เลือกกองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนรวมตราสารหนี้ กองไหนดี ?

วิธีเลือกกองทุนตราสารหนี้ และ กองทุนตลาดเงิน กองไหนดี ? | ซีรีส์กองทุน EP5

3 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • การเปรียบเทียบกองทุนรวมควรเทียบจากกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนใกล้เคียงกัน
  • การเลือกกองทุนรวมที่สะดวกสบาย สามารถเข้าเว็บไซต์ www.morningstarthailand.com ที่มีการรวบรวมข้อมูลกองทุนรวมได้อย่างครบถ้วน และมีฟังก์ชั่นในการเปรียบเทียบอย่างละเอียด ครบถ้วน และใช้งานง่าย โดยสามารถเลือกจาก Morningstar Rating ได้ โดยแนะนำให้เลือกกองทุนที่มีระดับ 4-5 ดาว
  • กองทุนรวมตลาดเงินและตราสารหนี้ที่ดี ต้องจะมีผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอ มี Duration และค่าธรรมเนียมกองทุนที่เหมาะสม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

หลังจากที่เรารู้จัก “กองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนตราสารหนี้” ไปแล้ว ใน EP นี้ พี่ทุยพามาดูกันว่า ถ้าหากเราอยากเลือกลงทุนจะมี วิธีเลือกกองทุนตราสารหนี้ กองทุนรวมตลาดเงินอย่างไรบ้าง โดยใน EP นี้เราจะเน้นเฉพาะกองทุนตลาดเงินและตราสารหนี้ในประเทศ

วิธีเลือกกองทุนตราสารหนี้ และ กองทุนตลาดเงิน กองไหนดี ?

ก่อนจะไปลงลึกกันว่าต้องคัดเลือกจากอะไรบ้าง พี่ทุยอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักเว็บไซต์หนึ่งที่ชื่อว่า www.morningstarthailand.com เว็บไซต์นี้จะมีการรวบรวมข้อมูลของกองทุนที่นอกเหนือจากรายละเอียดในหนังสือชี้ชวนของกองทุนนั้น ๆ

โดยในซีรีส์นี้ เราจะใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการคัดเลือกและเจาะลึกกองทุนเป็นหลักเลย

วิธีเลือกกองทุนตราสารหนี้ และ กองทุนตลาดเงิน กองไหนดี ?

1. วิธีเลือกกองทุนตราสารหนี้ และ กองทุนตลาดเงิน ผ่านเว็บไซต์ Morningstar

ก่อนที่พี่ทุยจะมาไปดูขั้นตอนการเลือกกองทุน เรื่องแรกที่อยากให้ทุกคนระวังก่อนเลยก็คือ เวลาที่จะเปรียบเทียบหรือคัดเลือกกองทุนรวม เราต้องนำกองทุนรวมที่อยู่ประเภทเดียวกันมาเปรียบเทียบกันเท่านั้น ไม่สามารถเปรียบเทียบข้ามประเภทกองทุนได้ และนอกจากอยู่ในกองทุนรวมประเภทเดียวกันแล้ว การเปรียบเทียบที่ดีควรจะต้องเลือกกองทุนที่มี “นโยบายการลงทุน” ที่ใกล้เคียงกันด้วย

โดยที่เราสามารถเข้าที่ฟังก์ชั่น “เครื่องมือ ค้นหากองทุน” ในหน้าแรกของเว็บไซต์ หรือคลิกได้เลยที่นี่

เมื่อเราเข้าไปดูแล้ว ก็ไปดูที่ช่อง “ประเภทกองทุนแบ่งตาม AIMC” ซึ่งเป็นการแบ่งประเภทตามสมาคมบริษัทจัดการลงทุนของไทย และให้เลือกประเภทกองทุนที่อยากเปรียบเทียบสำหรับกองทุนรวมตลาดเงินและตราสารหนี้ระยะเวลาต่าง ๆ จะมีวิธีการคัดเลือกที่ใกล้เคียงกัน

ในกรณีนี้เรามาดูที่ “Long Term General Bond” หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาวในไทยกันก่อน

วิธีเลือกกองทุนตราสารหนี้

จากนั้นคลิกที่คำว่า Morningstar Rating 1 ครั้ง เพื่อจัดเรียงกองทุนตาม Morningstar Rating โดยจะมีการแบ่งคุณภาพของกองทุนออกเป็น 6 ระดับ ตั้งแต่ไม่มีการจัดอันดับ ไปจนถึง 1 ดาว และ 5 ดาว ยิ่งมีดาวมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งการันตีคุณภาพว่าในอดีตกองทุนนี้มีผลการดำเนินงานที่น่าสนใจอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกัน และมีอายุกองทุนตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป

ซึ่งสามารถดูวิธีการจัดอันดับของ Morningstar สามารถคลิกได้เลยที่นี่

ทำไมถึงใช้ Morningstar Rating เป็น 1 ใน วิธีเลือกกองทุนตราสารหนี้  – ดียังไง ? 

การใช้ Morningstar Rating จะช่วยทำให้ประหยัดเวลาและช่วยคัดกรองกองทุนที่มีผลการดำเนินงานที่ดีในช่วงที่ผ่านมาได้ ในกรณีของกองทุนประเภท “Long Term General Bond” ณ วันที่ 8 มีนาคม 2023 จะมีเพียงกองเดียวที่ได้ 4 ดาวจาก Morningstar (จากรูปก่อนหน้านี้) โดยเราสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของกองทุนเพื่อทำความเข้าใจกองทุนเพิ่มเติมได้เลย 

ทีนี้ถ้าเราลองเปลี่ยนมาเลือกดูกองทุนประเภท “Mid Term General Bond” จะเห็นได้ว่ามีกองทุนที่ได้ 4-5 ดาวหลากหลายกองทุน เบื้องต้นเราสามารถเลือกดูที่ “ผลตอบแทน” ในแต่ละช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี เพื่อดูความสม่ำเสมอของผลตอบแทนของแต่ละกองทุนเพิ่มเติมได้ โดยทั่วไปกองทุนไหนที่มีความสม่ำเสมอมากกว่าก็จะมีความน่าสนใจมากกว่านั่นเอง

(แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนนั้น ๆ จะดี ก็ไม่ได้แปลว่าจะการันตีว่ามีผลตอบแทนในอนาคตที่ดีเหมือนในอดีต)

เลือกกองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนรวมตราสารหนี้ กองไหนดี ?

2. Duration อีกตัวเลขที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการลงทุน กองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนรวมตราสารหนี้

ถ้าหากมีเรากองทุนรวมตลาดเงินและตราสารหนี้ที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก พี่ทุยแนะนำว่าให้ดูอีกหนึ่งตัวเลขประกอบก็คือ Duration ที่เราเรียนรู้กันไปใน EP4 ซึ่งสิ่งที่พี่ทุยแนะนำ คือ ให้เลือกกองทุนที่มี Duration ที่สั้นกว่า นั่นแปลว่ามีสภาพคล่องที่ต่ำกว่านั่นเอง โดยตัวเลขของ Duration เราสามารถเข้าไปที่ได้ Fund Fact Sheet ของแต่ละกองทุนที่สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์โดยตรงของ บลจ. เลย

3. ค่าธรรมเนียมและขนาดของกองทุน คือ สิ่งที่ห้ามมองข้าม

อีกหนึ่งข้อที่เป็นปัญหาของนักลงทุนหลายคน นั่นก็คือ เมื่อเราเจอกองทุนที่มี “ระยะเวลา (Duration)” ที่ใกล้เคียงกัน โดยไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ พี่ทุยแนะนำว่าให้ดูที่ค่าธรรมเนียมและขนาดของกองทุน ซึ่งค่าธรรมเนียมควรจะเป็นค่าธรรมที่เรียกเก็บต่ำกว่า ส่วนเรื่องของขนาดกองทุนก็ควรเลือกขนาดกองทุนที่ใหญ่กว่าเสมอ

หลังจากที่เราเลือกกองทุนที่น่าสนใจแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายพี่ทุยแนะนำว่าอย่าลืมทำความเข้าใจถึงนโยบายการลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต รวมไปจนถึงความเสี่ยง ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะมีอยู่ใน Fund Fact Sheet ทั้งหมดนั่นเอง

 

อ่าน EP ต่อไป

ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้

ติดตามซีรีส์กองทุน เลือกลงทุนง่ายนิดเดียว ตอนอื่น ๆ ได้ที่นี่

ขอขอบคุณทาง บลจ.ยูโอบี (UOBAM) ที่เข้ามาสนับสนุนการให้ความรู้ผ่าน “ซีรีส์กองทุน เลือกลงทุน ง่ายนิดเดียว” ในครั้งนี้

สำหรับใครที่สนใจอยากเริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนรวมตราสารหนี้ ทาง UOBAM มีกองทุนที่น่าสนใจให้เลือกลงทุนหลากหลายนโยบายการลงทุน

สำหรับกองทุนรวมตลาดเงิน สามารถเข้าไปได้ที่นี่  โดยกองทุนที่น่าสนใจก็อย่างเช่น “กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ (TCMF)” ที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ โดยจะลงทุนในตราสารภาครัฐ และ/หรือภาครัฐวิสาหกิจ ที่มีความมั่นคงและสภาพคล่องสูงเป็นหลัก

และสำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้อีกหนึ่งกองทุนน่าสนใจจากทาง UOBAM ก็คือ “กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ หน่วยลงทุนชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (UGIS-A)” ที่ลงทุนใน PIMCO GIS Income Fund (Class I) ซึ่งเป็นกองทุนหลัก ที่มีหลักการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก ที่สามารถทำผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกัน พร้อมได้รับ Rating 4 ดาว จาก Morningstar (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2566) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ส่วนเรื่องการซื้อขายสามารถทำได้สะดวก ผ่านช่องทางออนไลน์ในแอปฯ “UOBAM Invest Thailand”
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.uobam.co.th
ติดต่อฝ่ายบริการนักลงทุน โทร. 02-786-2222 หรือติดต่อตัวแทนจำหน่ายที่ บลจ. แต่งตั้ง 

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

การลงทุนใน TCMF มิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน แม้ว่ากองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้เฉพาะทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้

การลงทุนใน UGIS มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ได้รับเงินคืนตํ่ากว่าเงินลงทุนเริ่มแรก โดยมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile