การหักค่าใช้จ่าย ทางภาษีมีอะไรบ้าง เงินได้แต่ละประเภทได้หักเท่าไหร่ | Tax Saving Series 2023 EP2

การหักค่าใช้จ่าย ทางภาษีมีอะไรบ้าง เงินได้แต่ละประเภทได้หักเท่าไหร่ | Tax Saving Series 2023 EP2

3 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • การหักค่าใช้จ่าย เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่ง ไว้สำหรับหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนในการทำงานออกจากเงินได้ของเรา 
  • การหักค่าใช้จ่ายนั้นแตกต่างกันไปตามที่มาของเงินได้ทั้ง 8 ประเภท
  • การหักค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องตามประเภทเงินได้ ทำให้เราบริหารภาษีไดู้กต้องมากขึ้น ถ้าใครมีรายได้ประเภทอื่น ๆ สามารถหักค่าใช้จ่ายเพิ่มได้อีกด้วย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

หลังจากเราเข้าใจวิธีการคำนวณวิธีการคำนวณภาษีกันแล้ว พี่ทุยเลยอยากจะมาต่อกันที่ การหักค่าใช้จ่าย ที่มีส่วนสำคัญในการคำนวณภาษี จะจ่ายภาษีมากขึ้นหรือน้อยลง การหักค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องก็มีส่วนสำคัญ

การหักค่าใช้จ่าย คืออะไร

ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธิมาคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ซึ่งเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะจำนวนลดลง ส่งผลให้ฐานภาษี

การหักค่าใช้จ่าย มีกี่ประเภท

การหักค่าใช้จ่ายนั้นแตกต่างกันไปตามประเภทของเงินได้ ซึ่งมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายได้ดังนี้

1. เงินได้ประเภท 40(1) เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง

หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท

2. เงินได้ประเภท 40(2) เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือเงินที่ได้จากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส ฟรีแลนซ์

หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท

ซึ่งหากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท

3. เงินได้ประเภท 40(3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง

4. เงินได้ประเภท 40(4) ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ

หักค่าใช้จ่ายไม่ได้

เงินได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้

อ่านเพิ่ม

5. เงินได้ประเภท 40(5) รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน

หักค่าใช้จ่ายได้ ตามจริงหรืออัตราเหมา

โดยอัตราเหมา ดังนี้

  • บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ 30%
  • ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร 20%
  • ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตร 15%
  • ยานพาหนะ 30%
  • ทรัพย์สินอื่น 10%

6. เงินได้ประเภท 40(6) วิชาชีพอิสระ

หักค่าใช้จ่ายได้ ตามจริงหรืออัตราเหมา

โดยอัตราเหมา ดังนี้

  • ประกอบโรคศิลปะ 60%
  • กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม 30%

7. เงินได้ประเภท 40(7) รับเหมาก่อสร้าง

หักค่าใช้จ่ายได้ ตามจริงหรืออัตราเหมา 60%

8. เงินได้ประเภท 40(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7

หักค่าใช้จ่ายได้ ตามจริงหรืออัตราเหมา 40% และ 60%

การหักค่าใช้จ่าย เงินได้ 40(8)

การหักค่าใช้จ่าย เงินได้ 40(8)

การหักค่าใช้จ่าย เงินได้ 40(8)

ตัวอย่าง การคำนวนหักค่าใช้จ่ายในกรณีมีเงินได้หลายประเภท

ต้องบอกว่าการหักค่าใช้จ่ายในประเภทเงินได้ต่าง ๆ สามารถหักแยกแล้วนำมารวมกันได้ (ยกเว้น 40(1) + 40(2) ที่ต้องรวมกันหักได้ไม่เกิน 100,000 บาท)

ถ้าน้องนกเอี้ยงเป็นฟรีแลนซ์รวมได้เงินทั้งปี 400,000 บาท และ ขายของออนไลน์ได้อีก 200,000 บาท 

ฟรีแลนซ์ เป็นเงินได้ประเภท 40(2) 400,000 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท เท่ากับหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท เป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท

ขายของออนไลน์ เป็นเงินได้ประเภท 40(8) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เท่ากับหักค่าใช้จ่ายได้ 120,000 บาท เป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 80,000 บาท

รวมเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 100,000 + 80,000 = 180,000 บาท

ซึ่งพอได้เงินได้ส่วนนี้เราจะไปหักค่าลดหย่อนต่อไป

ดังนั้น การเข้าใจรายได้ของเราว่ามาจากประเภทเงินได้ไหนจึงมีความสำคัญ เพราะเงินได้แต่ละประเภทหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน สมมติว่าเรามีเงินได้เป็นประเภท 40(8) เราหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 60% แต่ถ้าดันเราเข้าใจผิด ไปคิดเป็นเงินได้ประเภท 40(2) เราหักค่าใช้จ่ายได้แค่ 50% สูงสุด 100,000 บาท แต่ว่าของ 40 (8) ไม่ได้กำหนดสูงสุด จากจะได้สิทธิลดหย่อนเยอะ กลับได้น้อยลง

ซึ่งหากเงินได้สุทธิเราน้องลง ก็จะทำให้ฐานภาษีเราลดลงด้วย เช่น เงินได้หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนใดใดแล้ว เหลือเงินได้สุทธิ 300,000 เราจะเสียภาษีอัตรา 5% แต่ถ้าเราคำนวณเงินได้สุทธิเป็น 310,000 เราจะเสียภาษีไปถึงอัตรา 10%

อ่านตอนก่อนหน้า

ขอขอบคุณทาง Krungthai NEXT Invest ที่เข้ามาสนับสนุนการให้ความรู้ผ่าน “ซีรีส์ #สรุปภาษีปี 2566” ในครั้งนี้

ใครที่อยากรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะซื้อ SSF กองทุนไหนดี เพราะต้องลงทุนยาวๆ ในสภาวะตลาดผันผวนแบบนี้ ขอแนะนำกองทุน Krungthai World Class Series จาก บลจ. กรุงไทย ที่จะช่วยให้เราถือลงทุนระยะยาวได้อย่างสบายใจกัน!

KTWC-Series-SSF  

อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ พร้อมลงทุนต่อเนื่องในะระยะยาว KTWC-Series-SSF เปิดให้สามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงต่ำ กลางและสูง ที่เหมาะกับตัวเราเอง 

และยังได้ความร่วมมือสุด Exclusive จากทีมผู้จัดการกองทุนจาก Fidelity อีกหนึ่ง บลจ. ระดับโลก ที่จะเข้ามาช่วยคัดเลือกกองทุนที่เข้ามาอยู่ในพอร์ต เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้ Best of Best ของกองทุนที่เหมาะกับในแต่ละสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ลงทุนง่าย ๆ ผ่าน NEXT Invest บนแอปฯ Krungthai NEXT หรือ ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา

หากใครสนใจอยากศึกษาเพิ่มเติมและเปิดบัญชีลงทุน ที่นี่เลย 

ตอนนี้มีโปรฯ เปิดบัญชีด้วยนะ รับฟรี! Starbucks e-Voucher 100 บาท* ตั้งแต่ 23 พ.ย. – 31 ธ.ค. 2566

*จำกัด 20,000 สิทธิ์แรก เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile