เลือกลดหย่อนภาษีด้วย SSF หรือ RMF ดีกว่ากัน ?

เลือกลดหย่อนภาษีด้วย SSF หรือ RMF ดีกว่ากัน ?

3 min read  

ฉบับย่อ

  • กองทุน SSF และ RMF สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องเงื่อนไขการถือครองและนโยบายจ่ายเงินปันผล
  • SSF เหมาะกับคนที่ต้องการลงทุนระยะยาว อายุต่ำกว่า 45 ปี หรือต้องการเงินปันผลระหว่างทางด้วย
  • RMF เหมาะกับคนที่ต้องการวางแผนเกษียณอายุของตัวเองเป็นหลัก
  • ttb smart port มีกองทุน SSF ที่ลงทุนง่าย ! เลือกได้ตามระดับความเสี่ยง มาพร้อมจุดเด่นที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลปรับพอร์ตให้ และมาพร้อมกับระบบทยอยลงทุน DCA ให้แบบอัตโนมัติ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

สองกองทุนยอดฮิตในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีแบบนี้ แน่นอนว่ายังไงก็หนีไม่พ้นกองทุน SSF และ RMF แล้วถ้าจะต้องเลือกลดหย่อนภาษีจริง ๆ เราควรจะเลือกลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนไหนดี ? วันนี้พี่ทุยจะพาไปสำรวจกันให้ละเอียดยิบเลยว่าเราควรจะลดหย่อนด้วย SSF หรือ RMF ดีกว่ากัน

แต่ก่อนอื่นเลยเราต้องเข้าใจก่อนว่า เงื่อนไขในการใช้ลดหย่อนภาษีของ SSF และ RMF เหมือนหรือแตกต่างกันตรงไหน

ความแตกต่างของเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีด้วย SSF และ RMF

ความแตกต่างของเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีด้วย SSF และ RMF

สำหรับ SSF ทางกรมสรรพากรกำหนดให้สามารถนำเงินที่ซื้อหน่วยลงทุน SSF มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อนับรวมกับกองทุนและการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, RMF, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดย SSF จะต้องถือลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปีนับจากวันที่ลงทุน

ส่วนเรื่องเงินปันผลก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการจ่ายปันผลของแต่ละกองทุน SSF

สำหรับ RMF  สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่เมื่อนับรวมกับกองทุนและการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, RMF, SSF, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ,ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

โดย RMF และจะต้องถือลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่การซื้อครั้งแรกและขายได้เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังมีอีกหนึ่งเงื่อนไขเพิ่มเติมก็คือ RMF จะต้องซื้อลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปีด้วย นอกจากนี้สำหรับ RMF แล้วจะไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลทุกกรณี

ส่วนเรื่องที่ SSF และ RMF เหมือนกันก็คือ ไม่ได้มีการกำหนดซื้อขั้นต่ำและส่วนของนโยบายการลงทุนไม่ได้จำกัดว่าจะต้องลงทุนสินทรัพย์ไหนเป็นพิเศษ ซึ่งจะเปิดให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามที่ต้องการเลย

SSF กับ RMF เลือกลงทุนอะไรดี ?

SSF กับ RMF เลือกลงทุนอะไรดี ?

ใครเหมาะกับการลงทุน SSF ?

คนที่เหมาะกับการลงทุน SSF คือ คนที่ต้องการเก็บออมเงินระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) และเหมาะกับคนที่อายุต่ำกว่า 45 ปี เนื่องจากหากอายุมากกว่า 45 ปี การเลือกลงทุน RMF จะทำให้ครบเงื่อนไขในการขายก่อนก็จะทำให้เรามีทางเลือกที่มากกว่า หรือถ้าต้องการเงินปันผลระหว่างทางด้วย SSF จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า

ใครเหมาะกับการลงทุน RMF ?

RMF จะเหมาะกับคนที่ต้องการวางแผนเกษียณอายุเป็นหลัก เนื่องจากเงื่อนไขในการถือครองที่กว่าจะขายได้ก็ต้องรออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ใกล้เกษียณอายุพอดี แล้วด้วยเงื่อนไขที่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี (อย่างน้อยปีเว้นปี) ก็จะเหมือนกับการที่เราได้ทยอยลงทุนแบบ DCA ต่อเนื่องทุกปี ก็จะยิ่งช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

มีกองทุนแนะนำในเลือกลดหย่อนภาษีที่ไหนบ้าง ?

พี่ทุยแนะนำให้ลดหย่อนภาษี ด้วย ttb smart port ที่มีกองทุน SSF ที่ลงทุนง่าย ! เลือกได้ตามระดับความเสี่ยง

สำหรับใครยังตัดสินใจไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าเราจะเลือกลงทุน SSF กองทุนไหนดี พี่ทุยแนะนำ ttb smart port SSF ที่เสมือนเป็นกองทุนลดหย่อนภาษีแบบสำเร็จรูปเลยก็ว่าได้ เพราะจะช่วยเปลี่ยนการลงทุนที่ยุ่งยากน่าปวดหัว ให้ง่ายมากขึ้น

ttb smart port SSF จะมีให้เลือก 5 รูปแบบการลงทุนตามระดับความเสี่ยง

  1. tsp1-preserver-SSF (ระดับความเสี่ยง 4) เหมาะกับคนเสี่ยงได้ในระดับต่ำ เน้นรักษาเงินต้น
  2. tsp2-nurturer-SSF (ระดับความเสี่ยง 5) เหมาะกับการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ
  3. tsp3-balancer-SSF (ระดับความเสี่ยง 5) เหมาะกับการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย
  4. tsp4-explorer-SSF (ระดับความเสี่ยง 5) เหมาะกับการลงทุนเพื่อเป้าหมายให้เงินเติบโต รับความผันผวนได้
  5. tsp5-gogetter-SSF (ระดับความเสี่ยง 6) เหมาะกับการหาโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก รับความผันผวนได้สูง

โดย ttb smart port SSF จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยติดตามสถานการณ์การลงทุนและอัปเดตพอร์ตอย่างต่อเนื่อง แถมยังมาพร้อมกับระบบ DCA ช่วยให้เราสามารถทยอยลงทุน ไม่ต้องเสียเวลามาจับจังหวะลงทุนหรือสับเปลี่ยนกองด้วยตัวเองเลย เรียกว่า ง่าย สะดวก แบบสุด ๆ

ตอนนี้สำหรับใครที่ลงทุน DCA กับกองทุน ttb smart port รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port เมื่อลงทุนขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาทขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์-28 ธันวาคม 2566

ถ้าอยากรู้รายละเอียดโปรโมชันนี้ ก็สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

สำหรับใครที่สนใจ  ttb smart port SSF สามารถลองกำหนดเป้าหมายการลงทุนได้เลยที่นี่

จากนั้นระบบจะแนะนำพอร์ตการลงทุนที่เหมาะกับตัวเรามาให้

ผู้สนใจสามารถศึกษาขั้นตอนการเปิดพอร์ตการลงทุนผ่านแอป ttb touch ได้ที่นี่
หรือถ้าใครสนใจกองทุน SSF และ RMF อื่น ๆ สามารถเข้าไปส่องกองทุนที่น่าสนใจได้ที่นี่เลย

อ้างอิงบทความจากเว็บไซต์ ttb

คำเตือน

  • การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF หรือ RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
  • ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน สามารถรับหนังสือชี้ชวนและลงทุนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา
  • กองทุนรวมที่มีการลงทุนในต่างประเทศ และไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
บทความนี้เป็นบทความ Advertorial