กนง.คงอัตราดอกเบี้ย

“กนง.คงอัตราดอกเบี้ย” เศรษฐกิจไทยแนวโน้มจะเป็นอย่างไรต่อไป ?

 

ฉบับย่อ

  • กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดต่อไปที่ 0.50%
  • จากภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ถึงจะกลับเข้าสู่ช่วงก่อนโควิด-19 
  • เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงหลายประเด็นที่ต้องจับตา

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

เข้าสู่ช่วงปลายปี ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญทยอยออกกันมาต่อเนื่อง ให้นักลงทุนได้เตรียมวางแผนรับมือกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ก่อนหน้านี้เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาก็มีการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 3/2563 ของไทย และล่าสุดในช่วงบ่ายวันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 7 ของปี 2563 จากทั้งหมด 8 ครั้ง ซึ่งผลการประชุมของ กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ “กนง.คงอัตราดอกเบี้ย” นโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดต่อไปที่ 0.50%

เหตุผลที่ “กนง.คงอัตราดอกเบี้ย” นโยบาย

  1. เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดไว้ แต่ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า และมีความแตกต่างกันมากระหว่างภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในการที่เศรษฐกิจจะกลับมาใกล้เคียงกับช่วงโควิด-19
  2. ตลาดแรงงานยังคงเปราะบางจากรายได้ของแรงงาน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อการบริโภคภายในประเทศ
  3. ภาคการเงินที่แม้จะมีเสถียรภาพ แต่ยังมีความเปราะบางตามภาวะเศรษฐกิจ และความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือน
  4. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2563 มีแนวโน้มติดลบน้อยลงจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น
  5. ค่าเงินบาทเทียบดอลลลาร์สหรัฐปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยต้องจับตาเรื่องใดเป็นพิเศษ

หลังจากที่ GDP ไตรมาส 3/2563 ของไทยที่แม้จะออกมาติดลบ แต่ก็ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 2/2563 ประกอบกับผลการประชุม กนง. ในวันนี้ พี่ทุยมองว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยที่นักลงทุนต้องจับตาและติดตามเป็นพิเศษในช่วงปลายปีแบบนี้ นั่นคือ

  1. ธุรกิจฟื้นตัวแตกต่างกัน แม้ว่า GDP ไตรมาส 3/2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คลายล็อกดาวน์แล้ว เครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยทุกตัวปรับตัวดีขึ้น แต่แน่นอนว่าผลกระทบของโควิด-19 ต่อการฟื้นตัวของธุรกิจไทยหลังคลายล็อกดาวน์ย่อมแตกต่างกัน โดยธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ธุรกิจการขนส่งผู้โดยสาร มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่า เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่า เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำเป็นและของใช้ในครัวเรือน อาทิ ธุรกิจเครื่องดื่ม และธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
  2. การบริโภคภายในประเทศยังอ่อนแอ เนื่องจากในปัจจุบันอัตราการว่างงานของไทยยังอยู่ในระดับสูงที่ราว 2% ประกอบกับหนี้ครัวเรือนไทยที่เพิ่มสูงขึ้น จนแตะระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปีที่ 83.8% ต่อ GDP จะเป็นปัญหาใหญ่เชิงโครงสร้างที่จะลดทอนกำลังซื้อของประเทศในอนาคตได้
  3. ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะนับตั้งแต่ที่ผลการเลือกตั้งปธน. สหรัฐฯ คนใหม่ อย่างโจ ไบเดน ที่มีนโยบายเป็นมิตรกับต่างประเทศ ทำให้เงินจากต่างประเทศไหลเข้าสู่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพี่ทุยได้ลองคำนวณการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทและสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ พบว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาค รองจากสกุลเงินรูเปียห์อินโดนีเซีย และวอนเกาหลีใต้ เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าการที่ค่าเงินบาทแข็งค่ามากแบบนี้ อาจยิ่งซ้ำเติมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกที่รายได้จะลดลงเมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินบาท

การเปลี่ยนแปลงของสกุลเงินเทียบดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ผลการเลือกตั้ง ปธน. สหรัฐฯ ถึงปัจจุบัน

  • รูเปียห์อินโดนีเซีย แข็งค่า 3.4%
  • วอนเกาหลีใต้ แข็งค่า 2.5%
  • บาทไทย แข็งค่า 2.5%
  • หยวนจีน แข็งค่า 2.0%
  • ริงกิตมาเลเซีย แข็งค่า 1.6%
  • ดอลลาร์สิงคโปร์ แข็งค่า 1.4%
  • เยนญี่ปุ่น แข็งค่า 0.6%
  • รูปีอินเดีย แข็งค่า 0.5%
  • ดอลลาร์ไต้หวัน แข็งค่า 0.5%
  • ดองเวียดนาม อ่อนค่า 0.2%
รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply