[สรุปโพสต์เดียวจบ] อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งกว่า 70 ปีที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุด

สรุปเหตุการณ์ อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งกว่า 70 ปีที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุด

4 min read  

ฉบับย่อ

  • ปี 1967 เกิดสงคราม 6 วัน ระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับ อิสราเอลเป็นฝ่ายเผด็จศึกในด้วยเวลาเพียง 6 วัน ยึดครองเยรูซาเลมตะวันออก, เวสต์แบงก์, ฉนวนกาซา, พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย
  • ชาวปาเลสไตน์มองว่าเยรูซาเลมตะวันออกจะเป็นเมืองหลวงของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต ในทางกลับกันอิสราเอลมองว่านครเยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของตน
  • ปี 2006 พรรคฮามาสก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองพื้นที่กาซ่า อิสราเอลปิดล้อมเขตกาซ่าเพื่อจำกัดการนำเข้าไฟฟ้า น้ำ อาหาร และยา จึงมีหลายประเทศให้ความสนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม Forbes จัดอันดับให้กลุ่มฮามาสเป็นกองกำลังติดอาวุธที่รวยเป็นอันดับ 3 ของโลก มีรายได้ต่อปี 700 ล้านดอลลาร์

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนไม่ใช่ความขัดแย้งเดียวที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ มีความขัดแย้งบนพื้นที่ตะวันออกกลางระหว่างชนชาติยิวและปาเลสไตน์ที่ดำเนินมาแล้วกว่า 70 ปี และยังไม่มีท่าทีจะหยุดลงเลย บทความนี้พี่ทุยขอพาไปรู้จักกับปัญหาความขัดแย้งระหว่าง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” กัน

จักรวรรดิออตโตมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 จุดเริ่มต้นความขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์”

ความขัดแย้งแสนยาวนานนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิออตโตมันอยู่ฝ่ายผู้แพ้สงคราม ทำให้ดินแดนที่เรียกว่าปาเลสไตน์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองต้องเปลี่ยนมือไปอยู่กับอังกฤษที่เป็นฝ่ายชนะสงคราม ซึ่งในตอนนั้นประชากรที่อาศัยอยู่ในตอนนั้นเป็นชาวอาหรับ โดยมีชาวยิวอาศัยอยู่เป็นส่วนน้อย

ระหว่างช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 1920-1940) อังกฤษกำหนดให้ดินแดนนี้เป็น “รัฐชาติชาวยิว” ส่งผลให้ชาวยิวอพยพเข้าอาศัยมากขึ้น ส่วนใหญ่หนีภัยสงครามจากยุโรป โดยชาวยิวมีมุมมองว่าตนเองมีสิทธิ์ในดินแดนนี้เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษ ส่วนชาวอาหรับก็มีมุมมองว่าเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเขาเช่นกัน ความไม่ลงรอยจึงเริ่มขึ้น

กำเนิดประเทศอิสราเอล บนแผ่นดินปาเลสไตน์

จุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นในปี 1947 เมื่อสหประชาชาติมีมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและชาวอาหรับแยกกัน โดยให้เยรูซาเลมเป็นเมืองนานาชาติ ผู้นำชาวยิวยอมรับข้อตกลงนี้แต่ผู้นำชาวอาหรับไม่เห็นด้วย

ปี 1948 ชาวยิวจัดตั้งประเทศอิสราเอลเพิ่มความไม่พอใจให้ชาวอาหรับเข้าไปอีก ภายหลังถูกแบ่งดินแดนไปปีก่อน สงครามจึงเกิดขึ้นโดยกองทัพจากประเทศอาหรับซึ่งประกอบไปด้วยอียิปต์ เลบานอน ซีเรีย และจอร์แดน ให้การสนับสนุนฝั่งปาเลสไตน์ ช่วงระหว่างนั้นชาวปาเลสไตน์หลายแสนคนถูกบังคับให้อพยพหนีภัยสงคราม

ท้ายที่สุดอิสราเอลเป็นฝ่ายยึดดินแดนส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์ จอร์แดนได้พื้นที่เวสต์แบงก์ อียิปต์ได้ครอบครองกาซา ส่วนเยรูซาเลมฝั่งตะวันตกถูกแบ่งให้อิสราเอล และฝั่งตะวันออกเป็นของจอร์แดน

เยรูซาเลม เมืองศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่ความขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์”

เยรูซาเลมตะวันออกเป็นพื้นที่เขตเมืองเก่ามีความสำคัญต่อ 3 ศาสนา คือ คริสต์ ยูดาย และอิสลาม ชาวคริสต์เชื่อว่านครศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นสถานที่ประสูติของพระเยซู ศาสนายูดายที่ชาวยิวนับถือเชื่อว่ามีกำแพงร้องไห้อันเป็นสถานที่สวดภาวนากับพระเจ้า และเป็นที่ตั้งของมัสยิดอัลอักซอซึ่งเป็นมัสยิดสำคัญลำดับ 3 ของศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุนี้เยรูซาเลมตะวันออกจึงเป็นพื้นที่ความขัดแย้งที่ยอมกันไม่ได้

[สรุปโพสต์เดียวจบ] อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งกว่า 70 ปีที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุด

ด้วยความที่ไม่มีการทำข้อตกลงหลังสงครามจึงนำไปสู่สงครามที่ปะทุขึ้นอีกครั้งในปี 1967 ซึ่งรู้จักกันในนาม สงคราม 6 วัน (Six Day War) อิสราเอลเป็นฝ่ายเผด็จศึกในด้วยเวลาเพียง 6 วัน ยึดครองเยรูซาเลมตะวันออก, เวสต์แบงก์, ฉนวนกาซา, พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย

ชาวปาเลสไตน์ที่อพยพหนีภัยได้อาศัยอยู่ในกาซาและเขตเวสต์แบงก์ รวมไปถึงในประเทศละแวกใกล้เคียงอย่าง จอร์แดน, ซีเรีย และเลบานอน ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ โดยอิสราเอลไม่อนุญาตให้กลับ 

ชาวปาเลสไตน์มองว่าเยรูซาเลมตะวันออกจะเป็นเมืองหลวงของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต ในทางกลับกันอิสราเอลมองว่านครเยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของตน มีเพียงสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรอิสราเอลไม่กี่ชาติที่มองว่าเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล 

ขณะที่ความขัดแย้งดำเนินกว่า 50 ปี มีชาวยิวกว่า 6 แสนคน เข้าไปอาศัยในดินแดนเยรูซาเลมตะวันออก ฝั่งปาเลสไตน์มองว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่อิสราเอลไม่ได้มองเช่นนั้น สร้างความขัดแย้งมากยิ่งขึ้นและไม่มีสัญญาณของสันติภาพเลยแม้แต่น้อย

มีปัญหามากมายที่ยังตกลงกันไม่ได้ เช่น ประเด็นผู้อพยพชาวปาเลสไตน์และชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ การครอบครองพื้นที่เยรูซาเลม และการสถาปนารัฐอิสระปาเลสไตน์เทียบเคียงประเทศอิสราเอล

ปัจจุบันกาซาหนึ่งในพื้นที่ที่ชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่ถูกปกครองโดยกลุ่มติดอาวุธฮามาสซึ่งต่อสู้กับอิสราเอลอย่างดุเดือดอย่างยาวนาน พี่ทุยเลยขอพาไปรู้จักกับกลุ่มฮามาสที่ว่ากันว่ารวยเป็นกลุ่มติดอาวุธที่รวยอันดับที่ 3 ของโลกกันหน่อย

ฮามาส กลุ่มติดอาวุธที่รวยที่สุดอันดับ 3 ของโลก 

กลุ่มฮามาสเกิดขึ้นเมื่อปี 1987 ในช่วงเวลาที่ชาวปาเลสไตน์เรียกร้องให้อิสราเอลคืนเขตเวสต์แบงก์ เยรูซาเล็มตะวันออก และกาซา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สหประชาชาติมีมติให้เป็นของปาเลสไตน์ แต่กลับถูกอิสราเอลยึดไปหลังชนะสงคราม 6 วัน

ปี 1993 อิสราเอลกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) มีข้อตกลงยกพื้นที่กาซ่าให้ปาเลสไตน์ แบ่งเขตเวสต์แบงก์ตามสัดส่วน ชาวปาเลสไตน์ที่ถูกเอาเปรียบมานานจึงมองข้อตกลงนี้ประนีประนอมเกินไป และหันไปสนับสนุนกลุ่มฮามาสที่แข็งกร้าวต่ออิสราเอลมากกว่า PLO

ปี 2006 พรรคฮามาสก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองพื้นที่กาซ่า หลังคว้าที่นั่งในสภาได้ 74 ที่นั่ง ส่วน PLO ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อฟาตาห์ คว้าได้เพียง 45 ที่นั่ง อิสราเอลไม่พอใจกับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยมองว่าฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย

ตั้งแต่ปี 2007 อิสราเอลปิดล้อมเขตกาซ่าเพื่อจำกัดการนำเข้าไฟฟ้า น้ำ อาหาร และยา เพื่อกดดันประชาชนให้ต่อต้านฮามาสที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบาก ส่วนอาวุธที่สนับสนุนโดยอิหร่านซึ่งเคยนำเข้าผ่านชายแดนอียิปต์และซูดานก็ไม่สามารถนำเข้าได้แล้วเมื่อทั้งสองชาติหันมาเป็นพันธมิตรกับอิสราเอล และปิดพรมแดน

ด้วยความเป็นอยู่ที่ยากลำบากทำให้มีหลายชาติที่ไม่ได้มองว่าฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย เช่น การ์ตา และอีกหลายประเทศ ให้ความสนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แต่ไม่มีใครรู้ว่าเงินจำนวนนี้ไปถึงประชาชนมากน้อยแค่ไหน

ปี 2018 Forbes จัดอันดับให้กลุ่มฮามาสเป็นกองกำลังติดอาวุธที่รวยเป็นอันดับ 3 ของโลก มีรายได้ต่อปี 700 ล้านดอลลาร์ แต่กลับมีโรงพยาบาลเพียง 11 แห่ง ที่ดูแลประชาชนในพื้นที่ถึง 2 ล้านคน สวนทางอาวุธที่แกร่งพอจะแลกหมัดกับกองทัพอิสราเอลได้อย่างยาวนาน

อาจพอสรุปได้ว่าด้วยเม็ดเงินรายได้อันมหาศาลขนาดนี้ ไม่แน่ว่าความขัดแย้งในปัจจุบันอาจเป็นความตั้งใจให้คงอยู่เพื่อสร้างประโยชน์ต่อกระเป๋าเงินของหลายฝ่ายในพื้นที่ขัดแย้งนั้นก็เป็นได้ แต่ที่รู้แน่ชัดก็คือ ประชาชนในพื้นที่กาซ่านั้นเป็นเพียงแค่หมากในกระดานอำนาจและผลประโยชน์นี้

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งกว่า 70 ปีที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุด

อ่านเพิ่ม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย