ซีรีส์การเงินในตอนที่ผ่าน ๆ มาเราได้เรียนรู้วิธีการหาจุดซื้อขายหุ้นในรูปแบบต่าง ๆ และได้รู้แล้วว่าในตลาดหุ้นมีแนวโน้มอะไรบ้าง แต่อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ที่นักลงทุนมือใหม่ไม่ควรจะละเลย ก็คือ Cut Loss หรือ การตัดขาดทุนหุ้น ซีรีส์การเงินในตอนนี้พี่ทุยจะพาทุกคนไปรู้จักกับการตัดขาดทุนหุ้นกัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย..
การ Cut Loss หุ้น คืออะไร ?
จริง ๆ แล้ว ความหมายแบบตรง ๆ ของ Cut Loss คือ การตัดขาดทุนหุ้นเมื่อผิดทาง เช่น เราตัดสินใจซื้อหุ้น CPALL เพราะ หวังว่าราคาหุ้นจะขึ้น แต่มันกลับไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดราคาหุ้น CPALL ไม่ขึ้น แถมราคายังค่อย ๆ ร่วงลงมาอีก ถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้เราต้องเอาการตัดขาดทุนเข้ามาช่วย เพื่อไม่ให้เราขาดทุนไปมากกว่านี้
ถ้ามองแบบลึกลงไปการตัดขาดทุนก็เปรียบเหมือนกับเกมฟุตบอลเกมหนึ่ง ที่เกมรุกเราจะดีอย่างเดียวไม่ได้ แต่เกมรับเราก็ต้องดีด้วย เราถึงจะชนะคู่แข่งได้ การรู้จักการตัดขาดทุนก็เหมือนกับเกมรับที่ดี ที่จะเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เราชนะตลาด และอยู่ในตลาดได้ไปนาน ๆ
เทคนิค Cut Loss หุ้น
พี่ทุยจะบอกว่าจริง ๆ แล้วการ Cut Loss หรือ การตัดขาดทุนหุ้นไม่ได้มีกฎตายตัวว่าเราจะต้องตัดขาดทุนตรงไหน พี่ทุยคิดว่ามันอยู่ที่สไตล์ของแต่ละคน, ประสบการณ์ และแต่ละสถานการณ์มากกว่า แต่ในบทความนี้พี่ทุยขอเลือกเทคนิคการตัดขาดทุนหลัก ๆ 4 วิธีมาให้ทุกคนดูกัน
1. กำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุน
วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการตัดขาดทุนเลยก็ว่าได้ โดยการตัดขาดทุนด้วยวิธีนี้ทำได้โดยการที่เรากำหนดจำนวนเปอร์เซ็นต์ไว้แบบแน่นอนว่า ถ้าราคาหุ้นลงมากี่เปอร์เซ็นต์เราจะต้องจำใจยอมตัดขาดทุน ซึ่งจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่เราจะกำหนดก็ไม่มีถูกไม่มีผิด บางคนอาจจะใช้ 3%, 5% หรือ 8% ก็ไม่ว่ากัน แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ถ้าราคาหุ้นลงมาถึงตรงที่เราตั้งใจว่าจะตัดขาดทุนก็ต้องตัดขาดทุน จริง ๆ ไม่อย่างนั้นเราอาจจะขาดทุนมากกว่าที่เราตั้งไว้ก็ได้
2. กรอบแนวรับ แนวต้าน หรือ Channel Trade
กรอบการเทรดที่เราสร้างจากการตีเส้นแนวรับ แนวต้านไม่ได้มีประโยชน์ในการหาจุดซื้อขายหุ้นเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถเอากรอบนี้มาเป็นจุดตัดขาดทุนได้ด้วยเหมือนกัน
โดยถ้ากราฟแท่งเทียน หรือราคาหุ้นหลุดจากกรอบแนวรับเมื่อไหร่ จุดนั้น คือ จุดที่เราควรจะโยนขายหุ้นทิ้งไป เพื่อไม่ให้เราขาดทุนไปมากกว่านี้ อย่างในรูปด้านบนเราจะเห็นว่า พอราคาหุ้นหลุดจากเส้นสีน้ำเงินด้านล่างที่เราตีเป็นแนวรับเอาไว้ ราคาหุ้นก็ร่วงลงทันที ถ้าเราไม่ตัดขาดทุนในช่วงนี้ก็อาจจะทำให้เราขาดทุน และกระทบกับเงินในพอร์ตหุ้นของเราได้
3. Cut Loss โดยการใช้กรอบ Uptrend
การตีกรอบของหุ้นในช่วงขาขึ้น หรือ Uptrend สามารถใช้ประโยชน์ได้คล้ายคลึงกับกรอบแนวรับ และแนวต้าน คือ เอาไว้หาจุดเขาซื้อหุ้นได้, เอาไว้ดูแนวโน้มหุ้นในช่วงนั้น ๆ ได้, เอาไว้ดูการเปลี่ยนแนวโน้มหุ้นได้ และยังสามารถเอาไว้หาจุดตัดขาดทุนได้
ตัวอย่างเช่น จากรูปในตอนแรกหุ้นตัวนี้กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น (Uptrend) ซึ่งถือเป็นช่วงที่เราสามารถเข้าไปเทรด และหากำไรได้ง่ายที่สุด แต่เราก็ยังคงต้องมีความระวังตัว เพราะ หุ้นตัวนั้นอาจจะเจอกับแรงขาย และเปลี่ยนแนวโน้มเมื่อไหร่ก็ได้
การหาจุดตัดขาดทุนจากกรอบ Uptrend คือ เราต้องตัดขาดทุนเมื่อหุ้นตัวนั้นหลุดเส้นด้านล่าง หรือแนวรับของกรอบ Uptrend อย่างจากรูปเราจะเห็นว่าตอนแรกหุ้นตัวนี้ก็ขึ้นมาได้ดี แต่พอหลุดจากเส้นสีน้ำเงินด้านล่าง หรือกรอบล่าง ราคาหุ้นก็ร่วงลงทันที ถ้าเราไม่ตัดขาดทุนในช่วงนี้ก็อาจจะเจ็บหนักได้เลย
4. ตัดขาดทุนจากเส้น EMA
เส้น EMA (Exponential Moving Average) ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือ (Indicator) ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพมาก ๆ ในการตัดขาดทุนโดยวิธีการตัดขาดทุนจากการใช้ EMA สามารถทำได้ 2 ทางด้วยกัน
- EMA เส้นสั้นตัด EMA เส้นยาวลงด้านล่าง
ถ้าสมมติว่าเราซื้อหุ้นตัวหนึ่ง แล้วเราหวังว่ามันจะขึ้น แต่ถ้าเกิดอยู่ดี ๆ หุ้นตัวนั้นมีข่าวร้ายในระยะสั้นเข้ามา ทำให้มีแรงเทขายหุ้น แล้วเส้น EMA เส้นสั้นตัด EMA ยาวเมื่อไหร่ เราก็ควรจะขายหุ้นตัวนั้นออกไปก่อน เพื่อรักษาเงินทุนเราเอาไว้
จากรุปเราจะเห็นว่า ตอนแรกเส้น EMA 5 วัน (เส้นสีน้ำเงิน) ที่ถือเป็นเส้นสั้น ตัดเส้น EMA 50 วัน (เส้นสีเหลือง) ลงด้านล่าง ถึงตรงนี้สำหรับพี่ทุยถือว่ากราฟหุ้นตัวนี้ค่อนข้างเสียทรงแล้ว แต่สำหรับบางคนก็อาจจะมองว่ายังไม่เสียทรงมาก ก็อาจจะยังถือต่อไปได้ไม่ว่ากัน
แต่พอมาถึงตรงที่เส้น EMA 5 วัน (เส้นสีน้ำเงิน) ตัด เส้น EMA 75 วัน (เส้นสีชมพู) ลงด้านล่าง เราควรจะตัดขาดทุนแล้ว เพราะ ยิ่งเส้น EMA จำนวนน้อยตัดลงตรงเส้น EMA มากวันมากเท่าไหร่ โอกาสที่หุ้นตัวนั้นจะปรับตัวลงก็ยิ่งมีมากเท่านั้น และมันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เราจะเห็นว่าถ้าเราไม่ตัดขาดทุนในจังหวะนี้ราคาหุ้นจะยิ่งดิ่งลง จนถึงเส้น EMA 5 วัน ไปตัดเส้น EMA 200 วัน (เส้นสีแดง) เลย ซึ่งถือว่าจะขาดทุนค่อนข้างเยอะ และจะต้องมีคนบอกว่ารู้แบบนี้ขายซะตั้งแต่ตอนนั้นก็ดีแน่นอน
- ตัดขาดทุน เมื่อหลุดเส้น EMA
วิธีนี้จะค่อนข้างง่ายกว่าวิธีแรก คือ วิธีนี้จะตัดขาดทุนเมื่อราคาหุ้นหลุด หรือต่ำกว่าเส้น EMA ที่เราวางไว้ แต่ว่าแต่ละคนก็จะชอบ และใช้เส้น EMA ไม่เหมือนกัน เช่น บางคนเทรดหุ้นระยะสั้นก็อาจจะใช้เส้น EMA 5 วัน, บางคนเทรดหุ้นระยะกลางก็อาจจะใช้เส้น EMA 50 วัน หรือ 75 วัน ส่วนคนไหนที่เทรดหุ้นระยะยาวก็อาจจะใช้เส้น EMA 200 วัน ก็ได้
จริง ๆ แล้วพี่ทุยเชื่อว่าไม่มีใครชอบ และอยากที่จะตัดขาดทุนหุ้นหรอก เพราะ นั่นหมายถึงเราขาดทุน หรือบางคนอาจจะคิดว่านั่น หมายความว่าเราแพ้ แต่พี่ทุยจะบอกว่าการตัดขาดทุนหุ้นไม่ใช่เรื่องผิด และอยากให้ทุกคนเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องที่ดีด้วยซ้ำ เพราะ ทุก ๆ กัน “การตัดขาดทุน” มันทำให้เราได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น และทำให้เราเป็นคนวินัยมากขึ้นนั่นเอง..
เปิดบัญชีกับ LH Securities วันนี้ เรียนฟรีคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์
สำหรับใครที่กำลังมองหาที่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นอยู่ พี่ทุยแนะนำให้เปิดบัญชีกับทาง LH Securities ผู้สนับสนุนหลักของ ซีรีส์ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน
เพราะทั้งสะดวก และให้บริการครบ สามารถจบในที่เดียวได้ ตั้งแต่เปิดบัญชี การสมัครบริการตัดเงินบัญชีอัตโนมัติ ไปจนถึงวางหลักประกัน LH Securities ก็มีให้บริการ และที่สำคัญคือสามารถทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกและง่ายมาก ๆ
สนใจเปิดบัญชีกับ LH Securities พร้อมดูขั้นตอนแบบละเอียด สามารถทำตามได้แบบ Step by Step คลิกที่นี่เลย
ยังไม่หมดแค่นี้ ! เปิดพอร์ตกับทาง LH Securities ตอนนี้รับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์กันแบบฟรี ๆ กับ “คุณเคน – จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร , CFP ®” ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo ของเรา ที่จะมาพาจับมือเทรดกันตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 ให้ โดยจะเน้นที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) วิเคราะห์กราฟกันแบบมันส์ ๆ พร้อมลุยตลาดจริงกันเลย
อ่าน EP ต่อไป
ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้
ติดตามซีรีส์การเงิน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่