เงินเดือน 15,000 ออมเงิน

“มนุษย์เงินเดือน” 15,000 บาท เด็กจบใหม่ออมเงินยังไงดี ?

4 min read  

ฉบับย่อ

  • ปัญหาใหญ่ของคนที่เพิ่งเริ่มทำงานมีเงินเดือน 15,000 บาท คือ ไม่รู้จะเก็บเงินยังไงดี แต่ในความเป็นจริงแล้วปัญหาที่สำคัญกว่า คือ ไม่ยอมเงินต้นเก็บเงินสักที
  • เงินเดือนเริ่มต้นไม่ใช่ตัวต้ดสินว่าเราจะมีโอกาสประสบความสำเร็จทางการเงินหรือไม่ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากรณ์ ต้นแบบนักลงทุน VI ของเมืองไทย ก็เริ่มต้นจากวิศวกรโรงงาน เงินเดือน 3,000 บาท จนทุกวันนี้ก็ประสบความสำเร็จในการลงทุนจนมีอิสรภาพทางการเงิน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

หลังจากที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว ก็เข้าสู่ชีวิตจริงที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตการทำงาน ซึ่งหลายคนก็ก้าวเข้ามาเป็น “มนุษย์เงินเดือน” ที่จะต้องเริ่มมีการซื้อบ้าน ซื้อรถ เริ่มค้นหาตัวเอง เพื่อได้มาในสิ่งที่เราต้องการในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า..

หลายคนติดปัญหาค้างคาใจว่า เราได้เงินเดือนแค่ 15,000 บาทเอง จะไปทำอะไรได้มากมาย บางคนในสมัยเรียนพ่อแม่ให้เงินใช้มากกว่านี้อีก พี่ทุยอยากให้ลองอ่านบทความนี้ดีว่าเราควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี เพื่อให้มีเงินเก็บและใช้เงินได้อย่างไม่เดือดร้อน และไม่ต้องไปพึ่งพาใครที่ไหน

การที่เริ่มต้นเงินเดือนที่อาจจะไม่ได้เยอะมาก ก็ไม่ได้เป็นการตัดสินว่าชีวิตเราจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ มหาเศรษฐีของไทยหลายคน ก็เริ่มต้นจากการที่มีเงินเดือนไม่มากมาก่อน เช่น ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากรณ์ ต้นแบบนักลงทุน VI ของเมืองไทย ก็เริ่มต้นจากวิศวกรโรงงาน เงินเดือน 3,000 บาท จนทุกวันนี้ก็ประสบความสำเร็จในการลงทุนจนมีอิสรภาพทางการเงิน ซึ่งสิ่งที่พี่ทุยจะแนะนำมีดังนี้

1. ตั้งเป้าหมายของตนเองเอาไว้

การมีเป้าหมายนั้นจะทำให้เรารู้ว่าเราจะไปทางไหน เราทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร เป้าหมายอาจจะมีได้หลายข้อ แต่เราต้องจัดลำดับความสำคัญและตั้งเป้าหมายทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวเอาไว้ เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะมีคอนโด มีบ้าน มีเงินเก็บเป็นของตนเอง มีความสามารถในการดูแลพ่อแม่ หรือมีเงินใช้ยามเกษียณ เป็นมูลค่าเท่าไหร่ ภายในปีไหนบ้าง

2. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัว

การทำบัญชีดูเหมือนเรื่องเล็ก ๆ แต่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบรรลุเป้าหมายข้อแรก เริ่มทำสรุปจดบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละวันกันเลย จดใส่มือถือก็ได้ หรือจดในแอพพลิเคชั่นก็มีให้เลือกเยอะแยะ ทางที่ดีควรแยกประเภทค่าใช้จ่ายไว้ด้วย เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเช่าห้อง ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงต่าง ๆ เป็นต้น พอครบเดือน อย่าลืมมาสรุปด้วยนะ ว่าเดือนนี้เรามีกระแสเงินสดเป็นบวกหรือลบ บวกก็คือมีเงินเหลือเก็บ ลบคือมีเงินไม่พอเก็บ จนต้องเอาเงินส่วนอื่นมาหมุนแทน

3. ฝึกวินัยการออมเงินเพื่อลงทุนอย่างสม่ำเสมอ

ต่อเนื่องมาจากการทำบัญชีรายรับรายจ่าย พอเราเริ่มเห็นภาพแล้วว่าค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองไปกับอะไรมากที่สุด ส่วนไหนที่สามารถลดทอนรายจ่ายลงได้อีกบ้าง พี่ทุยแนะนำว่าให้ลองแบ่งสัดส่วนการใช้จ่ายดู แล้วนำมาเข้าสู่สมการเงินออม

รายได้ – เงินออม = รายจ่าย

สิ่งที่พี่ทุยอยากฝากเอาไว้สำหรับน้อง ๆ ที่จบใหม่ คือ เราจำเป็นต้องออมก่อนไปใช้จ่ายจริง ไม่อย่างงั้นจะไม่เหลือเงินออม พี่ทุยไม่สามารถบอกได้ว่าเราควรออมเงินขั้นต่ำเท่าไหร่ เพราะฐานเงินเดือนอาจจะไม่เท่ากัน แต่ควรออมเงินเป็นสัดส่วนร้อยละของรายได้ของเงินเดือน เช่น ออมเงินทุกเดือนอย่างน้อย 10% ต่อเดือน ถ้าเงินเดือน 15,000 บาท ก็ต้องออมเงิน 1,500 บาทต่อเดือน แต่ถ้าเงินเดือนปรับเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 บาท เราก็จะต้องออม 2,000 บาท ปรับสัดส่วนการออมตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย

แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วการออมเงิน 10% ต่อเดือนนั้นน้อยเกินไปด้วยซ้ำ พี่ทุยแนะนำให้ลองอ่านบทความ ทำไมการออมเงิน 10% ต่อเดือนถึงน้อยเกินไป ?

4. ศึกษาเรียนรู้ข้อมูลความรู้ด้านการออมการลงทุน

“มนุษย์เงินเดือน” ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ ถือเป็นโอกาสที่ดี เพราะเราควรออมเงินตั้งแต่อายุน้อย ๆ เพื่อโอกาสในการสำเร็จที่ง่ายกว่าการเริ่มต้นทำตอนอายุเยอะแล้ว ถึงตอนนั้นก็อาจจะมีอุปสรรคที่ทำให้เราออมเงินได้ลดน้อยลงเข้าไปอีก

พี่ทุยมีเทคนิคการออมเงินดี ๆ อย่าง เคล็ดลับการออมเงินแบบ JARS SYSTEM มาเล่าให้ฟังกันด้วย

“มนุษย์เงินเดือน”  มีช่องทางการออมอะไรได้บ้าง ?  

กองทุนประกันสังคม

เป็นเงินที่มนุษย์เงินเดือนจะถูกบังคับหักไปทุกเดือนอยุ่แล้ว ส่วนหนึ่งไว้ไปเป็นค่ารักษาพยาบาล ส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินออมระยะยาวและอื่น ๆ ซึ่งถูกกันไว้จัดสรรปันส่วนไปตามวัตถุประสงค์นั้น ๆ อยู่แล้ว พี่ทุยถือว่าเป็นข้อดีของการออมเงินแบบไม่ได้ตั้งใจไปในตัวนะ (ฮ่า)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

เงินออมนี้เป็นกองทุนสมทบที่นายจ้างกับลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อการออมในระยะยาว เงินสะสมจะหักจากเงินของลูกจ้างและถูกสมทบโดยนายจ้างเข้าไปอีกในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง ปกติจะมีให้เลือกว่าอยากออมแบบไหน ออมในตราสารทุน หรือออมในตราสารหนี้ ยังไงก็ตามพี่ทุยแนะนำว่าให้พยายามสมทบยอมหักไปให้เยอะที่สุด เพราะเราจะได้ให้บริษัทช่วยจ่ายสมทบเข้ามาอีกเท่าหนึ่งด้วย

ประกันแบบสะสมทรัพย์

ป็นรูปแบบประกันที่ออกแบบมาให้ผู้ถือกรมธรรม์ออมเงิน พร้อมกับมีความคุ้มครองแถมมาด้วย อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าแบบประกันสะสมทรัพย์จะต้องเป็นการออมเงินยาวนานจนเกือบทั้งชีวิต เพราะผู้ถือกรมธรรม์สามารถเลือกได้เองว่าจะออมกี่ปีดี เช่น อย่างน้อย ๆ เป็นเวลา 5-10 ปี หรือใครอาจจะออมในระยะยาวนานจนกระทั่ง 20-30 ปี เลยก็ได้ สำหรับการซื้อประกันแบบนี้ พูดง่าย ๆ ก็เหมือนการซื้อความคุ้มครอง พร้อมทั้งออมเงินไปในตัวด้วยเลย

กองทุนรวม SSF (Super Savings Fund)

เป็นกองทุนรวมระยะกลาง-ยาวที่เข้ามาแทน LTF โดยถืออย่างน้อย 10 ปีปฎิทิน ถึงจะขายได้ ถ้าขายก่อนจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ด้านลดหย่อนภาษี  เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะกลาง แต่ยังขาดความชำนาญเกี่ยวกับหุ้นรายตัว หรือไม่มีเวลาในการติดตามหุ้นจึงอาศัยผู้จัดการกองทุนช่วยในการดูแลแทน

กองทุนรวม RMF (Retire Mutual Fund)

เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ถือว่าเป็นการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อไว้ใช้ยามเกษียณอายุ อายุครบ 55 ปี แล้วสามารถขายออกมาได้ นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องการลดหย่อนภาษีได้เหมือนกับ LTF ด้วยเช่นกัน

การออมในหุ้น

ทุกวันนี้ทางโบรกเกอร์ มีโปรแกรมออมซื้อหุ้นได้โดยอัตโนมัติทุกเดือน เริ่มต้นเพียงหลักพันก็สามารถลงทุนเพื่อออมในหุ้นพื้นฐานดี ๆ ได้แล้ว บางโบรกเกอร์สามารถซื้อเป็นเศษหุ้นใหญ่ ๆ ได้ด้วย ซึ่งถือว่าช่วยเรื่องการออมเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่เงินยังไม่เยอะได้เป็นอย่างดี

พี่ทุยเชื่อว่าทั้ง 4 ขั้นตอนนี้จะช่วยในการออมเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน 15,000 บาทได้ เพียงแค่เราเริ่มต้นออมเงินเพื่อลงทุน 10% ของเงินเดือน นั่นคือ ออมเงิน 1,500 บาทต่อเดือน ลงทุนไปอย่างต่อเนื่อง ฝึกวินัยในการออมการลงทุนเพื่อเป้าหมายชีวิต ถ้าออมเป็นเวลา 10 ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี เราก็จะมีเงินออมรวมกว่า 104,434 บาท มีเงินหลักแสนได้ภายใน 5 ปี ซึ่งเป็นอะไรที่รวดเร็วถ้าเทียบกับหลายคนที่อาจจะยังไม่มีเงินเก็บหลักแสน แต่มีหนี้เป็นหลักแสนแทน!

แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นที่พี่ทุยอยากแนะนำให้รู้จัก คือ ต้องรู้จักพลังของอัตราดอกเบี้ยทบต้นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ยกให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับที่ 8 ของโลก ยิ่งเราอายุน้อย ยิ่งมีความได้เปรียบ พี่ทุยจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพกัน สมมติว่า..

นาย A

เก็บเงินเดือนละ 1,500 บาท (คิดเป็นปีละ 18,000 บาท)
ระยะเวลา 10 ปี
ผลตอบแทน (โดยเฉลี่ย) 5% ต่อปี
รวมเงินออมที่จะได้ทั้งหมด เท่ากับ 226,402 บาท

นาย B

เริ่มออมเงินช้ากว่า แต่อัดเงินออมเพิ่มเป็น 2 เท่าของนาย A เลย

เก็บเงินเดือนละ 3,000 บาท (คิดเป็นปีละ 36,000 บาท)
ระยะเวลา 5 ปี (เริ่มออมช้ากว่า 5 ปี คือ เริ่มออมในปีที่ 6-10 ของนาย A)
ผลตอบแทน (โดยเฉลี่ย) 5% ต่อปี
รวมเงินออมที่จะได้ทั้งหมด เท่ากับ 198,922 บาท

แม้ว่านาย B จะอัดเงินออมเข้าไปมากกว่านาย A ถึง 1 เท่าตัว แต่จากที่พี่ทุยแสดงให้เห็น พบว่า เงินออมของนาย B ก็จะน้อยกว่านาย A ที่ทยอยออมเงินทุกปี เป็นเวลา 10 ปี เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของการทบต้นจากการลงทุนที่สุดแสนมหัศจรรย์ เปลี่ยนเงินออมให้ทวีคูณหลายเท่าตัวได้

ดังนั้น เราควรจะมาเริ่มต้นลงทุนในตอนนี้กันเลยดีกว่า ยิ่งอายุน้อยก็ยิ่งได้เปรียบ ใครที่เพิ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน 15,000 บาท จบใหม่ ก็อย่าเพิ่งท้อแท้ไป เริ่มต้นลุยกันวันนี้ได้เลย!

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย