Dow Theory จุดเริ่มต้นสำคัญของการใช้กราฟ | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP17

Dow Theory จุดเริ่มต้นสำคัญของการใช้กราฟ | ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน EP17

5 min read  

ฉบับย่อ

  • Dow Theory เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่สำคัญมากที่สุดของการลงทุนแบบ Technical โดยทฤษฎีนี้จะเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เราสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ในอนาคต
  • Dow Theory มีหลักการสำคัญ 6 ข้อด้วยกัน คือ 1. ตลาด หรือราคาหุ้นได้ดูดซับข้อมูลไปหมดแล้ว 2. แนวโน้มของราคาหุ้นจะมีทั้งหมด 3 แนวโน้มด้วยกัน 3. ในแต่ละแนวโน้มจะมีช่วงสำคัญอยู่ 3 ช่วง 4. ทุกอย่างล้วนสอดคล้องกัน 5. ปริมาณ (Volume) ต้องสัมพันธ์กับแนวโน้ม และ 6. แนวโน้มจะเป็นไปแบบต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกว่ามีสัญญาณเปลี่ยนเทรนด์ที่ชัดเจน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ซีรีส์การเงินในตอนนี้พี่ทุยจะพาทุกคนไปรู้จักกับ ทฤษฎีดาว หรือ Dow Theory” ที่ถือเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่สำคัญมากที่สุดของการลงทุนแบบเทคนิค (Technical) โดยทฤษฎีนี้จะเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เราสามารถเอาไปประยุกต์ และต่อยอดไปใช้ในสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น ใครที่เป็นนักลงทุนสายเทคนิค (Technical) ก็ควรที่จะรู้จักกับ Dow Theory 

Dow Theory คืออะไร ?

ทฤษฎีดาว หรือ Dow Theory ได้ถูกคิดค้นโดย Charles Henry Dow มากว่า 100 ปีที่แล้ว ซึ่งทฤษฎีได้กล่าวถึง หลักการที่สำคัญของการใช้ Technical เอาไว้ 6 ข้อด้วยกัน คือ

1. ตลาดได้ดูดซับข่าวสาร, เหตุการณ์ทางการเงิน และเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และสะท้อนไปในราคาทั้งหมดแล้ว

นักลงทุนสายเทคนิค (Technical) มีความเชื่อว่า กราฟ หรือ ราคาหุ้น ได้สะท้อนข่าวทุกอย่างไปเรียบร้อยแล้ว (ทั้งข่าวดีและข่าวร้าย) ซึ่งมันก็ค่อนข้างจะเป็นจริงตามนั้น 

ตัวอย่าง

เราได้เห็นว่างบการเงินไตรมาสนี้ของหุ้น A ออกมาค่อนข้างดี กำไรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมาก แต่พอเรามาดูที่กราฟหุ้น A เรากลับเห็นว่าราคาหุ้น A ขึ้นมาตลอดทั้งสัปดาห์แล้ว ถ้าเราเผลอไปเข้าซื้อหุ้น A เพราะ ข่าวเรื่องงบการเงินก็อาจจะทำให้เราขาดทุนได้

ในทางกลับกัน บางครั้งเราก็เห็นว่า งบการเงินของบางบริษัทออกมาไม่ค่อยสู้ดีนัก แต่หลังจากประกาศงบราคาหุ้นกลับขึ้นเอา ๆ นั่นก็เพราะ ราคาหุ้นได้รับข่าวร้ายไปหมดแล้วนั่นเอง แบบนี้แหละที่เข้าหลักที่ว่า “ข่าวร้ายให้ซื้อ ข่าวดีมาให้ขาย”

2. แนวโน้มของราคาหุ้นจะมีทั้งหมด 3 แนวโน้มด้วยกัน 

แนวโน้ม (Trend) จะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักด้วยกัน คือ 

  • แนวโน้มหลัก คือ แนวโน้มที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป
  • แนวโน้มรอง คือ แนวโน้มที่มีระยะเวลา 3 สัปดาห์ ถึง 3เดือน
  • แนวโน้มย่อย คือ แนวโน้มที่มีระยะเวลา 2-3 สัปดาห์

ซึ่งแนวโน้มหลัก, แนวโน้มรอง และ แนวโน้มย่อย จะมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend), แนวโน้มขาลง (Downtrend) และ แนวโน้มออกทางด้านข้าง (Sideway)

วิธีดูแนวโน้ม (Trend) สามารถทำได้ตามนี้เลย

  • แนวโน้มขาขึ้น มีวิธีดู คือ ทั้งจุดสูงใหม่ (New High) และ จุดต่ำใหม่ (New Low) จะต้องอยู่สูงกว่าจุดสูงเและจุดต่ำที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น 
  • ส่วนแนวโน้มขาลงจะตรงข้ามกับแนวโน้มขาขึ้น คือ ทั้งจุดสูงใหม่และจุดต่ำใหม่จะอยู่ต่ำกว่า จุดสูงและจุดต่ำที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น
  • และสุดท้าย แนวโน้มออกข้าง หรือ Sideway คือ แนวโน้มที่ยังไม่ชัดเจน หรือ พูดง่าย ๆ แท่งกราฟแต่ละแท่ง หรือระดับราคาค่อนข้างคงที่นั่นเอง

แนวโน้มขาขึ้น

จากรูปเราจะเห็นว่าราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดซึ่งแนวโน้มหลัก หรือแนวโน้มใหญ่ในรูปนี้ ก็คือ ขาขึ้น (Uptrend) และมีแนวโน้มรองเป็นขาลง (ตามลูกศร) ซึ่งส่วนตัวพี่ทุยแนะนำให้เราเทรดหุ้นในช่วงที่หุ้นตัวนั้นมีแนวโน้มหลักเป็นขาขึ้น เพราะจะปลอดภัย และมีโอกาสได้กำไรสูงกว่า 

Downtrend Dow Theory

ตรงกันข้ามจากรูปนี้มีแนวโน้มขาลง (Downtrend) เป็นแนวโน้มหลัก แต่ในแนวโน้มหลักก็จะมีแนวโน้มรองในที่นี้ก็คือ แนวโน้มขาขึ้น (ตามลูกศร) ส่วนตัวพี่ทุยจะไม่แนะนำให้เราเทรดหุ้นในช่วงที่มีแนวโน้มหลักเป็นขาลง เพราะมีโอกาสขาดทุนที่ค่อนข้างสูง

3. ในแต่ละแนวโน้มจะมีช่วงสำคัญอยู่ 3 ช่วง

  • ช่วงที่ 1 ช่วงสะสม หรือ ช่วงเก็บของ 

ช่วงนี้เป็นช่วงของคนที่มองเห็นโอกาสเท่านั้นถึงจะได้หุ้นไป โดยคนที่เข้าซื้อหุ้นในช่วงนี้อาจจะมองเห็นว่า หุ้นตัวนี้ได้รับข่าวร้าย และราคาหุ้นก็ได้ซึมซับข่าวไปทั้งหมดแล้วต่อจากนี้น่าจะไม่มีประเด็นร้าย ๆ อะไรมารบกวน หรือทำให้ราคาหุ้นตกลงไปได้กว่านี้อีก และมองว่าราคาหุ้นตัวนี้น่าจะเติบโต หรือมีประเด็นอะไรที่รออยู่ โดยส่วนใหญ่คนที่ได้ของ หรือซื้อหุ้นในช่วงนี้จะมักจะเป็นนักลงทุนสายพื้นฐาน (VI) เพราะ อาจเห็นว่าราคาหุ้นต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม (Fair Price) ค่อนข้างมาก และมี Upside หรือ ระยะห่างระหว่างราคาหุ้น ณ ตอนนี้กับ Fair Price ค่อนข้างมาก 

นักลงทุนสายเทคนิค (Technical) มักจะยังไม่ซื้อหุ้นในช่วงนี้ เพราะ แนวโน้มของราคายังไม่ชัดเจน แต่ถ้านักลงทุนสายเทคนิคเขาเกิดเห็นสัญญาณอะไรบางอย่างในทางเทคนิคก็อาจจะตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นในช่วงนี้ได้เช่นกัน

  • ช่วงที่ 2 ช่วงที่ราคาพุ่งขึ้น 

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ราคาหุ้น หรือ แนวโน้มเป็นขาขึ้นแบบชัดเจน โดยส่วนมากแล้วนักลงทุนสายเทคนิคมักจะเข้าซื้อหุ้นในช่วงนี้ เพราะ เป็นช่วงที่ทุกอย่างมันชัดเจนแล้ว ถึงราคาจะแพงไปสักหน่อย แต่ก็ยังดีกว่าเราไปซื้อตอนที่เรายังมองแนวโน้มไม่ออก และอาจจะเสี่ยงขาดทุนได้ 

  • ช่วงที่ 3 ช่วงหุ้นเลิกเล่น หรือช่วงแจกของ 

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ราคาหุ้นพุ่งขึ้นมาถึงขีดสุด เพราะ เป็นช่วงที่นักลงทุนในตลาดเห็นหุ้นตัวนี้ และเริ่มเข้ามาซื้อกันเยอะมากขึ้นเรื่อย ๆ และช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่หุ้น หรือบริษัทนั้นมีข่าวดีออกมาเต็มไปหมด ซึ่งถือเป็นช่วงที่ระวังตัวพอสมควร เพราะ มันจะไปตรงกับหลักข้อ 1 ที่ว่า “ข่าวร้ายให้ซื้อ ข่าวดีให้ขาย”

ดังนั้น การเข้าซื้อหุ้นในช่วงนี้ก็มีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน เพราะ ถ้าเราตัดสินใจซื้อช้าเกินไปหุ้นตัวนั้นก็อาจจะเลิกเล่นไปแล้ว และจะทำให้เรา “ติดดอย” หรือขาดทุนได้นั่นเอง 

4. ทุกอย่างสอดคล้องกัน

ความสอดคล้องในที่นี้มาจาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  • ค่าเฉลี่ยของตลาด เช่น SET Index, SET100, SET50, และ MAI
  • ค่าเฉลี่ยของแต่ละอุตสาหกรรม

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเห็นว่า SET Index เป็นขาขึ้น SET100 เป็นขาขึ้น และ อุตสาหกรรมค้าปลีกเป็นขาขึ้น ดังนั้น หุ้น CPALL ที่อยู่ในอุตสาหกรรมค้าปลีกก็มีโอกาสที่จะเป็นขาขึ้นเช่นกัน

5. ปริมาณ (Volume) ต้องสัมพันธ์กับแนวโน้ม

ข้อนี้ หมายถึงถ้าหุ้นเป็นแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) ปริมาณซื้อ (Volume) ก็ควรไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้ม คือ ปริมาณซื้อหุ้นตัวนั้นควรที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามราคาที่เพิ่มขึ้น หรือถ้าหุ้นเป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend) แล้วปริมาณขายหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แบบนี้ถือ ว่าแนวโน้มและปริมาณสอดคล้องกัน และแปลว่า “ราคาหุ้นลงจริง” 

แต่ ถ้าตอนนั้นหุ้นตัวนั้นเป็นแนวโน้มขาขึ้น แล้วปริมาณการซื้อลดลงเรื่อย ๆ ตามราคาที่เพิ่มขึ้นอันนี้ถือว่าหุ้นขึ้นไม่จริง หรือพูดง่าย ๆ คือ “ขึ้นเพื่อลงต่อ” และ ถ้าหุ้นเป็นแนวโน้มขาลง แต่ปริมาณการขายลดลงตามราคาที่ลดลงแสดงว่าหุ้นตัวนี้ไม่ได้ลงจริง หรือ พูดง่าย ๆ  คือ “ลงเพื่อขึ้นต่อ” นั่นเอง  

ตัวอย่าง 

วันที่                 ชื่อหุ้น              ราคาปิด              ปริมาณ

01/04/64           A                     15.00               1,000,000
02/04/64                                  15.10                1,200,000
03/04/64                                  15.30                2,100,000

จากตัวอย่างข้างบน เราจะเห็นว่าตอนนี้หุ้น A มีราคาปิดสูงขึ้นเรื่อย ๆ และปริมาณการซื้อก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามราคาที่เพิ่มขึ้น แสดงว่า การปรับตัวขึ้นของหุ้น A เป็นแนวโน้มขาขึ้นอย่างแท้จริง

ตัวอย่าง

วันที่                 ชื่อหุ้น              ราคาปิด              ปริมาณ

01/04/64           A                     15.00               2,100,000
02/04/64                                  15.10                1,200,000
03/04/64                                  15.30               1,000,000

จากตัวอย่างนี้เราจะเห็นว่า ราคาหุ้น A ค่อย ๆ ปรับขึ้น แต่ปริมาณการซื้อกลับสวนทางกับราคา คือ ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการซื้อกลับลดลง เถ้าเราเจอแบบนี้แสดงว่า หุ้น A ไม่ได้เป็นขาขึ้นที่แท้จริง 

ตัวอย่าง 

วันที่                 ชื่อหุ้น              ราคาปิด              ปริมาณ

01/04/64           A                    15.00               1,000,000
02/04/64                                 14.90               1,200,000
03/04/64                                 14.90               2,100,000

จากตัวอย่างนี้เราจะเห็นว่า ราคาหุ้น A ปรับตัวลดลงเรื่อย ๆ แต่จะเป็นขาลงจริง ๆ หรือเปล่าเราต้องไปดูกันที่ปริมาณการขาย (Volume) เราจะเห็นว่า ปริมาณการขายหุ้นมากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามราคาที่ลดลง ถ้าเราคิดแบบง่าย ๆ แบบไม่ต้องอิงทฤษฎีว่า ขนาดราคาหุ้นลงมาเยอะแล้วปริมาณการขายก็ยังเยอะอยู่แสดงว่า ในช่วงนั้นคนไม่ต้องการหุ้นตัวนี้จริง ๆ ถ้าเป็นแบบนี้ก็แสดงว่า ตอนนี้หุ้น A เป็นช่วงขาลงจริง ๆ

ตัวอย่าง 

วันที่                  ชื่อหุ้น              ราคาปิด              ปริมาณ

01/04/64            A                   15.00               2,100,000
02/04/64                                 14.90               1,200,000
03/04/64                                 14.50               1,000,000

จากตัวอย่างเราจะเห็นว่า ราคาหุ้น A ลดลงเรื่อย ๆ แต่พอมาดูที่ปริมาณการขายจะเห็นว่า ปริมาณการขายหุ้น A ลดลง ตามราคาที่ลดลง แสดงว่า แรงขายเริ่มหมดแล้ว และมีแนวโน้มว่าหุ้น A จะไม่ได้เป็นแนวโน้มขาลงจริง ๆ แต่อาจเป็นการลงเพื่อขึ้นต่อ เพราะฉะนั้น ถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้เราก็อาจจะค่อย ๆ หาจังหวะเข้าซื้อหุ้น A หรือ ใครจะรอให้หุ้นเด้งกลับมาก่อนก็ไม่ว่ากัน แล้วเอาไปขายที่ราคาสูงกว่าก็สามารถทำกำไรได้แล้ว 

6. แนวโน้มจะเป็นไปแบบต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกว่ามีสัญญาณเปลี่ยนเทรนด์ที่ชัดเจน

ราคาหุ้นจะเป็นแนวโน้มต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกว่ามีสัญญาณบ่งบอกชัดเจนว่า ราคาหุ้นมีการเปลี่ยนแนวโน้ม เช่น ราคาหุ้น A มีแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) มาโดยตลอด แต่ล่าสุดมีแรงขายปริมาณมากมา 2 วันติดกัน และราคาหุ้นไม่ทำจุดสูงใหม่ (New High) แถมกลับทำจุดต่ำใหม่ (New Low) แบบนี้ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) ได้จบลงแล้ว และกำลังจะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend)

ส่วนตัวพี่ทุยมองว่าแนวคิดสำคัญของข้อนี้ คือ เราควรให้ความสำคัญกับแนวโน้ม (Trend) มากกว่า ราคาหุ้น (Price) หมายความว่า ถึงแม้เราจะเห็นว่า ตอนนี้ราคาหุ้นค่อนข้างสูงแล้ว แต่ถ้ามันยังเป็นแนวโน้มขาขึ้นอยู่ราคาหุ้นก็ยังมีโอกาสขึ้นต่อไปได้เรื่อย ๆ  

และนี่ก็คือ แก่นความรู้ทั้งหมดของ ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ที่เป็นทฤษฎีพื้นฐานของการลงทุนแบบเทคนิค (Technical) หลังจากที่ทุกคนได้เรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับ Dow Theory ไปแล้ว ซีรีส์การเงินในตอนต่อไปพี่ทุยจะพาทุกคนไปเจาะลึกในรายละเอียดของการลงทุนแบบเทคนิคกันต่อรับรองว่า ใครที่เป็นนักลงทุนสายเทคนิคจะต้องชอบกันอย่างแน่นอน..

เปิดบัญชีกับ LH Securities วันนี้ เรียนฟรีคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้และก้าวสู่การเป็นนักลงทุนสายเทคนิคเร็ว ๆ แนะนำให้เปิดพอร์ตกับทาง LH Securities ตอนนี้ เพื่อรับสิทธิ์เข้าเรียนคอร์สเทรดหุ้นออนไลน์กันแบบฟรี ๆ กับ “คุณเคน – จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร , CFP ®” ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo ของเรา ที่จะมาพาจับมือเทรดกันตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 ให้ โดยจะเน้นที่การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) วิเคราะห์กราฟกันแบบมันส์ ๆ พร้อมลุยตลาดจริงกันเลย

และที่พี่ทุยแนะนำให้เปิดบัญชีกับทาง LH Securities ผู้สนับสนุนหลักของ ซีรีส์ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน นั่นก็เพราะที่นี่ทั้งสะดวก และให้บริการครบ สามารถจบในที่เดียวได้ ตั้งแต่เปิดบัญชี การสมัครบริการตัดเงินบัญชีอัตโนมัติ ไปจนถึงวางหลักประกัน  LH Securities ก็มีให้บริการ และที่สำคัญคือสามารถทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกและง่ายมาก ๆ

สนใจเปิดบัญชีกับ LH Securities พร้อมดูขั้นตอนแบบละเอียด สามารถทำตามได้แบบ Step by Step คลิกที่นี่เลย

banner LH

banner

อ่าน EP ต่อไป

ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้

ติดตามซีรีส์การเงิน “ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน” ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย