สงครามอิหร่าน-อิสราเอล ไทยต้องระวังอะไร?

3 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • เหตุเผชิญหน้าระหว่างอิหร่าน-อิสราเอล ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ โดยเฉพาะราคาพลังงาน และปุ๋ย เพราะไทยนำเข้าจากภูมิภาคตะวันออกกลางมาก ส่งผลให้ค่าครองชีพคนไทยพุ่งทะยาน ซ้ำเติมภาวะข้าวยากหมากแพงให้เลวร้ายมากขึ้น
  • ต้นทุนการขนส่งสินค้าอาจแพงขึ้น และไทยเสี่ยงสูญเสียรายได้จากการค้า รวมทั้งนักท่องเที่ยวในตะวันออกกลางไป หากสงครามลุกลาม อย่างไรก็ดี ในแง่การลงทุนอาจกระทบไม่มากนัก เพราะตะวันออกกลางยังไม่ใช่นักลงทุนหลักของไทยในขณะนี้ แต่อาจกระทบแผนการลงทุนในอนาคต 
  • รัฐบาลจับตาอย่างใกล้ชิด เตรียมทั้งมาตรการพลังงานและขนคนกลับทันที หากเหตุการณ์บานปลาย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

เดือนเมษายนที่ว่าร้อนแล้ว ดูจะยังไม่ร้อนเท่าสถานการณ์ สงครามอิหร่าน-อิสราเอล ที่กำลังเดือดอยู่ในขณะนี้ หลังจากอิหร่านเปิดฉากบอมส์เข้าใส่อิสราเอลเพื่อแก้แค้นกรณีถูกอิสราเอลทิ้งระเบิดใส่สถานกงสุลอิหร่านที่ซีเรีย จนทำให้มีทหารอิหร่านตายไปหลายราย

เหตุใช้กำลังครั้งนี้ได้กลายเป็นที่จับตามองไปทั่วทั้งโลก และหลายฝ่ายกำลังกังวลว่าอาจจะลุกลามไปสู่ภาวะสงครามในภูมิภาคอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งนั่นย่อมกระทบต่อหลายเรื่อง โดยเฉพาะในเชิงเศรษฐกิจ และขณะนี้ก็กำลังจับตาว่าอิสราเอลจะโต้ตอบด้วยความรุนแรงหรือไม่

ประเทศไทยเราแม้จะไม่ใช่คู่ขัดแย้งในครั้งนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าย่อมต้องรับลูกหลงจากวิกฤตความขัดแย้งในครั้งนี้ไปด้วย 

ผลจากความขัดแย้งระหว่างอิหร่าน กับ อิสราเอล จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยแค่ไหน และทางการไทยเตรียมการอะไรเพื่อรับมือไว้แล้วบ้าง พี่ทุยจะมาเล่าให้ฟัง

สงครามอิหร่าน-อิสราเอล กระทบ ราคาน้ำมัน 

ด้วยความขัดแย้งปะทุขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงานของของโลกทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหลวของโลก ทำให้ราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันพุ่งสูงขึ้นทันที โดยราคาน้ำมันดิบโลกในตลาดล่วงหน้าอยู่ที่ 90.56 ดอลลาร์ (ประมาณ 3,350 บาท) ต่อบาร์เรล เข้าไปแล้วในขณะนี้ 

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวจากต่างประทศ โดยเฉพาะจากตะวันออกกลางในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง จึงต้องปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย 

ซึ่งเมื่อน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวแพงขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อเป็นลูกโซ่ทันที เพราะสินค้าและค่าครองชีพต่าง ๆ จะแพงขึ้นทั้งระบบ ซ้ำเติมภาวะข้าวยากหมากแพงในขณะนี้ให้เลวร้ายลงไปอีก

ยังไม่นับรวมมาตรการอุดหนุนน้ำมันดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ที่กำลังจะสิ้นสุดลง และมีสัญญาณที่รัฐบาลอาจจะไม่อุดหนุนต่อ ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลพุ่งขึ้น และน้ำมันดีเซลเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขนส่งสินค้าในบ้านเรา

สินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ 

นอกจากนี้ ราคาปุ๋ยซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตรนานาชนิด อาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย 

เพราะไทยนำเข้าปุ๋ยธรรมชาติและปุ๋ยเคมีจากภูมิภาคตะวันออกกลางสูงอยู่ อาทิ ในปี 2565 ไทยนำเข้าปุ๋ยจากอิสราเอลทั้งสิ้น 64.7 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.3 พันล้านบาท) คิดเป็น 2.1% ของการนำเข้าปุ๋ยทั้งหมด ขณะที่กาตาร์ครองสัดส่วนการนำเข้าสูงถึง 7% ของการนำเข้าปุ๋ยทั้งหมด

ดังนั้นหากความขัดแย้งระหว่างสองชาติบานปลายไปสู่สงครามย่อมทำให้ราคาสินค้าเกษตรและอาหารต้องปรับตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอน  

สงครามอิหร่าน-อิสราเอล กระทบต้นทุนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

ในขณะที่ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอีกด้วย เนื่องจากผู้ขนส่งสินค้าทางเรือต้องเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นในการขนส่งผ่านคลองสุเอช 

ขณะที่บางรายต้องใช้เส้นทางอื่นแทน โดยอ้อมผ่านแหลมกู๊ดโฮปของแอฟริกาใต้ ซึ่งต้องใช้เวลาและระยะที่ทางไกลกว่าเดิม จึงอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าต้องปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วยเพื่อสะท้อนต้นทุนที่เป็นจริง 

ทั้งนี้ กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง 6 ประเทศที่อยู่ในพื้นที่ความขัดแย้ง ประกอบด้วย อิสราเอล ปาเลสไตน์ อียิปต์ จอร์แดน เลบานอน และซีเรีย ถือเป็นหนึ่งในคู่ค้าสำคัญของไทย มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 8.2 หมื่นล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วน 0.8% ของการส่งอกทั้งหมดของไทย 

ขณะที่การนำเข้าของไทยจาก 6  ประเทศดังกล่าวอยู่ที่  797 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท) คิดเป็น 0.3 % ของการนำเข้าทั้งหมด

และหากความขัดแย้งลุกลามไปสู่สงครามเต็มรูปแบบอาจพาลให้การค้าของไทยกับภูมิภาคตะวันออกกลางต้องชะงักลงได้ โดยปัจจุบันไทยมีสีดส่วนการส่งออกไปยังตะวันออกกลางที่ 2.8 ของการส่งออกทั้งหมด ส่วนการนำเข้าคิดเป็น 10.7% ของการนำเข้าทั้งหมดของไทย 

การลงทุนและการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ดี ในแง่ของการลงทุนอาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะมูลค่าการลงทุนทางตรง หรือ FDI จากภูมิภาคตะวันออกกลางมายังไทยยังมีสัดส่วนไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา แต่อาจกระทบต่อโครงการใหม่ ๆ ที่อยู่ในแผนการลงทุนในอนาคตได้

ในแง่ของจำนวนของนักท่องเที่ยวก็อาจพอเบาใจได้บ้าง เพราะตลาดตะวันออกกลางยังไม่ใช่ตลาดนักท่องเทีทยวหลักของไทยในขณะนี้ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 นักท่องเที่ยวอิสราเอลและตัวันออกกลาง ครองสัดส่วนเพียง 2.3% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มาไทย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าตลาดกลุ่มนี้จะไม่ได้มากด้วยจำนวน แต่เมื่อเทียบจากยอดการใช้จ่ายต่อหัวถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยนักท่องเที่ยวทั้งหมด ดังนั้นผลกระทบจากความขัดแย้งอิสราเอลกับอิหร่านอาจทำให้กระทบต่อรายรับการท่องเที่ยวของไทยได้เช่นกัน   

รัฐบาลเตรียมรับมือ สงครามอิหร่าน-อิสราเอล อย่างไร 

ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ทางรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งดูดาย เพราะภูมิภาคนี้บทบาทต่อเศรษฐกิจโลกและไทยไม่น้อย โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นากยรัฐมนตรี ได้สั่งการหน่วยงานทีเกี่ยวข้องทั้งด้านต่างประเทศ เศรษฐกิจ และความมั่นคง จับตาดูความเคลื่อนไหวเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้รายงานตรงต่อนายกรัฐมนตรีทันที หากมีแนวโน้มที่จะกระทบต่อไทย

ขณะที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงงาน ได้เตรียมมาตรการรับมือด้านพลังงานเอาไว้ หากความขัดแย้งปะทุขึ้นจนกระทบต่อราคาพลังงาน  

นอจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมความพร้อมอพยพคนไทยที่ทำงานและศึกษาเล่าเรียนในอิสราเอล และอิหร่าน กลับไทยทันที หากสถานการณ์ลุกลามไปสู่สงคราม  

จึงต้องจับตาดูสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ไว้อย่างใกล้ชิด เพราะแม้จะไม่ได้มีพื้นที่ใกล้ไทย แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและปากท้องของคนไทยมีมากมายเหลือล้นเลยทีเดียว

อ่านเพิ่ม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile