วิธีวิเคราะห์ Bid Offer ง่าย ๆ ฉบับนักลงทุนมือใหม่ | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP20

วิธีวิเคราะห์ Bid Offer ง่าย ๆ ฉบับนักลงทุนมือใหม่ | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP20

5 min read  

ฉบับย่อ

  • “Bid Offer” คือ การเสนอซื้อและขายหุ้น ตามจำนวนหุ้นและราคาที่นักลงทุนต้องการ และ BId Offer เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์หุ้นได้ดี
  • Bid Offer เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก ๆ ในการวิเคราะห์ว่าหุ้นตัวไหนที่มีเจ้ามือเข้ามาซื้อขาย 
  • รูปแบบของ Bid Offer หลัก ๆ แล้วจะแบ่งเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน คือ (1) Bid บาง Offer หนา (2) Bid หนา Offer บาง (3) Bid บาง Offer บาง (4) Bid หนา Offer หนา

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ซีรีส์การเงินในตอนนี้พี่ทุยจะมาพูดถึงหนึ่งในอาวุธที่สำคัญของนักลงทุนสายเทคนิค (Technical) นั่นก็คือ การวิเคราะห์ Bid Offer เหตุผลที่พี่ทุยอยากให้ทุกคนวิเคราะห์ Bid Offer เพราะมันจะเป็นตัวช่วยทำให้เราเลือกซื้อหุ้นได้ถูกตัวและซื้อได้ในจังหวะที่ดีมากขึ้น ถ้าพร้อมไปแล้วไปดูกันเลย..

วิเคราะห์ Bid Offer คืออะไร ?

Bid คืออะไร ?

Bid คือฝั่งเสนอซื้อหุ้น แปลง่าย ๆ คือ ฝั่ง Bid หมายถึงคนที่ต้องการซื้อหุ้น หรือแปลว่าคนนั้นยังไม่มีหุ้นในพอร์ต หรือมีแล้วแต่ต้องการซื้อเพิ่มในราคาที่ตัวเองอยากได้ ถ้าเขารีบหรืออยากได้จริง ๆ เขาอาจจะยอมซื้อที่ราคา Offer (เสนอขาย) ณ ตอนนั้นเลย (เคาะขวา) แต่ถ้ายังไม่รีบ หรือยอมเกี่ยงราคาซื้อได้ เขาก็อาจจะตั้งราคาที่อยากได้ แล้วรอคิวเอาไว้ได้ 

แต่ประเด็นที่เราต้องระวัง คือการตั้ง “เสนอซื้อ”  มันไม่ได้แปลว่าคนนั้นอยากจะได้หุ้นตัวนี้เสมอไป เพราะเขาสามารถยกเลิกการตั้ง Bid ได้ หรือเขาอาจจะตั้ง Bid หลอกเราได้นั่นเอง

Offer คืออะไร ?

Offer คือราคาเสนอขาย เช่น มีคนที่หุ้น CPALL อยู่ เขาก็สามารถเอาหุ้นออกมาขายได้ตามราคาที่ตัวเองต้องการ สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bid กับ Offer คือ “เสนอซื้อ” สามารถตั้งหลอกได้ แต่ “เสนอขาย” จะต้องเป็นคนที่มีหุ้นตัวนั้นอยู่ในพอร์ตจริง ๆ ถึงจะสามารถเอามาตั้ง Order ได้ 

แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือทั้ง “เสนอซื้อ” และ “เสนอขาย” สามารถตั้งหลอกนักลงทุนในตลาดได้เหมือนกัน เพราะเขาจะตั้งซื้อหรือขายที่ราคาไหนก็ได้ และที่สำคัญ คือเขาสามารถที่จะยกเลิกหรือถอนคำสั่งเมื่อไหร่ก็ได้เหมือนกัน

ประโยชน์ของ Bid Offer

หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า Bid Offer (การเสนอราคาซื้อขาย) ไม่ค่อยมีประโยชน์มากเท่าไหร่ คิดว่าเอาไว้ดูว่าหุ้นตัวไหนซื้อหรือขายเยอะกว่ากันแค่นั้น แต่จริง ๆ แล้ว “การเสนอราคาซื้อขาย” ถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก ๆ ในการวิเคราะห์หุ้น รูปแบบของ “การเสนอราคาซื้อขาย” จะสามารถบอกเราได้ว่าตอนนี้เกิดอะไรกับหุ้นตัวนั้นบ้าง และที่สำคัญสามารถเอาไว้ดูได้เบื้องต้นว่าหุ้นตัวไหนที่เจ้ามือเข้าซื้ออยู่

รูปแบบของ Bid Offer

รูปแบบของ “การเสนอราคาซื้อขาย” สามารถแบ่งได้หลัก ๆ 4 แบบด้วยกัน คือ

1. “เสนอซื้อ” บาง “เสนอขาย” หนา

1. "เสนอซื้อ" บาง "เสนอขาย" หนา

“เสนอซื้อ” บาง “เสนอขาย” หนา หมายถึง ปริมาณหุ้นของฝั่ง “เสนอซื้อ” จะบาง หรือน้อยกว่า ฝั่ง “เสนอขาย” อย่างเห็นได้ชัด “การเสนอราคาซื้อขาย” รูปแบบนี้ถือเป็นรูปแบบที่นักลงทุนสายเก็งกำไรชอบมากที่สุด เพราะ การตั้ง Offer หนา ๆ แบบนี้ มันหมายถึงต่อให้มีคนซื้อหุ้นตัวนี้เท่าไหร่ “เสนอขาย” ก็ยังไม่หมด

และคนที่ตั้ง “เสนอขาย” นี้เราก็สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นเจ้ามือแน่นอน เพราะการตั้ง “เสนอขาย” หนา ๆ เขาตั้งเอาไว้เพื่อเก็บของ หรือซื้อหุ้นตัวนั้นในราคาที่เขาต้องการให้ครบก่อน เพราะการตั้ง “เสนอขาย” หนา ๆ เขาสามารถเคาะซื้อได้เรื่อย ๆ เพราะตั้ง “เสนอขาย” กันเอาไว้แล้ว 

เช่น จากรูปเราจะเห็นว่าหุ้นตัวนี้มี “เสนอซื้อ” น้อยกว่า “เสนอขาย” อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะบริเวณราคา 18.20  บาท ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเราไปดูกราฟแล้วเห็นว่าแนวต้านของหุ้นตัวนี้อยู่ 18.20 บาท ด้วย พี่ทุยว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียว จุดสำคัญที่เราจะทำให้เรามั่นใจว่าหุ้นตัวนี้วิ่งแน่ ๆ คือ ตอนที่มี Volume ซื้อหวดเข้ามาเยอะ ๆ นั่นแหละ

2. “เสนอซื้อ” หนา “เสนอขาย” บาง

2. "เสนอซื้อ" หนา "เสนอขาย" บาง

“การเสนอราคาซื้อขาย” รูปแบบนี้ ถ้าเรามองเผิน ๆ เราอาจจะรู้สึกว่าหุ้นตัวนี้น่าสนใจ เพราะ ปริมาณความต้องการซื้อ เยอะมาก แต่ปริมาณความต้องการขายกลับน้อยนิดเดียว แต่จริง ๆ แล้วรูปแบบ “การเสนอราคาซื้อขาย” แบบนี้นี่แหละที่น่ากลัวและต้องระวังมากที่สุด เพราะ มันเป็นการส่งสัญญาณว่าหุ้นตัวนี้กำลังอยู่ปลายเทรนด์และพร้อมที่จะลงแล้ว 

หลายคนอาจจะงงว่าเป็นเพราะอะไร เดี๋ยวพี่ทุยจะขยายความให้ฟังที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ จริง ๆ แล้ว “เสนอซื้อ” ที่เยอะ ๆ หนา ๆ นั้นเป็นเพียงการตั้งเอาไว้เพื่อให้ “เสนอขาย” มาเท่าไหร่ “เสนอซื้อ” นั้นก็ไม่หมด ราคาไม่ขึ้นสักที และต้องอย่าลืม “เสนอซื้อ” เป็นเหมือนภาพลวงตาที่เจ้ามืออาจจะหลอกเราได้จากที่ “เสนอซื้อ” หนา ๆ เพียงแค่เขาเอา “เสนอซื้อ” ออกราคาหุ้นก็พร้อมก็ลงได้ทุกเมื่อ

3. “เสนอซื้อ” บาง “เสนอขาย” บาง

3. "เสนอซื้อ" บาง "เสนอขาย" บาง

“การเสนอราคาซื้อขาย” รูปแบบนี้ หมายความว่าในช่วงนั้นหุ้นตัวนี้ยังไม่มีนักลงทุนสนใจเท่าไหร่ ยังไม่ค่อยมีปริมาณการซื้อขายเข้ามา มีสภาพคล่องต่ำ ส่วนตัวพี่ทุยคิดว่าหุ้นในช่วงนี้จะวิเคราะห์แนวโน้มได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้ก็อย่าเพิ่งเข้าไปซื้อหุ้นเลยดีกว่า แต่ถ้าเราสนใจหุ้นตัวนี้จริง ๆ ก็รอตอนที่ปริมาณการซื้อเข้ามา หรือทรงกราฟเริ่มดีค่อนเข้าไปซื้อก็ยังไม่สาย

4. “เสนอซื้อ” หนา “เสนอขาย” หนา

4. "เสนอซื้อ" หนา "เสนอขาย" หนา

ถ้าเราดูแบบเผิน ๆ เราอาจจะคิดว่ารูปแบบ “การเสนอราคาซื้อขาย” แบบนี้น่าจะดี เพราะ มีปริมาณการซื้อขายเยอะ มีสภาพคล่องซื้อ จะซื้อจะขายก็สามารถทำได้ หรือถ้าซื้อแล้วราคาหุ้นปรับตัวลงมาก็สามารถ Cut Loss ได้ง่าย ซึ่งมันก็ไม่ได้ผิดไปซะทีเดียว เพียงแต่ว่าถ้าเป็นพี่ทุยเองส่วนตัวแล้วถ้าเจอรูปแบบ “การเสนอราคาซื้อขาย” จะรอนิ่ง ๆ แล้วออกมามองเกมข้างนอกก่อน เพราะ “การเสนอราคาซื้อขาย” รูปแบบนี้ หมายถึงแนวโน้มหุ้นที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเลือกขึ้นหรือลง 

ในสถานการณ์แบบนี้พี่ทุยแนะนำเราให้เราดูกราฟหุ้นตัวนั้นประกอบด้วย ถ้ากราฟสวย, พร้อมจะขึ้น แล้ว “การเสนอราคาซื้อขาย” เปลี่ยนรูปแบบเป็น “เสนอซื้อ” บาง “เสนอขาย” หนาแบบนี้พี่ทุยถึงจะเข้าซื้อ แต่ถ้ากราฟก็ไม่สวยเท่าไหร่ แล้ว “การเสนอราคาซื้อขาย” ยังเปลี่ยนเป็น “เสนอซื้อ” หนา “เสนอขาย” บางด้วยแบบนี้ก็ควรไปหาหุ้นตัวอื่นเทรดดีกว่า

เราจะหาหุ้นที่จะเอามาวิเคราะห์ “การเสนอราคาซื้อขาย” ได้ยังไง ?

ถึงตอนนี้หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจวิธีการดู “การเสนอราคาซื้อขาย” แล้ว แต่ในทางปฏิบัติสิ่งที่ยากที่สุด ก็คือการหาหุ้นที่เราจะเอามาดู “การเสนอราคาซื้อขาย” นี่แหละ

โดยส่วนตัวแล้ววิธีการหาหุ้นของพี่ทุยจะใช้การดู Ticker เป็นหลัก ถ้ามีหุ้นตัวไหนไหลเข้ามาใน Ticker บ่อย ๆ และ มีปริมาณการซื้อขายเยอะก็ถือว่าน่าสนใจ พี่ทุยจะทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ และลิสต์หุ้นที่ตัวเองสนใจเอาไว้ หลังจากนั้นก็เอาหุ้นที่ตัวเองลิสต์ไว้ไปดู “การเสนอราคาซื้อขาย” และกราฟทางเทคนิคต่อไป

การดู “การเสนอราคาซื้อขาย” เป็นอะไรที่ซับซ้อน, ต้องอาศัยระยะเวลา และสั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ พี่ทุยเชื่อว่าตอนแรกหลาย ๆ คนอาจจะยังดูไม่เป็น แต่เชื่อพี่ทุยเถอะว่าถ้าเราฝึกฝนไปเรื่อย ๆ ดูมันบ่อย ๆ ทำทุก ๆ วัน ยังไงก็ต้องมีสักวันที่เราทำได้อย่างแน่นอน.. 

เปิดบัญชีกับ LH Securities วันนี้ เรียนฟรีคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์

แต่ถ้าอยากเข้าใจการลงทุนเชิงเทคนิคได้ง่ายและเร็วกว่านั้น แนะนำให้เปิดพอร์ตกับทาง LH Securities ตอนนี้ เพื่อรับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์กันแบบฟรี ๆ กับ “คุณเคน – จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร , CFP ®” ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo ของเรา ที่จะมาพาจับมือเทรดกันตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 ให้ โดยจะเน้นที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) วิเคราะห์กราฟกันแบบมันส์ ๆ พร้อมลุยตลาดจริงกันเลย

และที่พี่ทุยแนะนำให้เปิดบัญชีกับทาง LH Securities ผู้สนับสนุนหลักของ ซีรีส์ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน นั่นก็เพราะที่นี่ทั้งสะดวก และให้บริการครบ สามารถจบในที่เดียวได้ ตั้งแต่เปิดบัญชี การสมัครบริการตัดเงินบัญชีอัตโนมัติ ไปจนถึงวางหลักประกัน  LH Securities ก็มีให้บริการ และที่สำคัญคือสามารถทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกและง่ายมาก ๆ

สนใจเปิดบัญชีกับ LH Securities พร้อมดูขั้นตอนแบบละเอียด สามารถทำตามได้แบบ Step by Step คลิกที่นี่เลย

banner LH

banner

อ่าน EP ต่อไป

ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้

ติดตามซีรีส์การเงิน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย