ทำไม "ออมเงิน" 10% ต่อเดือน ถึงน้อยเกินไป ?

ทำไม “ออมเงิน” 10% ต่อเดือน ถึงน้อยเกินไป ?

4 min read  

ฉบับย่อ

  • การออมเงิน 10% ของรายได้มาจากการที่รัฐบาลสิงค์โปร์สนันสนุนให้ออมเงิน แต่เขาก็ยังมี Central Provident Fund (CPF) ซึ่งดีกว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ในบ้านเรา
  • เหตุผลที่เงินออม 10% ไม่เพียงพอ เพราะเมื่อมาคิดคำนวณกันจริง ๆ หากเริ่มทำงานตอนอายุ 25 ปี และคิดจะเกษียณตอน 55 ปี ก็อาจต้องมีช่วงชีวิตที่ไม่ได้ทำงานนานถึง 30 ปี (หรือเท่ากับอีกหนึ่งเท่าของเวลาที่มีรายได้จากงาน)

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

พี่ทุยเชื่อว่าหลังจากที่ศึกษาเรื่องลงทุนหรือเรื่องการ “ออมเงิน” มาสักพัก หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ควรออมเงินให้ได้อย่างน้อย 10% ของรายได้” กันบ้าง แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้ว 10% เป็นจำนวนที่ไม่เพียงพอ เพราะโดยทั่วไปแล้ว คนที่สุขภาพการเงินดี เขาออมเงินกันที่ 50% หรือมากกว่านั้น

พอมาถึงตรงนี้ บางคนก็อาจจะไม่เห็นด้วย “อย่ามาเว่อร์!! เขาทำแบบนี้กันทั้งประเทศ อย่ามามองโลกในแง่ร้าย”

ก่อนอื่นพี่ทุยต้องบอกว่าทฤษฎีการเงินหรือแนวคิดทางเงินของแต่ละประเทศจะค่อย ๆ ถ่ายทอดและพัฒนาตามกันมาเรื่อย ๆ กลุ่มที่เป็น Financial Hub ในเอเชียอย่างสิงคโปร์หรือฮ่องกงจะมีการพัฒนาของสินค้าทางการเงินที่รวดเร็วว่าประเทศไทยบ้านเรา ‘แนวคิดทางการเงิน’ ของประเทศไทยจึงแทบจะเลียนแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด แต่จะค่อย ๆ พัฒนาตามหลังกันไปเรื่อย ๆ

ถ้าถามว่า การที่ประเทศไทยมีแนวคิดทางการเงินตามสิงคโปร์เป็นเรื่องผิดหรือเปล่า ก็ต้องตอบเลยว่าไม่ผิด แถมยังเป็นเรื่องที่ดีด้วยซ้ำ เพราะถือว่ามีคนทดลองมาก่อนแล้วว่าใช้ได้ จึงค่อยมาปรับใช้กับประเทศไทยเรา เรื่องการออมเงิน 10% ของรายได้นั้นก็มาจากการที่รัฐบาลสิงค์โปร์สนันสนุนให้ออมเงินเพิ่มนั่นเอง

แต่รู้หรือไม่ว่า สำหรับคนสิงคโปร์ การที่ประชากรบ้านเขาออมเงินแค่เดือนละ 10% ของรายได้มันเพียงพอ เพราะที่ประเทศสิงค์โปร์จะมี Central Provident Fund (CPF) ซึ่งดีกว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ในบ้านเรา

Central Provident Fund (CPF) ของสิงคโปร์ดูแลเรื่องอะไรบ้าง ?

Central Provident Fund (CPF) ก็เหมือนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) บ้านเรานี่แหละ แต่เงินที่ถูกหักเข้า CPF จะเยอะกว่า เพราะเงินที่ถูกหักในแต่ละเดือนจะไปดูแล 3 เรื่อง ได้แก่

  1. เงินออมสำหรับการซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อการลงทุน และเพื่อการศึกษา [Ordinary Account (OA)]
  2. เงินออมการเลี้ยงชีพ รวมถึงการลงทุนเพื่อการเกษียณด้วย [Special Account (SA)]
  3. เงินออมสำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของตนเองและบุตร [Medisave Account (MA)]

โดยทาง Central Provident Fund (CPF) จะกำหนดเลยว่า แต่ละช่วงอายุจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนเป็นจำนวนเท่าไร และแบ่งสรรปันส่วนเข้าแต่ละบัญชีอย่างไรบ้าง

ทำไม "ออมเงิน" 10% ต่อเดือน ถึงน้อยเกินไป ?

เมื่อเทียบกับบ้านเรา กองทุนฯ จะเปิดแบบสมัครใจให้หัก 2-15% แล้วนายจ้างที่เป็นผู้จ่ายเงินสมทบ ก็สามารถกำหนดนโยบายของบริษัทได้ว่าจะจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเท่าไร

นั่นหมายความว่า Central Provident Fund (CPF) ของประเทศสิงค์โปร์เหมือนเป็นระบบที่รวมระหว่างประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบ้านเรา แต่หากลองศึกษารายละเอียดต่าง ๆ แล้ว กองทุนนี้จะสามารถดูแลประชาชนได้ดีกว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + ประกันสังคมบ้านเราอยู่พอสมควร

เหตุผลอะไรที่การ “ออมเงิน” 10% ต่อเดือน สำหรับคนไทยถึงไม่เพียงพอ ?

การที่ประเทศไทยเรานำแนวคิดการออมเงิน 10% ต่อเดือนมาประยุกต์ใช้นั้นไม่เพียงพอเนื่องมาจากระบบรัฐสวัสดิการยังไม่รองรับดีเท่ากับประเทศสิงคโปร์ ก็เลยเป็นคำตอบที่ว่าทำไม เงินออม 10% ถึงไม่เพียงพอกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ

แต่สำหรับคนที่เพิ่งเริ่ม “ออมเงิน” การเริ่มต้นที่ 10% ของรายได้ ก็ถือเป็นอะไรที่ท้าทายแล้วเหมือนกัน เพราะหากเราไม่เคยออมเงินมาเลยก็จะเสมือนว่าเงินหายไป 10% ซึ่งเงินจำนวนนี้น่าจะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ระดับหนึ่ง จนเมื่อเริ่มปรับตัวกับวิถีชีวิตการออมเงินที่ 10% แล้ว ก็ค่อยเพิ่มสัดส่วนการออมเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาจจะรักษาระดับมาตรฐานการใช้ชีวิตไว้เท่าเดิม เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นก็นำส่วนที่เพิ่มเปลี่ยนมาเป็นเงินออม ก็ทำได้เช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าหลังจากที่ออมเงินได้แล้ว ให้นำเงินไปลงทุนควบคู่กันไปด้วย การลงทุนเป็นตัวช่วยทำให้เงินออมของเราเติบโตในระยะยาวได้ดีมาก ๆ อย่างที่รู้กันว่าการฝากธนาคารกินดอกเบี้ยอย่างเดียวในยุคนี้ ไม่สามารถช่วยทำให้เงินเราเติบโตได้สักเท่าไร

แต่สำหรับใครที่ลองมาศึกษาเรื่องการลงทุนแล้วรู้สึกว่าวุ่นวายและยุ่งยาก เราลองมาดูตัวอย่างการคำนวณแบบง่าย ๆ กัน

สมมติว่า เราเรียบจบปริญญาโทพร้อมทำงานตอนอายุ 25 ปี เราก็กระโดดเข้าตลาดแรงงานทันที แล้วตอนนี้ ถ้าหากว่าให้ลองถามเรื่องอายุเกษียณ เชื่อว่าหลายคนคงคิดจะเกษียณตอนอายุ 55 ปี และปัจจุบันอายุขัยของคนเราเฉลี่ยอยู่ที่ 78 ปี แต่เวลาวางแผนเกษียณพี่ทุยมองว่าก็ควรเผื่อ ๆ ไว้ สมมติให้ใช้ชีวิตถึงอายุ 85 ปีก็แล้วกัน

เราลองมาดูความเป็นจริง ไม่ต้องเอาเรื่องการคำนวณมาคิดวิเคราะห์ให้วุ่นวาย เราเริ่มต้นทำงานอายุ 25 ปี และจะหยุดทำงานตอนอายุ 55 ปี แล้วเราจะจากโลกนี้ไปตอนอายุ 85 ปี นั่นหมายความว่าเรามีเวลาทำงาน 30 ปี แต่ต้องใช้ชีวิตอยู่ทั้งหมด 60 ปี

เมื่อลองดูภาพที่เล็กลงมาอีก ก็จะพบว่าเราต้องทำงาน 1 เดือนเพื่อเลี้ยงตัวเราเอง 2 เดือน นั่นเลยเป็นเหตุผลว่า คนที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีถึงต้องออมเงินอย่างน้อย 50% นั่นเอง ดังนั้นการออมเงิน 50% จึงไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงเลย

ในความเป็นจริง เรายังต้องมีเป้าหมายการเงินอื่นอีก ไม่ว่าจะเป็นแผนการบริหารความเสี่ยง เช่น สำหรับคนที่มีลูกก็ต้องมีแผนเตรียมเงินเพื่อการศึกษา หรือเราจะซื้อบ้านก็ต้องใช้เงินเช่นกัน ดังนั้นถ้าเรารู้จักการลงทุน การออม 50% ก็ไม่จำเป็นต้องเอาเงินทั้งหมดไปเก็บไว้เผื่อเกษียณ แต่อาจจะแบ่งเก็บแค่ 20% ของรายได้ แล้วอีก 30% ที่เหลือก็สามารถนำไปลงทุนหรือเตรียมเพื่อเป้าหมายการเงินอื่น ๆ ต่อได้นั่นเอง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย