ในที่สุดเราก็เดินทางกันมาจนถึง EP. สุดท้ายใน “ซีรีส์กองทุน เลือกลงทุนง่ายนิดเดียว” เชื่อว่าคนน่าจะเห็นภาพและเข้าใจว่ากองทุนรวมคืออะไร มีกี่ประเภท แล้วถ้าเราอยากเลือกกองทุนจะกองทุนหนึ่งจะเลือกลงทุนได้อย่างไรบ้าง ใน EP. นี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องการจัดพอร์ตกองทุนรวมกัน ว่าเราจะสามารถ จัดพอร์ตกองทุนอย่างไร เพื่อให้สามารถตอบโจทย์และเป้าหมายชีวิตที่เราต้องการได้
จัดพอร์ตกองทุน 1 พอร์ตต่อ 1 เป้าหมายเสมอ
ก่อนที่จะลงทุนทุกครั้ง เราต้องรู้ “เป้าหมาย” ที่ชัดเจนของตัวเราก่อนเสมอว่าเรามีเป้าหมายในการลงทุนเป็นอย่างไร เพราะเป้าหมายที่ต่างกัน วิธีในการเดินทางสู่เป้าหมายก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็สามารถแบ่งเป้าหมายออกมาเป็น 3 ระยะหลัก
1. ระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี)
เช่นเป้าหมายเก็บเงินเพื่อสภาพคล่อง, ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือเงินกำลังเตรียมไปเที่ยวในช่วงปีใหม่ที่กำลังจะถึง
การลงทุนก็ควรจะเป็นเน้นสภาพคล่อง รักษาเงินต้นเป็นหลัก อย่างพวกตลาดเงิน เงินฝากออมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ หรือตราสารหนี่ระยะสั้นเป็นหลัก ไม่ควรนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงในสัดส่วนที่สูงมากจนเกินไปเพราะอย่างที่ต้องรู้ว่าในช่วงเวลาสั้น ๆ สินทรัพย์ความสูงอาจจะมีความผันผวนและอาจจะทำให้ขาดทุนอย่างมหาศาลในระยะสั้นได้
2. ระยะกลาง (1 ปี – 5 ปี)
เช่นเป้าหมายเตรียมเก็บเงินดาวน์รถ, ดาวน์บ้านหรือเตรียมแต่งงาน
การลงทุนสามารถลงทุนสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงระดับปานกลางได้อย่างเช่น ตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว หรือจะเป็นพวกกองทุนรวมผสม หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์อย่างพวก REIT หรือ IFF ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจ
3. ระยะยาว (5 ปีขึ้นไป)
เช่นเป้าหมายเกษียณอายุหรือแผนการศึกษาบุตร
การลงทุนสามารถลงทุนสินทรัพยที่มีความเสี่ยงสูงในสัดส่วนที่สูงเพิ่มเติมได้อย่างเช่นหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศ
จะเห็นได้ว่าเป้าหมายที่แตกต่างกันมีระยะเวลาที่ต้องการใช้เงินที่แตกต่างกัน สินทรัพย์ในการลงทุนก็จะแตกต่างออกไปด้วยและที่สำคัญแต่ละเป้าหมายก็ควรเก็บแยกพอร์ตการลงทุนอย่างชัดเจน ไม่ควรเก็บรวมกันเพื่อป้องกันไม่ให้นำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
ซึ่งถ้าหากไม่แน่ใจว่าในแต่ละเป้าหมายของเราเหมาะกับการลงทุนสัดส่วนการลงทุนเท่าไหร่บ้าง สามารถลองทำแบบประเมิณความเสี่ยงได้ที่นี่ คลิก เพื่อให้หาแนวทางในเบื้องต้นว่าตัวเราเองความรับความเสี่ยงได้ประมาณได้ แล้วถ้าหากเป็นเป้าหมายระยะสั้นก็ให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนพวกเงินฝากหรือตราสารหนี้เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นเป้าหมายที่ระยะเวลาที่ยาวมากขึ้นแนะนำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในทุนมากขึ้น
จัดพอร์ตกองทุนอย่างไร 1 พอร์ตกองทุนควรกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม
ถึงแม้กองทุนรวมเองจะมีการกระจายลงทุนอยู่ประมาณแล้วก็ตาม เราในฐานะนักลงทุนก็ควรมีการกระจายการลงทุนกองออกไปด้วยเช่นกัน อย่างเช่นถ้าหากเราประเมินแล้วสำหรับเป้าหมายการลงทุน A เราจะลงทุนหุ้น 100% โดยเน้นกระจายการลงทุนในหุ้นไทย แนะนำว่าอย่างก็ควรมีการคัดเลือกกองทุนหุ้นที่ดีที่สุดสัก 2 กองทุนจากนั้นก็กระจายการลงทุนไปทั้ง 2 กองทุนเพื่อลดความเสี่ยงในกรณีที่ผู้จัดการกองอาจจะตัดสินใจผิดพลาดได้
หรือในกรณีที่เป้าหมายการลงทุนของเราต้องการลงทุนทั้งตราสารหนี้และหุ้น แนะนำว่าให้เลือกกองทุนที่ผลการดำเนินงานที่ดีทั้งตราสารหนี้และหุ้นสักประเภทละ 2 กองทุน จากนั้นก็กระจายลงทุนตามสัดส่วนที่ตั้งใจไว้
แต่สำหรับการกระจายลงทุนกับกองทุนรวมหลากหลายกองทุนที่มี “นโยบายการลงทุน” มากจนเกินไปอย่างเช่นกระจายลง 5 กองทุนขึ้นไป ในทางทฤษฎีแล้วอาจจะไม่ได้ควรเรื่องการกระจายความเสี่ยงมากนัก แต่อาจจะทำให้เราหลุดโฟกัสและคัดเลือกกองที่ไม่ใช่กองทุนที่ดีที่สุดเข้าพอร์ตมา อาจจะทำให้ให้เกิดความเสียหายได้
ตรวจสอบติดตามอย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้ง
อีกเรื่องที่นักลงทุนกองทุนรวมมักที่พลาดกันมากที่สุดเลยก็คือคิดว่าการเลือกกองทุนที่ดีแล้ว จากนั้นก็ปล่อยลงทุนได้ยาว ๆ นอนรบรับผลตอบแทนได้แบบชิว ๆ แต่ในความเป็นจริงแม้จะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีมืออาชีพคอยดูแลเงินลงทุนในก็ตาม เราเองก็จำเป็นต้องคอยตรวจสอบและติดตามอย่างต่อเนื่องอย่างปีละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อตรวจสอบเสมอว่ากองทุนรวมที่เราลงทุนยังเป็นกองทุนที่ดี เป็นเบอร์หนึ่งในสินทรัพย์การลงทุนที่เราลงอยู่หรือเปล่า ถ้าหากเริ่มผลการดำเนินงานไม่ดี เริ่มมีการลงทุนในพอร์ตที่เราเริ่มไม่เห็น เราจะได้สามารถขายและย้ายกองทุนได้ทัน
และสิ่งที่ห้ามลืมเด็ดขาดเลยสำหรับการลงทุนกองทุนรวมก็คือการทำ Rebalancing ที่เป็นการปรับสัดส่วนการลงทุนของพอร์ตให้กลับมาอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ต้องการ
ตัวอย่างเช่นสมมติมีเงินลงทุนอยู่ 100,000 บาท โดยกำหนดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไว้ที่ 60% และตราสารหนี้ 40%
เวลาผ่านไป 1 ปี ปรากฎว่าตลาดหุ้นขึ้นอย่างต่อเนื่องให้ผตอบแทนเป็นบวกมากกว่า 30% จากเงินลงทุน 60,000 บาทเพิ่มขึ้นเป็น 78,000 บาท ส่วนของตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเพียง 5% จกาเงินลงทุน 40,000 บาทก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 42,000 บาท แปลว่าพอร์ตรวมของเราตอนนี้จะเงินลงทุนทั้งหมด 120,000 บาท
พอมีเทียบดูสัดส่วนเราจะเห็นว่าสัดส่วนของหุ้น ณ ปัจจุบันจะเท่ากับ 78,000/120,000 = 65% และตราสารหนี้มีสัดส่วนเท่ากับ 42,000 / 120,000 = 35% ซึ่งสัดส่วนการลงทุนจะมีเปลี่ยนไปจากที่เรากำหนดไว้ที่ 60:40
สิ่งที่เราต้องทำก็คือการขายหุ้นออกมา 5% หรือเท่ากับ 6,000 บาทนำกลับมาลงทุนในตราสารหนี้เพื่อให้รักษาสัดส่วนการลงทุนที่เราต้องการที่ 60:40 ตามเราต้องการ เพื่อไม่ให้รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นและอาจจะนำพาความสุญเสียกลับมาในอนาคตได้
ต้องขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านกันตั้งแต่ EP.1 มาจนถึง EP. 20 ที่เป็น EP. สุดท้าย เชื่อว่าทุกคนน่าจะได้ความรู้ ได้ไอเดียกลับไปพอร์ตจัดการพอร์ตการลงทุนของตัวเองกันมากขึ้นแน่นอน
ย้อนกลับไปอ่าน EP ก่อนหน้านี้
อ่านซีรีส์กองทุน เลือกลงทุนง่ายนิดเดียว ทั้งซีรีส์ได้ที่นี่
อ่านเพิ่ม