"มาตรการปรับเกณฑ์ Short Sell" สิ้นสุดลง ตลาดหุ้นจะลงหรือไม่ ?

“มาตรการปรับเกณฑ์ Short Sell” สิ้นสุดลง ตลาดหุ้นจะลงหรือไม่ ?

3 min read  

ฉบับย่อ

  • การ Short Sell เป็นการยืมหุ้นมาขาย เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถทำกำไรในช่วงขาลงได้
  • หลังจากวันที่ 30 กันยายนเป็นต้นไป มาตรการ Short Sell เพื่อชะลอแรงขายจากปัญหาในช่วงโควิด-19 กำลังจะสิ้นสุดลง ทำให้ต้องระวังแรงขายและความกังวลของนักลงทุนต่อสถานการณ์ที่ยังไม่ดีขึ้น
  • ในมุมกลับกัน Short Sell ส่งผลให้ผู้ที่ทำการ Short Sell ไว้ต้องซื้อหุ้นคืน เป็นอีก 1 แรงซื้อที่จะกลับมาหลังสถานการณ์ดีขึ้น
  • ณ ปัจจุบันหุ้นไทยถูก Short Sell ทั้งหมด 103 หุ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2563)

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

โดยทั่วไปแล้วเวลาที่เราต้องการลงทุนในหุ้น ถ้าเรามองว่าหุ้นจะขึ้น เราจะทำการเข้าซื้อเมื่อราคาหุ้นต่ำและขายเมื่อราคาหุ้นปรับตัวขึ้นสูงกว่าราคาต้นทุนของเรา ก็จะทำให้เราได้กำไร แต่หลายครั้งบางสถานการณ์เราพอจะมองภาพตลาดออกว่าหุ้นตัวดังกล่าวอาจมีการปรับตัวลงแรง ซึ่งโดยปกติแล้วเราไม่สามารถทำกำไรขาลงได้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถทำกำไรในช่วงที่ราคาหุ้นเป็นขาลงได้ ก็คือ Short Sell หรือ SBL ซึ่งในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาหลายคนก็น่าจะเคยได้ยินว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มี “มาตรการปรับเกณฑ์ Short Sell” ออกมา

การ Short Sell หรือ SBL (Securities Borrowing and Lending) คืออะไร ?

Short Sell หรือ SBL คือ การขอ “ยืมหุ้น” จากโบรกเกอร์มาขายก่อน โดยนักลงทุนที่ยืมหุ้นมาขายคาดหวังว่าราคาหุ้นจะลดลงและจะไปซื้อหุ้นในตลาดที่ “ราคาถูกลง” เพื่อมาคืนโบรกเกอร์ในภายหลัง โดยจะได้กำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น

นั่นหมายความว่า หากเรายืมหุ้น PTT มาขายที่ราคา 40 บาท แล้ววันนึง PTT ลงไปเหลือ 30 บาท เราทำการซื้อหุ้น PTT 30 บาทในตลาดคืนมาเพื่อนำไปคืนโบรกเกอร์ที่เคยยืมมานั้น เราก็จะได้กำไร 10 บาทจากส่วนต่างนั่นเอง

ซึ่งการทำ Short Sell จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมมากกว่าการซื้อขายหุ้นธรรมดาทั่วไป ค่ายืมหุ้นจะคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยตามระยะเวลาในการยืมเพิ่มเติมด้วย โดยทั่วไปจะคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 3-6% ต่อปี นั่นหมายความว่า นอกจากจะมีต้นทุนระหว่างการซื้อขายปกติแล้ว ยิ่งเวลาผ่านไปต้นทุนจากอัตราดอกเบี้ยจะยิ่งทำให้ต้นทุนของเราสูงขึ้นอีกด้วย ง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งยืมนานก็จะยิ่งเสียค่าธรรมเนียมที่แพงขึ้นเรื่อย ๆ

เกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมี “มาตรการปรับเกณฑ์ Short Sell” ?

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นได้รับผลจากวิกฤตโควิด-19 พี่ทุยว่าทุกคนต้องจำได้แน่ ๆ ที่มีช่วงนึงตลาด -100 จุดจนกลายเป็นเรื่องปกติ และการหยุดพักการซื้อขายหรือที่เรียกกันว่า Circuit Breaker เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนมีนาคม 2020 ที่ผ่านมา

ซึ่งเมื่อหลาย ๆ คนมองว่าสถานการณ์จะแย่ลงก็มีนักลงทุนหลายคนทำการ Short Sell หุ้นเพื่อทำกำไรจากขาลง แต่การ Short Sell นั้นจะยิ่งส่งผลต่อตลาดทำให้เกิดแรงขายมากกว่าที่ควร ทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้วแย่ลงยิ่งกว่าเดิม

เพื่อลดความผันผวนของตลาดในช่วงดังกล่าว ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงทำการปรับปรุงเกณฑ์ Celling กับ Floor ให้มากรอบที่แคบลง ทำให้ราคาของหุ้นใน 1 วันนั้นสามารถปรับตัวขึ้นลงได้สูงสุดเพียง 15% จะแต่ก่อนที่เป็น 30%

อีกเรื่องที่สำคัญ คือ ราคาขาย Short จาก Zero Plus Tick เป็น Uptick หรือ แปลว่าการจะ Short Sell ได้นั้น “ราคาของหุ้น” ดังกล่าวต้องมากกว่าราคาซื้อขายสุดท้ายเท่านั้น ส่งผลให้นักลงทุนไม่สามารถไล่ราคาขาลงหรือถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้าหุ้นกำลังลงอยู่จะไม่สามารถ Short Sell ได้ (ไม่สามารถโยนช่องซ้ายหรือเททุกราคา) ได้นั่นเอง

ถือเป็นมาตรการที่ช่วยชะลอความร้อนแรงของตลาดขาลงในช่วงนั้น และสร้างปัจจัยบวกในความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนเพิ่มขึ้น

"มาตรการปรับเกณฑ์ Short Sell" สิ้นสุดลง ตลาดหุ้นจะลงหรือไม่ ?

ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2563 มาตรการปรับปรุง Short Sell กำลังจะสิ้นสุดลง

พี่ทุยว่าเมื่อตลาดยกเลิกมาตรการและกลับมาซื้อขายด้วยกฏเกณฑ์ปกติ ความผันผวนจะกลับมา เพราะกรอบ Celling & Floor จะกลับมาที่เดิม อาจจะทำให้ความเชื่อมั่นลดลงและความกังวลเพิ่มขึ้น ก็คล้าย ๆ กับการเอาหมอนนุ่ม ๆ หรือชุดเกราะกันกระแทกออกเลยเกิดความกลัวเป็นธรรมดา 

ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนต้องระวังเลย คือ หุ้นที่ไม่ได้มีพื้นฐานดีแต่มีการปรับตัวขึ้นมาสูงในช่วงก่อนหน้านี้ หุ้นเหล่านี้อาจถูกทำกำไรหรืออาจถูก Short Sell ได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในระยะสั้น โฟกัสที่หุ้นพื้นฐานดีและเน้นการลงทุนระยะยาวจะช่วยให้การลงทุนปลอดภัยยิ่งขึ้น

ถึงแม้ในระยะสั้นนั้นการ Short Sell จะส่งผลให้หุ้นปรับตัวลงแรงกว่าสถานการณ์ปกติได้ แต่ในทางกลับกัน Short Sell เป็นการยืมหุ้นมาและต้องซื้อคืนในภายหลัง อีกทั้งยิ่งยืมนานต้นทุนยิ่งสูงขึ้นด้วย ทำให้ถ้าหุ้นที่เป็นหุ้นพื้นฐานดี เมื่อหุ้นตัวนั้นราคาลงไปต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น นักลงทุนที่ทำการ Short Sell เอาไว้ ก็อยากทำกำไรเพราะกลัวจะมีแรงซื้อกลับมา

ในขณะเดียวกัน นักลงทุนทั่วไปเมื่อเห็นหุ้นพื้นฐานดีราคาปรับตัวลงมาเยอะก็ต่างอยากเข้าไปเก็บของกันทำให้ราคาหุ้นมีแรงซื้อขายกลับมาจาก 2 ฝั่งพร้อมกัน มูลค่าหุ้นเองก็กลับมาที่มูลค่าที่แท้จริงหรือ Rebound กลับมาอย่างรุนแรงเหมือนกัน

ซึ่งในช่วงที่ประกาศ “มาตรการปรับเกณฑ์ Short Sell” ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็สะท้อนให้เห็นการ Rebound ที่ค่อนข้างชัดเจนเลยทีเดียว หลังจากตลาดปรับตัวลงไปต่ำกว่ามูลค่ามาก กลายเป็นปัจจัยบวกให้กับหุ้นพื้นฐานดีให้มีแรงซื้อขายหุ้นกลับมามากกว่าเดิม

หุ้นอะไรบ้างที่สามารถ Short Sell ได้

พี่ทุยลองไปค้นดูว่ามาตอนนี้หุ้นไหนบ้างที่สามารถทำ Short Sell ได้ ทุกคนสามารถเข้าไปดูได้ ที่นี่ เป็นข้อมูลหุ้นที่ถูก Short Sell ไว้ทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีสูงกว่า 103 รายการเลยทีเดียว ช่วงนี้ต้องลงทุนกันอย่างระมัดระวัง อาจจะเกิดความผันผวนของราคาได้เหมือนกัน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply