Yield Farming คืออะไร

Yield Farming คืออะไร ? – ทำไมถึงเป็นขวัญใจของสายฟาร์ม

3 min read  

ฉบับย่อ

  • Yield Farming คือ การนำเหรียญที่เราถืออยู่ใส่เข้าไปใน Liquidity Pool (LP) ของ Defi Platform เพื่อเป็น “สภาพคล่อง” ในการซื้อขายบนโลก DeFi
  • ผลตอบแทนที่เราจะได้รับจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ “ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม” จากการแลกเปลี่ยนใน Liquidity Pool และ “Governance Token”
  • Yield Farming มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ก่อนการลงทุนควรศึกษาข้อมูลการลงทุนให้ดีทุกครั้ง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

Yield Farming คืออะไร ? เป็นคำถามที่นักลงทุนสงสัย แล้วมีส่วนช่วยให้ได้รับผลตอบเเทนขนาดไหนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญ พี่ทุยสรุปมาให้ ไปฟังกัน…

Yield Farming คืออะไร ?

Yield Farming คือ การนำเหรียญที่เราถืออยู่ใส่เข้าไปใน Liquidity Pool (LP) ของ Defi Platform เพื่อเป็น “สภาพคล่อง” ในการซื้อขายบนโลก DeFi โดยผลตอบแทนที่เราจะได้รับจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่

  1. ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมจากการแลกเปลี่ยนใน Liquidity Pool ยิ่งมีคนมาแลกบ่อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยทำให้ผลตอบแทนในส่วนนี้เพิ่มสูงขึ้น 
  2. ผลตอบแทนจาก Governance Token ของ Defi Platform นั่น ๆ ที่จะได้รับเป็นรางวัลเพิ่มเติมจากการนำเหรียญเข้ามาวางเป็นสภาพคล่องให้กับ Liquidity Pool จะได้รับมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของ Defi Platform นั้น ๆ

ทำไม Yield Farming ถึงได้รับความนิยม ?

การลงทุนใน “คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)” ถ้าหากเราถือไว้เฉย ๆ ก็จะไม่ได้ผลตอบแทนหรือกระแสเงินสดใด ๆ กลับเข้ามา แต่การนำเหรียญไปทำ Yield Farming จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่รู้สึกว่าการถือเหรียญไว้เฉย ๆ นั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งก็เปรียบเสมือนสร้าง “กระแสเงินสด” ให้กับผู้ถือเหรียญ แล้วถ้าหาก Governance Token ของ Defi Platform มีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งช่วยทำให้ผลตอบแทนยิ่งสูงขึ้นอีกด้วย

ความเสี่ยงคืออะไร ?

เมื่อขึ้นชื่อว่าการลงทุนยังไงก็มีความเสี่ยง ยิ่งเป็นทางเลือกที่ช่วยทำให้เราได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นก็ย่อมมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการถือเหรียญไว้เฉย ๆ

1. ความเสี่ยงจาก Impermanent Loss

โดยปกติแล้วการทำ ยิลด์ ฟาร์มมิ่ง จะต้องลงเป็นคู่ (Pair) เพื่อให้สามารถเป็นคู่แลกเปลี่ยนใน Liquidity Pool ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของราคาของเหรียญที่เป็นคู่ (Pair) อาจจะทำให้สัดส่วนของเหรียญที่เรานำฝากเข้า Liquidity Pool เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อเวลาที่เราถอนการฝากออกจาก Liquidity Pool ทำให้สัดส่วนเปลี่ยนแปลงจากตอนแรกที่เราฝากเข้าไป สำหรับใครที่ต้องศึกษาเรื่อง Impermanent Loss เพิ่มเติม พี่ทุยแนะนำเลย ที่นี่

2. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา Governance Token

 

แน่นอนว่าสิ่งที่เราคาดหวังไม่ใช่แค่เรื่องของค่าธรรมเนียม แต่ผลตอบแทนอีกส่วนนึงอย่าง Governance Token ของ DeFi Platform ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลตอบแทนหลักของการทำ ยิลด์ ฟาร์มมิ่ง ก็ว่าได้ ซึ่งถ้าหาก Governance Token มีราคาต่ำลงก็จะทำให้ผลตอบแทนยิ่งลดต่ำลงด้วยเช่นกัน

3. ความเสี่ยงจาก Defi Platform 

ความเสี่ยงสุดท้ายนี้ ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีเกิดใหม่แทบทุกวัน บาง Defi Platform ก็ตั้งใจทำจริง สร้างระบบขึ้นมาจริง แต่หลาย ๆ Defi Platform ก็ตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อโกงหรือภาษาในวงการเค้าจะเรียกว่า Rug Pull

หรือในบางครั้ง บาง Defi Platform ไม่ได้มีเจตนาโกง แต่ถูกเจาะเข้าระบบหรือถูกใช้ช่องว่างของระบบทำให้เกิดความเสียหายก็เป็นไปได้เช่นกัน 

สำหรับใครที่ต้องการทำ ยิลด์ ฟาร์มมิ่ง แนะนำว่าก่อนนำเงินไปลงใน Liquidity Pool ใดก็ตามให้เลือก Liquidity Pool ที่มีขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยม ได้รับการตรวจสอบจาก Audit ที่มีชื่อเสียง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าการลงทุนบนโลก DeFi อย่างไรให้ไม่ถูกหลอกพี่ทุยแนะนำให้ฟังเพิ่มเติมจาก YouTube ของ Money Buffalo ใน EP นี้ได้เลย ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย