ทำไมดอกเบี้ยแพง ? ธนาคารได้กำไรมากไปหรือเปล่า?

ทำไมดอกเบี้ยแพง ? ธนาคารได้กำไรมากไปหรือเปล่า?

3 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • ช่วงนี้ดอกเบี้ยเงินกู้แพง แต่ดอกเบี้ยเงินฝากกลับต่ำจนแทบไม่ได้อะไร แต่ธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้กำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยมากนัก
  • วิธีการคิดดอกเบี้ยของธนาคาร ต้องดูตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นคนกำหนด หรือ Risk Free จากนั้นก็ต้องรวมกับ Risk Premium หรือส่วนเพิ่มเพื่อชดเชยความเสี่ยงของหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้น
  • ต้นทุนการบริหารของธนาคารมีสูง ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถนำเงินฝากทั้งหมดปล่อยกู้ได้ กล่าวคือ เมื่อมีคนนำเงินมาฝาก 1 ล้านบาท เงินที่นำไปปล่อยกู้ต่อได้จะไม่ถึง 1 ล้านบาท ซึ่งจำนวน Legal Reserve ธปท. ก็เป็นผู้กำหนดอยู่ที่ 1% และยังมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องส่งเงิน 0.46% ของฐานเงินฝาก

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ช่วงนี้ ทำไมดอกเบี้ยแพง จนคนมีหนี้รู้สึกหนาวสั่น สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยก็ 5 – 6% สินเชื่อส่วนบุคคลก็ 9 – 12% หรือถ้าเป็นสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันพวกบัตรต่าง ๆ อย่างบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดก็โดนไป 18%++ เลย แต่พอหันมองดอกเบี้ยเงินฝาก กลับอยู่แค่ 1-2% เท่านั้น จนหลายคนอดฉงนใจไม่ได้ว่า ธนาคารได้กำไรมากไปหรือเปล่า? จะมีทางไหนที่ลดส่วนต่างดอกเบี้ยลงได้บ้าง การเพิ่มธนาคารเพื่อเพิ่มการแข่งขันจะช่วยได้หรือไม่ ?

วันนี้พี่ทุยขออาสาทุกคนทำความเข้าใจ กลไกการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ธนาคารได้กำไรเยอะจริงหรือเปล่า? ไปฟังกัน

ทำไมดอกเบี้ยแพง ? ธนาคารได้กำไรมากไปหรือเปล่า?

ต้องยอมรับว่า ส่วนต่างระหว่าง “ดอกเบี้ยเงินฝาก” และ “ดอกเบี้ยเงินกู้” หรือ Net Interest Spread ของธนาคารพาณิชย์ในไทยค่อนข้างสูงจริง แต่ส่วนต่างที่มากไม่ได้แปลว่า ธนาคารได้กำไรเยอะ เพราะหากไปดูค่า NIM (Net Interest Margin) ของเหล่าธนาคารไทยจะอยู่ที่ 2.48% เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ไปถึง 3.6% ในปี 2021

ทำไมดอกเบี้ยแพง และส่วนต่างดอกเบี้ยถึงมากขนาดนี้ล่ะ ?

อัตราดอกเบี้ย ใครกำหนด?

วิธีการคิดดอกเบี้ยของธนาคาร

Risk Free

Risk Premium

คำถามนี้ต้องกลับมาดูที่วิธีการคิดดอกเบี้ยของธนาคาร ขั้นแรกธนาคารต้องดูตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นคนกำหนด หรือ Risk Free จากนั้นก็ต้องรวมกับ Risk Premium หรือส่วนเพิ่มเพื่อชดเชยความเสี่ยงของหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้น

ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ปี 2566 นี้ ดอกเบี้ยของธนาคารต่าง ๆ ปรับขึ้นแล้วขึ้นอีก ก็เป็นเพราะทาง กนง. (คณะกรรมการนโยบายการเงิน) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายครั้ง จนล่าสุด เดือน ต.ค. 2566 อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.50% (จากช่วงโควิด-19 ที่อยู่แค่ 0.50%) ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายรอบนี้ก็เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เร่งขึ้นทั่วโลกและไทยเองก็โดนด้วยเช่นกัน

ธนาคารพาณิชย์มีต้นทุนในการบริหารงานค่อนข้างสูง

อีกทั้งต้นทุนในการบริหารของธนาคารก็มีสูง ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถนำเงินฝากทั้งหมดปล่อยกู้ได้ กล่าวคือ เมื่อมีคนนำเงินมาฝาก 1 ล้านบาท เงินที่นำไปปล่อยกู้ต่อได้จะไม่ถึง 1 ล้านบาท ซึ่งจำนวน Legal Reserve ธปท. ก็เป็นผู้กำหนดอยู่ที่ 1% และยังมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องส่งเงิน 0.46% ของฐานเงินฝาก

ดังนั้น ปัญหาที่ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยสูง เพราะ

ข้อแรก หนี้เสีย หรือ NPL ของไทยสูง อยู่ที่ 499.2 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวม 2.73% ในปี 2565 เท่ากับโอกาสที่ปล่อยสินเชื่อแล้วจะไม่ได้คืนมีมาก สัดส่วนดอกเบี้ยที่ต้องคิดเผื่อจึงมากขึ้นตามไปด้วย

ข้อสอง การกำกับดูแลที่เข้มงวดจาก ธปท. ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีต้นทุนในการบริหารงานค่อนข้างสูง จึงต้องตั้งส่วนต่างดอกเบี้ยให้สูง เพื่อชดเชยกับต้นทุนที่เกิดขึ้น

แล้วทำไม ธนาคารแห่งประเทศไทยถึงเข้มงวด ? 

เหตุผลหลัก ๆ เลยมาจากวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่ภาคธนาคารไทยปล่อยกู้มหาศาลจนฟองสบู่แตก และกลายเป็นวิกฤตระดับโลกไป ทำให้ 25 ปีมานี้ การจัดการการปล่อยสินเชื่อของธนาคารรัดกุมอย่างมาก ส่งผลให้ภาคธนาคารไทยแข็งแกร่งมาก แม้ว่าบางช่วงที่เศรษฐกิจผ่อนคลายการคุมการปล่อยสินเชื่อที่ค่อนข้างตึง ก็จะทำให้เศรษฐกิจไม่หมุนเท่าที่ควร

ธนาคารไทย

เพราะฉะนั้นส่วนตัว พี่ทุยเลยมองว่า “การเพิ่มจำนวนธนาคาร คงไม่อาจลดส่วนต่างดอกเบี้ยลงได้ อาจทำได้แค่ชั่วคราว” เช่น เปิดธนาคารใหม่มีการทำโปรโมชั่นในช่วงแรก แต่ในระยะยาวถ้าจะลดส่วนต่างดอกเบี้ยคงจะต้องไปคุมคุณภาพสินเชื่อให้เป็นหนี้เสียน้อยลง และเจรจากับ ธปท. ให้มีการผ่อนผันการกำกับการดูแลในบางส่วน

ในทางกลับกันถ้าเพิ่มธนาคารเพื่อหวังสร้างการแข่งขัน ก็จะต้องมีโปรโมชันมาเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก แล้วลดดอกเบี้ยกู้เพื่อดึงดูดลูกค้า กำไรของธนาคารจะบางลง สมมติเกิดคำนวณผิดพลาด หรือเจอวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารจะล้มได้ง่ายมาก และจะทำให้ต้องเผชิญวิกฤตธนาคารเหมือนสหรัฐฯ ปีนี้

แต่การเพิ่มธนาคารก็มีข้อดี ทุกวันนี้แม้ไทยจะมีการเข้าถึง Mobile Banking ที่สูง แต่ก็ยังมีคนอีกไม่น้อยที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน ยังต้องฝากโอนเงิน ถอนเงิน อยู่ ซึ่งเป็นต้นทุนแฝงในชีวิตทั้งสิ้น หากมีธนาคารมากขึ้น คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น ก็จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ไปได้

อ่านเพิ่ม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile