ทำไมไทย "ฟื้นตัวจากโควิด-19" ช้าที่สุดในโลก ?

ทำไมไทย “ฟื้นตัวจากโควิด-19” ช้าที่สุดในโลก ?

3 min read  

ฉบับย่อ

  • ช่วงกลางปี 2563 ไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ดีที่สุดในโลกเหนือกว่าทุกประเทศในเอเชีย จากที่สามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อและมีอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำ สะท้อนว่าระบบสาธารณสุขไทยมีความแข็งแกร่ง
  • แต่การประเมินความเสี่ยงการแพร่ระบาดที่ต่ำเกินไป และความเข้มงวดในการควบคุมโรคที่ลดประสิทธิภาพลงไป ทำให้ภายใน 1 ปี ไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุดในโลก
  • กุญแจสำคัญของประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ฟื้นตัวดีและเร็วที่สุดในโลกอย่าง จีน สิงคโปร์ และอังกฤษ คือ ต้องตรวจได้เร็ว พร้อมกระจายวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

http://rusbankinfo.ru ล่าสุดไทยเราจะต้องมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคใน 13 จังหวัดอีกครั้งนึง แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะ “ฟื้นตัวจากโควิด-19” ได้

รู้หรือไม่ ? ไทยเคยขึ้นที่ 1 ของโลกเรื่องการ “ฟื้นตัวจากโควิด-19”

เชื่อหรือไม่ว่าจากสถานการณ์ตอนนี้ ถ้าย้อนกลับไปเมื่อกลางปี 2563 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้รับคำชมจากนานาชาติว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นประเทศตัวอย่างของความสำเร็จในการควบคุมโควิด-19 หลังจากมีผู้ติดเชื้อใหม่ไม่เกิน 10 รายต่อวัน และไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศเลยเป็นเวลาร่วมหนึ่งเดือน

เมื่อเดือน มิ.ย. 2563 ไทยได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ดีที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก จากการจัดทำดัชนี Global COVID-19 Index (GCI) โดยบริษัทที่ปรึกษาเอกชนด้านเศรษฐกิจและสังคม Performance Management and Delivery Unit (PEMANDU) ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมาเลเซีย ซึ่งไทยเป็นรองเพียงแค่ออสเตรเลียเท่านั้น และทำอันดับสูงกว่าหลายประเทศชั้นนำในเอเชีย เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน รวมถึงมีอันดับที่ดีกว่าประเทศในอาเซียนด้วยกันทั้งหมด

ต่อมาในเดือน ส.ค. 2563 ไทยก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลก ที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ดีที่สุด จากจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศและอัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำมาก และมีความพร้อมด้านระบบสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง จนไทยค่อยๆ ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อยู่เป็นระยะ ตั้งแต่ช่วงเวลานั้นจนถึงปลายปี 2563

ปัจจุบันไทยรั้งท้ายประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19

ทำไมไทย "ฟื้นตัวจากโควิด-19" ช้าที่สุดในโลก ?

เหตุผลหลัก ๆ ที่ไทยกลับมารั้งท้ายก็เพราะว่า ไทยมีการประเมินความเสี่ยง ความรุนแรง และโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสต่ำเกินไป จากผู้ติดเชื้อหลักสิบ จนตอนนี้ขึ้นมาเป็นหลักหมื่น จนถึงตอนนี้ทาง J.P. Morgan บอกว่าไทยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สุดต่อการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) บอกว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ที่ระบาดเร็ว แพร่กระจายง่าย และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้

ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนในไทยอยู่ในระดับต่ำ การจัดหาวัคซีนเป็นไปอย่างล่าช้ากว่าที่คาด ประชาชนจำนวนมากถูกเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปอีก และมีความเป็นไปได้สูงที่ระบบสาธารณสุขไทยที่เคยแข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอาจต้องประสบกับความยากลำบากในการรับมือมากขึ้น

จากรูปด้านบนที่พี่ทุยเอามาให้ดูนั้น มาจากสำนักข่าวชั้นนำจากญี่ปุ่นอย่าง Nikkei Asia ที่ได้จัดอันดับประเทศที่ฟื้นตัวเร็วที่สุดและช้าที่สุดจากโควิด-19 จากการจัดทำดัชนี Nikkei COVID-19 Recovery Index ซึ่งมีการประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่

  1. การบริหารจัดการด้านการติดเชื้อ (Infection Management) ที่ดูจากจำนวนผู้ติดเชื้อและการตรวจหาจำนวนผู้ติดเชื้อ 
  2. การกระจายวัคซีน (Vaccination) ที่ดูจากปริมาณวัคซีนรวมและสัดส่วนประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีน 
  3. การเคลื่อนที่ (Mobility) ที่ดูจากการเคลื่อนที่ของประชาชนและความเข้มงวดของการควบคุมโรค

โดยไทยถูกจัดให้อยู่รั้งท้ายของโลกที่อันดับ 119 จาก 120 ประเทศ หมายความว่า ด้วยการบริหารจัดการด้านการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การตรวจหาจำนวนผู้ติดเชื้อที่น้อย แต่อัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำ และการควบคุมโรคที่ขาดความเข้มงวดและความชัดเจน ทำให้ในรอบหนึ่งปีจากอันดับ 1 ของโลกหล่นมาอยู่ในอันดับรั้งท้ายในปัจจุบัน

จีนเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ดีที่สุดอันดับ 1 ของโลก

สำหรับประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ดีที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก คือ จีน ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันของจีนมีการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลกด้วยจำนวนกว่า 1,400 ล้านโดส มีอัตราการฉีดวัคซีนราว 43% ของประชากร (เทียบกับไทยมีอัตราการฉีดวัคซีนราว 17.63% ของประชากร) รวมทั้งควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันให้ไม่ถึง 20 รายต่อวันมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 แล้ว 

เมื่อต้นเดือน ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา ชาวจีนออกมาเฉลิมฉลองวันชาติจีนโดยไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากมาแล้วร่วม 2 เดือน และยังไม่มีการระบาดระลอกใหม่ด้วย ซึ่งคาดกันว่าจีนจะมีภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) ได้เร็วที่สุดภายในไตรมาส 3 ของปี 2021 นี้

ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยออกมาบอกว่า วัคซีนจากจีนอาจจะมีประสิทธิภาพไม่สูงเมื่อเทียบกับวัคซีนจากสหรัฐฯ แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการกระจายวัคซีน และครอบคลุมประชากรให้ได้เร็วและมากที่สุด

สิงคโปร์ฟื้นตัวได้ดีที่สุดในอาเซียน

สิงคโปร์ เป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ดีที่สุดเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 5 ร่วมของโลก รัฐบาลสิงคโปร์ตั้งเป้าหมายว่า ก่อนวันชาติสิงคโปร์ในวันที่ 9 ส.ค. 2564 ประชากร 2 ใน 3 ของประเทศต้องรับวัคซีนครบทั้ง 2 โดส เทียบกับปัจจุบันที่มีประชากรฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้วราว 40%

ซึ่งทางสิงคโปร์ได้วางยุทธศาสตร์ในการให้ประชาชนต้องอยู่ร่วมกับโควิด-19 นี้ให้ได้ โดยเปรียบโควิด-19 เป็นเสมือนโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา เนื่องจากเชื่อว่าโควิด-19 ไม่มีวันหายไปจากโลกนี้แน่นอน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศให้ได้มากที่สุด ซึ่งมีวัคซีนหลัก คือ Pfizer, Moderna และ Sinovac

รัฐบาลสิงคโปร์บอกว่ากุญแจสำคัญคือ ต้องมีเทคนิคการตรวจหาผู้ติดเชื้อที่ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่เน้นการตรวจแบบ PCR เพราะทำให้ผู้ได้รับการตรวจไม่สบายตัวและต้องรอผลตรวจเป็นเวลานาน นอกจากนี้จะเน้นการตรวจที่บริเวณพรมแดนเป็นหลักเพื่อป้องกันการเข้ามาของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งทางรัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดหาและแจกจ่ายชุดตรวจ Rapid Antigen Test และชุดตรวจหาเชื้อด้วยที่ตัวเองที่บ้านที่ใช้เวลาตรวจและรู้ผลเพียง 1-2 นาทีเท่านั้น

อังกฤษเป็นประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนติด TOP5 ของโลก

อังกฤษเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับไทย แม้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสูงถึง 20,000 – 30,000 รายต่อวัน มากกว่าไทยหลายเท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประสิทธิภาพการตรวจหาผู้ติดเชื้อแต่ละวันที่มากถึงล้านคน มากกว่าไทยที่ตรวจได้วันละ 60,000 คนถึง 20 เท่าตัว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่อังกฤษพบจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง

แต่ถ้าใครได้ติดตามการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 จะเห็นว่า แฟนฟุตบอลและประชาชนส่วนใหญ่แทบจะไม่ใส่หน้ากากอนามัยกันแล้ว เป็นเพราะความเชื่อมั่นของชาวอังกฤษที่มีต่อรัฐบาล ซึ่งอังกฤษนับเป็นประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนมากที่สุดติด TOP5 ของโลกที่เกือบ 70% ของประชากร

ดังนั้น จากการศึกษากรณีตัวอย่างของประเทศชั้นนำที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ดีและเร็วที่สุดของโลก จะเห็นว่า กุญแจสำคัญที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจ รายได้ของภาคธุรกิจ และการใช้ชีวิตของประชาชน คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในประเทศด้วยการจัดหาและเร่งกระจายการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรให้ได้มากที่สุด

พี่ทุยขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้และได้รับการฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างเร็วที่สุดแล้วกันนะ

ฟัง Podcast เพิ่มเติม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย