สรุป ภาษีคริปโต 2567 มีกำไร ต้องยื่นเสียภาษียังไง

สรุป ภาษีคริปโต 2567 มีกำไร ต้องยื่นเสียภาษียังไง

3 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • แม้ว่ากรมสรรพากรยกเว้นการเก็บภาษี ณ ที่จ่าย 15% แต่การซื้อขายคริปโตบนกระดานเทรดก็ต้องยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ตามระบบบันไดภาษีอยู่ดี
  • วิธีการคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี มีสองแบบคือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) และ วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average cost)

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ช่วงนี้คริปโตราคาทูเดอะมูนขนาดนี้ หลายคนคงยิ้มชื่นใจ แต่ ๆ ก็อย่างลืมเผื่อเงินไว้จ่าย ภาษี ภาษีคริปโต 2567 ด้วยละ

ใครต้องจ่าย ภาษีคริปโต 2567 บ้าง 

แม้ว่ากรมสรรพากรยกเว้นการเก็บภาษี ณ ที่จ่าย 15% แต่การซื้อขายคริปโตบนกระดานเทรดก็ต้องยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ตามระบบบันไดภาษีอยู่ดี โดยผู้ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีคริปโต ได้แก่

  • มีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล ผ่านผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
  • เป็นผู้ขุดคริปโทเคอร์เรนซี
  • ได้รับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง
  • ได้รับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล
  • ได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากการถือครองคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล

วิธีการคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี 

สำหรับกำไรที่เกิดจากการเทรดคริปโต ให้เลือกใช้วิธีที่มาตรฐานการบัญชีรับรอง คือ

  1. วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) 
  2. วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average cost)

โดยหากมีคริปโตเคอร์เรนซีหลายประเภท ให้คำนวณต้นทุนแยกตามประเภทคริปโตเคอร์เรนซีนั้น ๆ

คำนวณแบบเข้าก่อนออกก่อน The first-in first-out (FIFO) 

คือ การคำนวณต้นทุนคริปโตเคอร์เรนซี โดยคริปโตเคอร์เรนซีที่ซื้อมาก่อนจะขายออกไปก่อนตามลำดับ จึงเป็นผลให้รายการ คริปโตเคอร์เรนซีที่เหลืออยู่ ณ วันสุดท้ายเป็นคริปโตเคอร์เรนซีที่ซื้อมาครั้งหลังสุด 

สรุป ภาษีคริปโต 2567 มีกำไร ต้องยื่นเสียภาษียังไง

อย่างกรณีนี้ ผู้ที่เทรดคริปโตต้องนำเงินได้จำนวน 121 บาท (100+21) ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร และสำหรับยอดคงเหลือ ปริมาณ 4 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 9 บาท ยังไม่ถือเป็นรายได้ของปีภาษี

คำนวณแบบต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ The moving average cost 

คือ การคำนวณต้นทุนคริปโตเคอร์เรนซี แต่ละประเภทจะกำหนดจากการถัวเฉลี่ยต้นทุนของคริปโตเคอร์เรนซีเดียวกัน ณ วันต้นปีกับต้นทุนของคริปโตเคอร์เรนซีที่ซื้อมาในระหว่างปีซึ่งคำนวณทุกครั้งที่ ซื้อคริปโตเคอร์เรนซี

คำนวณแบบต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่

ผู้มีกำไรจากเทรดคริปโต ต้องนำเงินได้จำนวน 36 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร

ผู้มีเงินได้สามารถเลือกวิธีคำนวณต้นทุนใดก็ได้เมื่อเลือกวิธีการคำนวณต้นทุนวิธีใดแล้วต้องใช้วิธีนั้นตลอดปีภาษี 

ส่วนกรณีคริปโตเคอร์เรนซีแลกเปลี่ยนกับคริปโตเคอร์เรนซี

เช่น นายเอ นำคริปโตเคอร์เรนซี X ปริมาณ 8 เหรียญ ซื้อมามูลค่าเหรียญละ 15 บาท ไปแลกแลกกับคริปโทเคอร์เรนซี Y ปริมาณ 12 เหรียญ ณ วันที่แลก คริปโทเคอร์เรนซี Y มีมูลค่าเหรียญละ 14 บาท คำนวณกำไรหรือขาดทุน ดังนี้

นายเอ ต้นทุน คริปโต X 8 × 15 = 120 บาท ราคาแลกเปลี่ยน คริปโต Y 12 × 14 = 168 บาท เท่ากับ นายเอ ได้ กำไร 48 บาท (168 – 120)

นายเอ มีหน้าที่ นำกำไรจำนวน 48 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร

เงื่อนไขการคำนวณ ภาษีคริปโต 2567

กรณีที่มีผลขาดทุนไม่ว่าจะเกิดจากคริปโตเคอร์เรนซีประเภทใด ๆ ที่เกิดขึ้นในปีเดียวกัน สามารถนำมาหักกลบกับกำไรที่เกิดจากคริปโตเคอร์เรนซีประเภทใดก็ได้ ทั้งนี้เฉพาะธุรกรรมที่กระทำผ่านผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.

ซึ่งต้นทุนให้รวมถึงค่าซื้อและค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล เช่น ค่าธรรมเนียมและ ค่าโอน เป็นต้น

การวัดมูลค่าคริปโตเคอร์เรนซีทั้งการคำนวณต้นทุนและรายได้ให้ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ราคาที่ประกาศโดย Exchange ที่จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต.

อ่านเพิ่ม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile