capital gain คือ

Capital Gain คืออะไร ?

4 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • Capital Gain หรือ ส่วนต่างราคาที่เป็นส่วนกำไรท่ีได้รับ แต่หากเป็นส่วนต่างที่ติดลบกลายเป็นขาดทุน จะเรียกว่า Capital Loss
  • Capital Gain Tax ในหุ้นและกองทุนได้รับการยกเว้น
  • Capital Gain Tax ในคริปโตได้รับการยกเว้นในส่วนของภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำกำไรไปคิดลบกับขาดทุน สุทธิแล้วถือว่าเป็นรายได้ที่ต้องนำไปคิดภาษีเงินได้ 

 


รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

Capital Gain คือ ส่วนต่างราคาในส่วนกำไรที่เราจะได้รับ แต่ถ้าหากติดลบกลายเป็นขาดทุน จะเรียกว่า Capital Loss แต่แท้จริงแล้ว มีความสำคัญกับการลงทุนของเรามากกว่านี้ เพราะเกี่ยวข้องกับ “ภาษี” ของสินทรัพย์ที่เรากำลังลงทุนอยู่ด้วย จะเป็นยังไง ไปฟังกัน 

Capital Gain คืออะไร ? 

ส่วนต่างราคาที่เป็นบวก หรือ “กำไร” จากการลงทุนในสินทรัพย์ที่เกิดขึ้น จากการขายสินทรัพย์นั้นออกไปในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมา หรือ พูดง่าย ๆ ว่าส่วนต่างราคาที่เราได้กำไร หรือ มูลค่าส่วนเกินของทุนที่เราลงทุนไปนั่นเอง 

ภาษีส่วนต่างราคาในหุ้นและกองทุน

นักลงทุนชาวไทยประเภทบุคคลธรรมดาได้รับการ ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขาย “กองทุน” และ “หุ้นสามัญ” ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

แต่อย่างไรก็ตามสำหรับ “ตราสารหนี้” นั้น ผู้ลงทุนจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีประจำปี เพื่อป้องการการเสียภาษีซ้ำซ้อน

แต่หากเป็นผู้ลงทุนประเภทนิติบุคคล จะต้องนำเงินกำไรดังกล่าว รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย 

แต่หากเป็นกรณีที่เป็นการขาย หรือ โอนหลักทรัพย์อยู่นอกตลาดหุ้น ผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี จะต้องเสียภาษีโดยถูกหัก ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีก้าวหน้า และต้องนำเงินได้ไปรวมคำนวณตอนสิ้นปีด้วย

สำหรับผู้ลงทุนต่างประเทศที่ได้รับกำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ หากเป็นบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี 

แต่หากเป็นนิติบุคคลต่างชาติที่ไม่ได้ประกอบกิจการในไทย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% แต่ถ้าเป็นกำไรจากการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งไม่ต้องเสียภาษี 

ภาษีส่วนต่างราคาในคริปโต

กำไรจากการขาย “โทเคนดิจิทัลและคริปโต” ที่ทำธุรกรรมผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. นั้นจะไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับเงิน และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ทำให้ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย รวมไปถึงยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับธุรกรรมที่กระทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ด้วย 

สามารถอ่าน ภาษีคริปโตแบบใหม่ เพิ่มเติมได้

ส่วนภาษีเงินได้นั้น ผู้ลงทุนสามารถ “นำส่วนที่ขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกัน” และนำไปยื่นภาษีเป็นปกติ เนื่องจากถือได้ว่าเป็นรายได้ โดยธุรกรรมที่เข้าข่ายจะเป็นธุรรกรรมที่อยู่บน Exchange ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เท่านั้น

สรุปแล้ว ภาษีส่วนต่างของมูลค่า ทั้งหุ้นและคริปโตที่โดนหัก ณ ที่จ่าย ยังได้รับการยกเว้นในไทยอยู่ แต่รายได้ที่มาจากกำไรของคริปโตต้องนำไปคิดภาษี แต่ของหุ้นนั้นไม่ต้องนำไปคิดภาษี เพราะ ยังได้รับการยกเว้นอยู่นั่นเอง 

เรื่องภาษีเป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องติดตาม ทำความเข้าใจ และยื่นให้ถูกต้องในเวลาที่กำหนด เพราะ หากปล่อยไว้ ไม่สนใจ ก็จะโดนเรียกเก็บย้อนหลัง และเสียมากกว่าที่ควรจะเสียอีกด้วย 

อ่านคำศัพท์การเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก!

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile