ฮามาส คือใคร? สรุปปมขัดแย้ง อิสราเอล-ปาเลสไตน์

ฮามาส คือใคร? สรุปปมขัดแย้ง อิสราเอล-ปาเลสไตน์

3 min read  

ฉบับย่อ

  • ฮามาส คือ กลุ่มติดอาวุธ ซึ่งเป็นชาวปาเลสไตน์ที่เคร่งศาสนามาก ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุน อาวุธ การซ้อมรบจากประเทศอิหร่าน ปกครองพื้นที่ฉนวนกาซาที่มีพื้นที่อยู่ 365 ตารางกิโลเมตร
  • ฮามาสโจมตีอิสราเอล เพื่อทวงคืนดินแดนปาเลสไตน์ เรียกร้องให้อิสราเอลคืนเขตเวสต์แบงก์ เยรูซาเล็มตะวันออก และกาซา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สหประชาชาติมีมติให้เป็นของปาเลสไตน์
  • 7 ต.ค. 2023 ฮามาส ได้ยิงจรวดถล่มพื้นที่อิสราเอลตอนใต้ มีผู้เสียชีวิตจากสงครามกว่า 1000 คน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ปะทุขึ้นอีกครั้ง วันที่ 7 ต.ค. 2023 ซึ่งครั้งนี้กองกำลัง ฮามาส ได้จับแรงชาวไทยในอิสราเอลไปเป็นตัวประกัน และมีรายงานคนไทยเสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ 10 รายแล้ว

แล้วกลุ่มฮามาสคือใคร ข้อพิพาทของสงคราม อิสราเอล-ปาเลสไตน์ คืออะไร พี่ทุยสรุปมาให้แล้ว ไปฟังกัน

ฮามาส คือใคร ?

ฮามาส คือ กลุ่มติดอาวุธ ซึ่งเป็นกลุ่มคนจากปาเลสไตน์ที่เคร่งศาสนามาก ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุน อาวุธ การซ้อมรบจากประเทศอิหร่าน ปกครองพื้นที่ฉนวนกาซาที่มีพื้นที่อยู่ 365 ตารางกิโลเมตร ในปี 2007 ถูกขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มก่อการร้ายโดยสหรัฐอเมริกา

ฮามาสโจมตีอิสราเอล ทำไม ? ต้องการอะไร ?

ฮามาสต้องการทวงคืนดินแดนปาเลสไตน์จากเหตุการณ์การแบ่งดินแดงเมื่อ ปี 1993 จากข้อตกลงออสโล ที่อิสราเอลกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ตกลงยกพื้นที่กาซ่าให้ปาเลสไตน์ แบ่งเขตเวสต์แบงก์ตามสัดส่วน แต่ชาวปาเลสไตน์ที่ถูกเอาเปรียบมานาน มองว่าข้อตกลงนี้ประนีประนอมเกินไป และหันไปสนับสนุนกลุ่มฮามาสที่แข็งกร้าวต่ออิสราเอลมากกว่า PLO 

ฮามาส ต้องการจะสถาปนา “รัฐปาเลสไตน์” ขึ้นมาภายในพื้นที่ปกครองของตนเอง ในลักษณะที่เป็น “Two-State Solution” หรือการจัดตั้งรัฐสองรัฐ ซึ่งอิสราเอลเองก็ไม่ต้องการให้เกิด เพราะมองว่าพื้นที่ต่าง ๆ นั้นยึดมาได้จากอาหรับตั้งแต่สมัยสงคราม 6 วันแล้ว  (Six Day War) เมื่อปี 1967 

จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งอิสราเอล – กลุ่มฮามาส

กลุ่มฮามาสเกิดขึ้นเมื่อปี 1987 ในช่วงเวลาที่ชาวปาเลสไตน์เรียกร้องให้อิสราเอลคืนเขตเวสต์แบงก์ เยรูซาเล็มตะวันออก และกาซา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สหประชาชาติมีมติให้เป็นของปาเลสไตน์ แต่กลับถูกอิสราเอลยึดไปหลังชนะสงคราม 6 วัน

ปี 1993 อิสราเอลกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) มีข้อตกลงยกพื้นที่กาซ่าให้ปาเลสไตน์ แบ่งเขตเวสต์แบงก์ตามสัดส่วน ชาวปาเลสไตน์ที่ถูกเอาเปรียบมานานจึงมองข้อตกลงนี้ประนีประนอมเกินไป และหันไปสนับสนุนกลุ่มฮามาสที่แข็งกร้าวต่ออิสราเอลมากกว่า PLO

ปี 2006 พรรคฮามาสก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองพื้นที่กาซ่า หลังคว้าที่นั่งในสภาได้ 74 ที่นั่ง ส่วน PLO ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อฟาตาห์ คว้าได้เพียง 45 ที่นั่ง อิสราเอลไม่พอใจกับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยมองว่าฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย

ตั้งแต่ปี 2007 อิสราเอลปิดล้อมเขตกาซ่าเพื่อจำกัดการนำเข้าไฟฟ้า น้ำ อาหาร และยา เพื่อกดดันประชาชนให้ต่อต้านฮามาสที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบาก ส่วนอาวุธที่สนับสนุนโดยอิหร่านซึ่งเคยนำเข้าผ่านชายแดนอียิปต์และซูดานก็ไม่สามารถนำเข้าได้แล้วเมื่อทั้งสองชาติหันมาเป็นพันธมิตรกับอิสราเอล และปิดพรมแดน

ด้วยความเป็นอยู่ที่ยากลำบากทำให้มีหลายชาติที่ไม่ได้มองว่าฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย เช่น การ์ตา และอีกหลายประเทศ ให้ความสนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แต่ไม่มีใครรู้ว่าเงินจำนวนนี้ไปถึงประชาชนมากน้อยแค่ไหน

ฮามาส กลุ่มติดอาวุธที่รวยที่สุดอันดับ 3 ของโลก 

ปี 2018 Forbes จัดอันดับให้กลุ่มฮามาสเป็นกองกำลังติดอาวุธที่รวยเป็นอันดับ 3 ของโลก มีรายได้ต่อปี 700 ล้านดอลลาร์ แต่กลับมีโรงพยาบาลเพียง 11 แห่ง ที่ดูแลประชาชนในพื้นที่ถึง 2 ล้านคน สวนทางอาวุธที่แกร่งพอจะแลกหมัดกับกองทัพอิสราเอลได้อย่างยาวนาน

สรุป Timeline ความขัดแย้งอิสราเอลและปาเลสไตน์

ปี 1918

  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
  • จักรวรรดิออตโตมันอยู่ฝ่ายผู้แพ้สงคราม ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองซึ่งคือ ปาเลสไตน์ เปลี่ยนมือไปอยู่กับอังกฤษ
  • ขณะนั้นประชากรที่อาศัยอยู่เป็นชาวอาหรับ โดยมีชาวยิวอาศัยอยู่เป็นส่วนน้อย

ปี 1920-1940

  • อังกฤษกำหนดให้ดินแดน “ปาเลสไตน์” นี้เป็น “รัฐชาติชาวยิว”
  • ชาวยิวอพยพเข้าอาศัยมากขึ้น หนีภัยสงครามจากยุโรป
  • ชาวยิวมีมุมมองว่าตนเองมีสิทธิ์ในดินแดนนี้เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษ
  • ชาวอาหรับมองว่าเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเขาเช่นกัน

ปี 1947

  • UN มีมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและชาวอาหรับแยกกัน
  • ให้เยรูซาเลมเป็นเมืองนานาชาติ
  • ผู้นำชาวยิวยอมรับข้อตกลงนี้แต่ผู้นำชาวอาหรับไม่เห็นด้วย

ปี 1948

  • ชาวยิวจัดตั้งประเทศอิสราเอล เพิ่มความไม่พอใจให้กับชาวอาหรับ
  • เกิดสงครามขึ้น โดยกองทัพจากประเทศอาหรับ ได้แก่ อียิปต์ เลบานอน ซีเรีย และจอร์แดน สนับสนุนฝั่งปาเลสไตน์
  • ชาวปาเลสไตน์หลายแสนคนถูกบังคับให้อพยพหนีภัยสงคราม
  • สุดท้ายอิสราเอลเป็นฝ่ายยึดดินแดนส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์
  • จอร์แดนได้พื้นที่เวสต์แบงก์
  • อียิปต์ได้ครอบครองกาซา
  • ส่วนเยรูซาเลมฝั่งตะวันตกถูกแบ่งให้อิสราเอล และฝั่งตะวันออกเป็นของจอร์แดน

ปี 1967

  • สงคราม 6 วัน (Six Day War)
  • อิสราเอลเป็นฝ่ายเผด็จศึกในด้วยเวลาเพียง 6 วัน ยึดครองเยรูซาเลมตะวันออก, เวสต์แบงก์, ฉนวนกาซา, พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย
  • ชาวปาเลสไตน์ที่อพยพได้หนีภัยได้อาศัยอยู่ในกาซาและเขตเวสต์แบงก์
  • ปาเลสไตน์มองว่าเยรูซาเลมตะวันออกจะเป็นเมืองหลวงของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต
  • อิสราเอลมองว่านครเยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของตน

ปี 1987

  • กลุ่มฮามาสเกิดขึ้นในช่วงที่ชาวปาเลสไตน์เรียกร้องให้อิสราเอลคืน เขตเวสต์แบงก์ เยรูซาเล็มตะวันออก และกาซา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ UN มีมติให้เป็นของปาเลสไตน์

ปี 1993

  • อิสราเอลกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ตกลงยกพื้นที่กาซ่าให้ปาเลสไตน์ แบ่งเขตเวสต์แบงก์ตามสัดส่วน
  • แต่ชาวปาเลสไตน์ที่ถูกเอาเปรียบมานาน มองข้อตกลงนี้ประนีประนอมเกินไป และหันไปสนับสนุนกลุ่มฮามาสที่แข็งกร้าวต่ออิสราเอลมากกว่า PLO

ปี 2006

  • พรรคฮามาสก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองพื้นที่กาซ่า หลังคว้าที่นั่งในสภาได้ 74 ที่นั่ง
  • อิสราเอลไม่พอใจกับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยมองว่าฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย

ปี 2007

  • อิสราเอลปิดล้อมเขตกาซ่าเพื่อจำกัดการนำเข้าไฟฟ้า น้ำ อาหาร และยา
  • กดดันประชาชนให้ต่อต้านฮามาสที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบาก 

ปี 2018

  • Forbes จัดอันดับให้กลุ่มฮามาสเป็นกองกำลังติดอาวุธที่รวยเป็นอันดับ 3 ของโลก มีรายได้ต่อปี 700 ล้านดอลลาร์

ปี 2021

  • อิสราเอลได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากเยรูซาเลม
  • เกิดการปะทะระหว่างตำรวจอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ที่มัสยิดอักซอ ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตจำนวนมาก
  • กลุ่มฮามาสยิงจรวดโจมตีเมืองเทลอาวีฟในอิสราเอล และอิสราเอลตอบโต้ด้วยการโจมตีทางอากาศ
  • การโจมตียืดเยื้อ 11 วัน มีผู้เสียชีวิต 240 คน

ปี 2023

  • 7 ต.ค. กลุ่มฮามาส (Hamas) หรือองค์กรการเมืองติดอาวุธของชาวปาเลสไตน์ ได้ยิงจรวดถล่มพื้นที่อิสราเอลตอนใต้
  • ฮามาสรายงานว่า ปล่อยจรวดกว่า 5,000 ลูกในการโจมตีครั้งแรก แต่กองทัพอิสราเอลแย้งว่ามีการยิงจรวดมาเพียง 2,200-2,500 ลูก แต่ก็เกิดผลกระทบและความเสียหายต่ออิสราเอล โดยพื้นที่ที่อยู่อาศัยหลายแห่งถูกโจมตี ผู้คนต้องหลบภัยอยู่ใต้อาคารต่าง ๆ 
  • อิสราเอลมีรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 700 คน ส่วนในกาซาชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตกว่า 400 คน

อาจพอสรุปได้ว่าด้วยเม็ดเงินรายได้อันมหาศาลขนาดนี้ ไม่แน่ว่าความขัดแย้งในปัจจุบันอาจเป็นความตั้งใจให้คงอยู่เพื่อสร้างประโยชน์ต่อกระเป๋าเงินของหลายฝ่ายในพื้นที่ขัดแย้งนั้นก็เป็นได้ แต่ที่รู้แน่ชัดก็คือ ประชาชนในพื้นที่กาซ่านั้นเป็นเพียงแค่หมากในกระดานอำนาจและผลประโยชน์นี้

อ่านเพิ่ม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย