สรุป หุ้น TU ผู้นำธุรกิจอาหารทะเลระดับโลก

สรุปหุ้น TU ผู้นำธุรกิจอาหารทะเลระดับโลก

2 min read  

ฉบับย่อ

  • บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น TU ประกอบธุรกิจ ประกอบธุรกิจผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง และบรรจุกระป๋อง
  • ปี 2565 มียอดขายอยู่ที่ 155,586 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +10.3% จากปีก่อน และกำไรสุทธิปี 2565 อยู่ที่ 7,138 ล้านบาท ปรับลดลง -10.9% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากการปรับมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิของ Red Lobster ในสหรัฐฯ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโรงงานที่เยอรมัน ซึ่งถ้าหากตัด 2 รายการค่าใช้จ่ายพิเศษออกจะทำให้กำไรสุทธิเท่ากับ 8,233 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น +2.7%
  • ใน ปี 2565 มีการเข้า IPO ของบริษัทลูกอย่าง i-Tail ตอบรับการเติบโตของตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง
  • ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋อง สัดส่วนรายได้คิดเป็น 43%, ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง-แช่เย็น และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สัดส่วนรายได้คิดเป็น 36% ,ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ สัดส่วนรายได้คิดเป็น 14% และ ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและธุรกิจอื่น สัดส่วนรายได้คิดเป็น 7%
  • TU ได้รับรางวัลอันดับที่ 1 ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารของโลกจาก Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ในปี 2565 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่ 9 ติดต่อกันที่ TU ได้รับคัดเลือกถูกคำนวณอยู่ในดัชนี 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

จากการฟื้นตัวของสถานการณ์โควิด-19 และการปรับใช้นโยบายทางการเงินทั่วโลกเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ จึงทำให้ ปี 2565 นับว่าเป็นปีที่มีความผันผวนสูงทีเดียว แต่ก็มีหุ้นตัวหนึ่งที่สามารถรักษาการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการกระจายของรายได้จากทั่วโลกได้เป็นอย่างดี ซึ่งพี่ทุยจะพาทุกคนมาเจาะลึกกันในวันนี้ นั่นก็คือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ “หุ้น TU” ที่จัดเป็นหุ้นอุตสาหกรรมอาหาร 1 ใน ปัจจัย 4 ที่ทำให้สามารถข้ามผ่านทุกวิกฤตมาได้อย่างเสมอมา

หุ้น TU จะมีความน่าสนใจในการลงทุนแค่ไหนพี่ทุยได้สรุปมาให้เพื่อน ๆ นักลงทุนได้เข้าใจง่าย ๆ กัน

โครงสร้างรายได้ ปี 2565

โครงสร้างรายได้ ปี 2565 หุ้น TU

“หุ้น TU” ทำอะไร ?

ธุรกิจของ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น TU สามารถจำแนกออกเป็น…

1. ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป

กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป (Ambient Seafood) สินค้าหลัก คือ อาหารทะเลบรรจุกระป๋องที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคผ่านช่องทางค้าปลีกและบางส่วนผ่านช่องทางค้าส่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มนี้มีทั้งปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาเฮอร์ริ่ง

โดยกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋อง มียอดขายในปี 2565 ทั้งสิ้น 66,510 ล้านบาทคิดเป็น 43% ของยอดขายรวม

2. ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง-แช่เย็น และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง แช่เย็น และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วยสินค้าอาหารทะเลเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะจัดจำหน่ายตรงให้กับร้านอาหาร โรงแรม ผู้ประกอบการร้านอาหาร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าของทางร้าน 

โดยธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง-แช่เย็น และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มียอดขายในปี 2565 ทั้งสิ้น 56,964 ล้านบาท คิดเป็น 36% ของยอดขายรวม

3. ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง

กลุ่มธุรกิจที่ถือว่าเป็น Rising Star ที่น่าจับตามองของ TU คือ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง ที่มีทั้งแบรนด์ของตัวเอง ตลอดจนรับผลิตแบบ OEM ให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมากมาย อย่าง Mars และ J.M. Smucker โดยการเข้า IPO ของบริษัทลูกอย่าง i-Tail หรือ ITC  ในปี 2565 ก็ได้กระแสตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี ตอบรับกับแนวโน้มการเติบโตของตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง

ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง มียอดขายในปี 2565 ทั้งสิ้น 21,693 ล้านบาทคิดเป็น 14% ของยอดขายรวม

4. ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและธุรกิจอื่น ๆ

ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและธุรกิจอื่น ๆ นั้น ประกอบไปด้วยกลุ่มสินค้าในหลากหลายประเภท ซึ่งจะรวมถึงอาหารเพิ่มมูลค่า เช่น อาหารพร้อมทาน หรืออาหารพร้อมปรุง สินค้าบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการขายส่วนผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าอื่น ๆ เช่น ธุรกิจส่วนประกอบอาหาร อาหารเสริม และอาหารโปรตีนทางเลือก

ตัวอย่างของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ ได้แก่ สินค้าจำพวกขนมปลาเส้น ตับปลาค็อดบรรจุกระป๋อง อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ติ่มซำ ซอสปรุงรส ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิตปลาและกุ้ง ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ภาชนะบรรจุภัณฑ์ หรือกระป๋องสำหรับอาหารแปรรูป บริการสิ่งพิมพ์สำหรับฉลากกระป๋อง รวมทั้งฉลากผลิตภัณฑ์อื่นและสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย

ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและธุรกิจอื่น ๆ มียอดขายในปี 2565 เท่ากับ 10,420 ล้านบาท คิดเป็น 7% ของยอดขายรวมของบริษัทฯ

สัดส่วนรายได้ TU ไทยยูเนี่ยน

สำหรับยอดขายแบ่งตามภูมิภาคในปี 2565 สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดหลักที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท โดยมีส่วนแบ่งรายได้ คิดเป็น 44% ส่วนภูมิภาคยุโรปมีส่วนแบ่งรายได้ คิดเป็น 26% ของยอดขายรวม ยอดขายในประเทศไทยอยู่ที่ 11% ของยอดขายรวม และยอดขายประเทศอื่น ๆ อยู่ที่ 19% ของยอดขายรวม

ผลการดำเนินงานปี 2563 – 2565

ผลการดำเนินงานปี 2563 - 2565

ยอดขาย

ปี 2565 มียอดขายอยู่ที่ 155,586 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +10.3% จากปีก่อน เนื่องจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธุรกิจหลักและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก พร้อมกับบริษัทฯ สามารถปรับราคาสินค้าขายได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงก็มียอดขายที่เติบโตอย่างมาก ทำสถิติใหม่ตอบรับกับกระแสการเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น

กำไรสุทธิ 

กำไรสุทธิปี 2565 อยู่ที่ 7,138 ล้านบาท ปรับลดลง -10.9% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากการปรับมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิของ Red Lobster ในสหรัฐฯ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายจากการปรับปรุงโรงงานที่เยอรมนี ซึ่งถ้าหากตัด 2 รายการค่าใช้จ่ายพิเศษที่ไม่เป็นตัวเงินนี้ออกก็จะทำให้กำไรสุทธิเท่ากับ 8,233 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น +2.7%

จุดแข็งของ “หุ้น TU” ไทยยูเนี่ยน

1. คุณภาพและมาตรฐาน ความปลอดภัยอาหาร 

บริษัทมีศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน หรือ Global Innovation Center (GIC) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ใช้ในการผลิตสินค้า ทั้งในด้านโภชนาการ คุณภาพ ความปลอดภัย และถูกต้องตามมาตรฐานสากลระดับโลก

2. ศักยภาพในการผลิตอาหารในระดับสูง

ไทยยูเนี่ยน และบริษัทในเครือหลักทั่วโลก เป็นผู้ผลิตอาหารทะเล โดยมีกำลังการผลิตรวม (เมตริกตันของวัตถุดิบ) ที่กว่า 820,000 ตันต่อปี ส่งผลให้ไทยยูเนี่ยนมี Economic of scale หรือสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังมีแผนการลงทุนขยายโรงงานเพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

3.ความสม่ำเสมอในการจ่ายเงินปันผล

บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิในแต่ละปี และบริษัทฯ จะแบ่งจ่ายเงินปันผลเป็น 2 งวด โดยไทยยูเนี่ยนได้มีจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ ปีนับตั้งแต่ ปี 2537 ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยปีล่าสุดไทยยูเนี่ยนจ่ายปันผลรวมทั้งสิ้น 0.84 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็น Dividend Yield ที่กว่า 5.8%

4.ไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้เป็น สมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์

ได้รับการจัดให้อยู่ในลำดับที่ 1 ในปี 2565 ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) หมวดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร และถือว่าเป็นปีที่ 9 ติดต่อกันที่ได้รับการคำนวณเข้าสู่ดัชนี DJSI 

5. มีผลิตภัณฑ์หลากหลายแบรนด์และมีชื่อเสียงทั่วโลก

ไทยยูเนี่ยนมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และเป็นเจ้าของแบรนด์ระดับโลกมากมาย ทั้งประเภทบรรจุกระป๋อง แช่เย็น และแช่แข็ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ โดยแบรนด์ที่เป็นที่นิยมของไทยยูเนี่ยนมีวางจำหน่ายทั่วโลก ทั้งในอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และแปซิฟิก 

6. มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง

ในปี 2565 บริษัทฯ มียอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 155,586 ล้านบาท ที่ถึงแม้จะมีผลกำไรที่ลดลงจาก ผลจากการปรับมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิของ Red Lobster ในสหรัฐฯ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงินจากการปรับปรุงโรงงานที่เยอรมนี ซึ่งถ้าหากตัด 2 รายการออกก็ยังมีกำไรสุทธิเป็นบวก +2.7% ได้

รวมถึงถ้าหากมองเรื่องของหนี้สินก็นับว่ายังรักษาอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง เนื่องจากหนี้มากกว่า 72% เป็นดอกเบี้ยแบบคงที่ ทำให้ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำ

นอกจากนี้การนำ i-Tail เข้า IPO ในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ส่วนของทุนเพิ่มสูงขึ้น และช่วยทำให้ Net Debt to Equity Ratio (ND/E) ลดลงจาก 0.99 เท่า ณ สิ้นปี 2564  เหลือเพียง 0.54 เท่า ณ สิ้นปี 2565

อัตราส่วนทางการเงินของ หุ้น TU

อัตราส่วนทางการเงินของ หุ้น TU ไทยยูเนี่ยน

เมื่อพิจารณาในงบปี 2565 พบว่า “กำไรต่อหุ้น (EPS)” มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ ปี 2564 โดยเป็นผลจาก Red Lobster และการปิดโรงงานที่เยอรมนี

P/BV Ratio มีค่าที่สูงกว่า 1 แปลว่าราคาหุ้นแพงกว่ามูลค่าบัญชีต่อหุ้น แสดงว่านักลงทุนมองเห็นแนวโน้มในอนาคตว่าบริษัทฯจะเติบโตได้

P/E Ratio อยู่ที่ระดับ 10.05 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลกระทบทั้งอุตสาหกรรมจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้น

D/E Ratio ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อสัดส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 0.54 เท่า เนื่องจากการนำ i-Tail บริษัทลูกเข้า IPO ในปี 2565 นอกจากนี้ ยังสามารถปรับโครงสร้างให้มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ได้ถึง 72% ของหนี้ทั้งหมด ช่วยลดผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ดี

ROA และ ROE ตามหลักการแล้วยิ่งสูง ยิ่งถือว่าบริษัทฯ นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเมื่อดูในงบปี 2565 จะพบว่า ทั้งสองอัตราส่วนน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเป็นผลจากการรับรู้รายจ่ายพิเศษทั้ง 2 รายการ และการเพิ่มขึ้นของส่วนของทุนจากการนำ i-Tail เข้า IPO

ในส่วนของ DIVIDEND YIELD อยู่ที่ 5.8% ซึ่งสังเกตได้ว่า TU มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอทุกปี โดยบริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิในแต่ละปี ซึ่งนับว่าเป็นหุ้นที่เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว เนื่องจาก “หุ้น TU” มีพื้นฐานธุรกิจที่ดี มีอนาคตเติบโตอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายการดำเนินธุรกิจของ ไทยยูเนี่ยน ในปี 2566 คือการเพิ่มยอดขายให้ได้อย่าง 5 – 6%

เนื่องจากในปี 2565 มีการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นในระดับที่สูงมากกว่าปรกติ เมื่อเทียบกับฐานที่สูงในปี 2565 แล้วการวางเป้าหมาย 5-6% แบบ Conservative อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เนื่องเศรษฐกิจโลกในภาพรวมอาจจะยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่มากนัก 

แต่สิ่งที่มุ่งเน้นคือการปรับเพิ่มขึ้นระดับของ Gross Profit Margin ในอยู่ในระดับ 18-18.5% ด้วยการลดลงต้นทุนซึ่งจะช่วยทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นได้

อนาคตของ ไทยยูเนี่ยน (TU) จะเป็นอย่างไร มีประเด็นอะไรที่ต้องติดตาม ?

1. การพลิกฟื้นกิจการ Red Lobster

ต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ Red Lobster มีการปรับการคิดมูลค่าหุ้น รวมถึงการที่ไม่สามารถสร้างยอดขายได้เข้าเป้าในปีที่ผ่านมา ทั้งจากผลกระทบในช่วง Q1 ที่มีการะบาดของโอมิครอน รวมถึงใน Q2 ที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูง แต่ไม่ได้มีปรับเพิ่มขึ้นราคาขาย จึงทำให้กำไร Share of profit from operations ต่ำลง 

ต้องมาต้องจับตาดูกันว่าในปี 2566 การเปลี่ยนกลยุทธ์ทั้งการปรับราคาขาย การปรับโครงสร้างองค์กร รวมถึงการอบรมพนักงานใหม่ทั้้งหมด จะช่วยทำให้กิจการกลับมาฟื้นตัวได้ตามเป้าหมาย 

2. ความผันผวนของค่าเงิน

เนื่องจากยอดขายกว่า  90% อยู่ในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยหลัก ๆ เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ เงินยูโร และเงินปอนด์ ตามลำดับ แต่ในส่วนนี้ทางบริษัทได้มีการป้องกันความเสี่ยงเกือบทั้งหมดของยอดขายสกุลต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน

3. แผนการลงทุนในกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ 

จะเห็นได้ว่า TU มีแผนการลงทุนในหลากหลายบริษัทในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการเข้าลงทุนทั้งใน Startups ที่เป็น Innovation Food และลงทุนในต่างประเทศโดยการทำ Joint-ventures เพื่อให้กลับมาสนับสนุนธุรกิจหลัก อย่างไรต้องมาดูกันว่าจะได้ผลตอบรับอย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย