หลังจากที่เรารู้จัก SSF กันไปแล้ว ใน EP. นี้เดี๋ยวเรามาดูกันดีกว่าว่า วิธีคัดเลือกกองทุน SSF จะมีเทคนิคการคัดเลือกอย่างไรบ้าง จะเหมือนหรือแตกต่างจากการคัดเลือกกองทุนปกติอย่างไรบ้าง
ต้องรู้ก่อนว่า เราต้องการ SSF ที่มีนโยบายการลงทุนแบบไหน
ด้วยนโยบายการลงทุนของ SSF ไม่ได้มีข้อจำกัดให้ลงทุนสินทรัพย์ใด สินทรัพย์หนึ่งเป็นพิเศษ ดังนั้นเราต้องกลับมาที่พื้นฐานการเลือกกองทุนก่อนเลยว่า เราอยากลงทุนสินทรัพย์อะไร ซึ่ง ณ ปัจจุบันตอนนี้ก็เริ่มมี SSF ให้เลือกลงทุนแทบจะครบทุกประเภทสินทรัพย์แล้ว
วิธีคัดเลือกกองทุน SSF
ซึ่งกฎเหล็กสำหรับการเลือก SSF เพื่อลงทุนก็คือเราจะเปรียบเทียบเฉพาะกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันเท่านั้น ห้ามเปรียบเทียบข้ามประเภทเด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนและความเข้าใจผิดได้
สำหรับตัวอย่างในวันนี้จะขอยกตัวอย่างเป็น SSF ที่เน้นลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นหลัก ขั้นตอนแรกเราจะเข้าที่ www.morningstarthailand.com เช่นเคย
ซึ่งวิธีการคัดเลือกจะคล้ายกับการคัดเลือกกองทุนรวมแบบทั่วไปโดยจะไปที่ฟังก์ชัน “ประเภทกองทุนแบ่งตาม AIMC” และเลือก “Equity General” แต่สำหรับการเลือก SSF สิ่งหนึ่งที่เพิ่มมาก็คือเราต้องไปที่ฟังก์ชัน “กองทุนประหยัดภาษี” และเลือก SSF เพิ่มเติมเข้าไปด้วยเพื่อเป็นคัดกรองเฉพาะกองทุน SSF ที่มีนโยบายการลงทุนแบบ “Equity General” เท่านั้น
จากนั้นคลิกที่ คำว่า Morningstar Rating เพื่อให้จัดเรียงกองทุนตาม Morningstar Rating ยิ่งได้รับดาวที่สูงยิ่งแปลว่าผลดำเนินการในอดีตทำได้น่าสนใจ โดยแนะนำว่าให้เลือกโฟกัสที่กองทุนที่มี 4 -5 ดาว Morningstar Rating เป็นหลัก
แต่ต้องย้ำกับทุกคนอีกครั้งก่อนว่า Morningstar Rating จะเป็นการประเมินจากข้อมูลในอดีตเท่านั้น ไม่ได้บอกถึงอนาคต แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้เราสบายใจได้ว่าในอดีตกองทุนรวมนี้ฝีมือใช้ได้เมื่อเทียบกับกองทุนรวมอื่นๆ ซึ่งเราสามารถดูวิธีการจัดอันดับของ Morningstar ได้ที่นี่ คลิก
ซึ่งจากการเรียงลำดับเราจะเป็นว่าผลการค้นหาออกมาทั้งหมด 10 กองทุน (ณ วันที่ 19 ต.ค. 2566) เท่านั้น แต่เราจะเห็นว่ามีทั้งกองทุนที่เป็น SSF และ SSFX เท่านั้น ซึ่งสำหรับ SSFX เป็น SSFX ประเภทที่พิเศษที่ถูกจัดตั้งมาให้ลดหย่อนภาษีพิเศษในช่วงปี 2563 เท่านั้นดังนั้นเราจะโฟกัสเฉพาะกองทุนที่เป็น SSF เท่านั้นซึ่งก็จะเลือกเพียง 7 กองทุนเท่านั้น
จากนั้นให้เปลี่ยนมาเลือกทีหัวข้อ “ความเสี่ยง” แนะนำว่าให้ดูที่ “Sharpe 3 ปี” หรือ Sharpe Ratio เฉลี่ย 3 ปี
อ่านเพิ่ม
หลักการใช้งาน Sharpe Ratio ก็ง่ายมาก ๆ ก็คือกองทุนที่มี Sharpe Ratio ที่สูงกว่าแปลว่ามีผลตอบแทนต่อหนึ่งหน่วยความเสี่ยงที่ดีกว่า ซึ่งจะมีน่าสนใจมากว่ากองทุนที่มี Sharpe Ratio ต่ำกว่านั่นเอง แต่ในกรณี Sharpe Ratio ออกมาใกล้เคียงกันแนะนำว่าเลือกดูที่ “ค่าธรรมเนียม” ต่อไป กองทุนไหนมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าก็จะมีความน่าสนใจมากกว่า
หลังจากที่เราเลือกกองทุนที่น่าสนใจได้แล้วขั้นตอนสุดท้าย เน้นย้ำอีกครั้งว่าต้องไปอ่าน Fund Fact Sheet ของกองทุนรวมทุกครั้งเพื่อให้เห็นรายละเอียดของกองทุนทั้งหมดก่อนที่เราจะตัดสินใจเข้าลงทุนจริง
จะเห็นว่าหลักการเลือก SSF มีความคล้ายคลึงกับการเลือกกองทุนแบบหุ้นเช่นกัน และแน่นอนว่าถ้าหากเราเปลี่ยนนโยบายการลงทุนไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เราก็จะใช้วิธีการคัดเลือกที่เหมือนกับกองทุนทั่วไป แต่จะเพิ่มเติมก็คือการเลือก “กองทุนประหยัดภาษี” และเลือก SSF ทุกครั้ง
สำหรับเรื่องลดหย่อนภาษี นอกจาก SSF แล้วยังมีกองทุนอีกหนึ่งประเภทที่เราสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้นั่นก็คือ RMF ใน EP. ถัดไปเราจะมาทำความรู้ RMF ให้มากขึ้นกัน
ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้
อ่าน EP ต่อไป