ประกันสังคมปรับขึ้นเงินสมทบ ม.33 เตรียมจ่ายสูงสุด 1,150 บาท

ประกันสังคมปรับขึ้นเงินสมทบ ม.33 เตรียมจ่ายสูงสุด 1,150 บาท

3 min read  

ฉบับย่อ

  • ร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่ จะปรับขึ้นเพดานเงินสมทบ ของผู้ประกันตน ม.33 จากสูงสุด 750 บาท เป็น 1,150 บาท ภายในปี 2573
  • เพดานฐานเงินเดือนจะปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จากเดิม 15,000 บาท ขยับไปที่ 23,000 บาท
  • เงินสมทบที่มากขึ้น จะทำให้ได้เงินทดแทนจากบางสิทธิของประกันสังคมมากขึ้น

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

พนักงานเงินเดือนทั่วไป ๆ ก็จะต้องถูกหักเงินเดือนส่วนหนึ่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยเพดานสูงสุดตอนนี้คือ 750 บาท คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท แต่เร็ว ๆ นี้ สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ‘ประกันสังคมปรับขึ้นเงินสมทบ’ เป็นส่งเดือนละสูงสุดถึง 1,150 บาท

ประกันสังคมปรับขึ้นเงินสมทบ สูงสุด 1,150 บาท ภายในปี 2573

ล่าสุด กระทรวงแรงงาน ได้ร่างกฎหมายใหม่ เพื่อเตรียมปรับเพิ่มกำหนดค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน ม.33

โดยร่างนี้จะปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจากเดิม 15,000 บาท แบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นสูงสุด 23,000 บาท ตั้งแต่ปี 2573

ฐานเงินเดือนในการคำนวณเงินสมทบจะปรับเพิ่มดังนี้

  • ปี 2567 – 2569 เงินเดือน 1,650 – 17,500 บาท
  • ปี 2570 – 2572 เงินเดือน 1,650 – 20,000 บาท
  • ในปี 2573 เป็นต้นไป  เงินเดือน 1,650 – 23,000 บาท

ผู้ประกันตน ม.33 ต้องจ่างเงินสมทบเดือนละเท่าไหร่?

ตามปกติแล้ว เงินสมทบจะคำนวณจาก 5% ของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับต่อเดือน โดยปัจจุบันฐานเงินเดือนคือ 1,650 – 15,000 บาท ซึ่งสำหรับคนที่ได้ค่าแรงสูงกว่าเพดาน ก็ส่งเงินสมทบแค่เท่ากับเพดานฐานเงินเดือนสูงสุด แต่ถ้ามีการปรับฐานแล้ว ลูกจ้างจะต้องจ่ายเพิ่มดังนี้

  • ปี 2566 เพดานเงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 750 บาท
  • ปี 2567 – 2569 เพดานเงินเดือน 17,500 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 875 บาท
  • ส่วน ปี 2570 – 2572 เพดานเงินเดือน 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,000 บาท
  • ปี 2573 เพดานเงินเดือน 23,000 จ่ายเงินสมทบสูงสุด 1,150 บาท

โดยขณะนี้ กระทรวงแรงงานได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมฉบับใหม่ ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th และจะปิดการรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 28 ก.พ. 2566

จ่ายเงินสมทบมากขึ้น มีประโยชน์หรือไม่?

สิทธิจากประกันสังคมบางกรณีก็ผันแปรตามจำนวนเงินสมทบ เช่น เงินทดแทนเมื่อต้องลางาน หรือว่างงาน เงินบำเหน็จที่จะได้ตอนชราภาพก็ได้มากขึ้นตามเงืนสมทบ

กรณีว่างงาน : จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน จะได้รับเงินชดเชยประกันสังคม ดังนี้

  • ถูกเลิกจ้าง จะได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน หรือ 6 เดือน
  • ลาออก หรือ หมดสัญญา จะได้เงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน

กรณีลาป่วย : หากแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว สามารถขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง 

กรณีชราภาพ : จะได้เงินบำเหน็จและบำนาญ คำนวณจากเงินสมทบทั้งหมดที่ส่ง

  • บำเหน็จ : จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 – 179 เดือน จะได้เงินก้อน = เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน
  • บำนาญ : จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้เงินบำนาญแต่ละเดือน = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x 20% (+ จำนวน % ที่เพิ่มให้อีกปีละ 1.5%) 

อ่านเพิ่ม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply