่ทุยสามารถหาเงินทุนที่จะเข้าซื้อหุ้น ก ได้ ตามนี้

จำนวนหุ้นที่จะลงทุน = เงินทุนที่ขาดทุนได้/จำนวนการขาดทุนต่อหุ้น
                                  = 2,000/5
                                  = 400 หุ้น

ดังนั้นเราจะได้เงินลงทุนในหุ้นตัวนี้เท่ากับ 400*100 = 40,000 บาท

ซึ่งเงินทุนที่เราจะลงทุนในแต่ละครั้งก็จะขึ้นอยู่กับการกำไรและขาดทุนของการลงทุนในแต่ละครั้งด้วย เช่น สมมติว่าการลงทุนครั้งแรกของเราขาดทุนตามระบบที่เราวางไว้ เราก็จะขาดทุนไป 2,000 ทำให้เราเหลือเงินที่จะลงทุนทั้งหมด 98,000 (100,000 – 2,000) บาท

พอเงินทุนทั้งหมดลดลงเหลือ 98,000 ถ้าเราให้กฎ 2% จำนวนเงินที่เรายอมขาดทุนได้ก็จะลดลงไปเหลือ 98,000*0.02 = 1,960 บาท 

ตัวอย่างที่ 2

สมมติเราวางแผนที่จะเข้าซื้อหุ้น ข ที่ราคา 50 บาท และจะยอมขาดทุนที่ 40 บาท ซึ่งเท่ากับว่าเต็มที่เลยเราจะขาดทุนเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น 

ต่อมาเรามาหาจำนวนเงินที่เราจะเข้าซื้อกัน เริ่มจากการหาจำนวนหุ้นที่เราจะลงทุน ตรงจุดนี้เราก็ใช้สูตรเดิมเลย คือ จำนวนเงินที่ขาดทุนได้/ส่วนต่างของราคา เราจะได้จำนวนหุ้นเท่ากัน 1,960/10 = 196 หรือประมาณ 200 หุ้น 

เพราะฉะนั้นเราจะได้จำนวนเงินที่จะลงทุนในหุ้น ข เท่ากับ  200*50  = 10,000 บาท 

แต่กลับกันถ้าการเทรดรอบแรกเรากำไรจำนวนเงินที่เราจะยอมขาดทุนได้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ตัวอย่างที่ 3

การเทรดรอบแรกเราได้กำไร 10% ทำให้เงินทุนทั้งหมดเราจะกลายเป็น 110,000 บาท เพราะฉะนั้นจำนวนเงินที่เราจะขาดทุนได้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

เงินทุนที่เรายอมขาดทุนได้ = 110,000*0.02 = 2,200 บาท

หลังจากนั้นเราก็เอาเงินก้อนนี้ไปคำนวณเงินที่จะลงทุนในหุ้นแต่ละตัวตามระบบเทรดของเรา

และทั้งหมดนี้ก็ คือเรื่องราวของการจัดการเงินทุน หรือ Money Management ที่จะทำให้เราวางแผนการเทรดได้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และอยู่รอดในตลาดหุ้นได้ แต่นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างจากพี่ทุยเท่านั้น พี่ทุยเชื่อว่าวิธีการเทรดของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป จุด Stop Loss หรือจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่จะยอมขาดทุนได้ก็จะแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งตรงนี้ทุกคนสามารถเอาไปปรับใช้ตามเงินทุน ความเสี่ยงที่ยอบรับได้ และสไตล์การลงทุนของแต่ละคนได้เลย.. 

เปิดบัญชีกับ LH Securities วันนี้ เรียนฟรีคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้และก้าวสู่การเป็นนักลงทุนสายเทคนิคเร็ว ๆ แนะนำให้เปิดพอร์ตกับทาง LH Securities ตอนนี้ เพื่อรับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์กันแบบฟรี ๆ กับ “คุณเคน – จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร , CFP ®” ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo ของเรา ที่จะมาพาจับมือเทรดกันตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 ให้ โดยจะเน้นที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) วิเคราะห์กราฟกันแบบมันส์ ๆ พร้อมลุยตลาดจริงกันเลย

และที่พี่ทุยแนะนำให้เปิดบัญชีกับทาง LH Securities ผู้สนับสนุนหลักของ ซีรีส์ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน นั่นก็เพราะที่นี่ทั้งสะดวก และให้บริการครบ สามารถจบในที่เดียวได้ ตั้งแต่เปิดบัญชี การสมัครบริการตัดเงินบัญชีอัตโนมัติ ไปจนถึงวางหลักประกัน  LH Securities ก็มีให้บริการ และที่สำคัญคือสามารถทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกและง่ายมาก ๆ

สนใจเปิดบัญชีกับ LH Securities พร้อมดูขั้นตอนแบบละเอียด สามารถทำตามได้แบบ Step by Step คลิกที่นี่เลย

banner LH รู้จักกับ Money Management

banner

อ่าน EP ต่อไป

ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้

ติดตามซีรีส์การเงิน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย