CPALL ถูกลดเรทติ้ง

“CPALL” ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ เพราะอาจมีหนี้สูงเกินคาด!

3 min read  

ฉบับย่อ

  • Fitch Ratings ปรับลดอันดับเรทติ้ง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL จากเดิม A เป็น A- เนื่องจากมองว่าบริษัทอาจมีอัตราส่วนหนี้ในอีก 2 ปีข้างหน้าเพิ่มเกินกว่าที่คาดและรายได้ปี 2564 อาจน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงบริษัทลูกอย่าง MAKRO ก็โดนปรับลดเรทติ้งเหมือนกัน
  • อันดับเรทติ้งตราสารหนี้มีไว้เพื่อจัดอันดับความเสี่ยงและความน่าเชื่อถือของทั้ง “บริษัท” ผู้ออก และ “ตราสารหนี้” ชุดนั้น ๆ โดยอันดับเรทติ้งจะเรียงจากสูงไปต่ำตามตัวอักษรภาษาอังกฤษจาก A ถึง D
  • การลดอันดับเรทติ้ง คือ การที่ผู้จัดอันดับเรทติ้ง มองว่าบริษัทนั้น ๆ อาจมีความเสี่ยงทางธุรกิจ โครงสร้างรายได้ การเติบโตในอนาคตรวมทั้งความมั่นคงทางการเงินลดลง เพื่อให้ผู้ซื้อตราสารหนี้รู้ว่าบริษัทที่เรากำลังจะตัดสินใจลงทุนนี้มีตรงจุดไหนที่แข็งแกร่งและจุดไหนที่เราต้องระวัง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ล่าสุดบริษัท ฟิทช์ เรตติ้งส์ (ประเทศไทย) หรือ Fitch Rating ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของไทยอย่าง บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ “CPALL” จากเดิม A เป็น A- เพราะจากการระบาดของ โควิด-19 ที่นอกจากจะเป็นพิษต่อชีวิตเราแล้ว ยังทำความเสียทางเศรษฐกิจให้ทั่วโลกอย่างมหาศาล

การปรับลดอันดับเรทติ้งในครั้งนี้ เนื่องจากคาดว่าบริษัทอาจได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 จึงคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินในอีก 2 ปีข้างหน้าจะสูงกว่าที่คาด และรายได้ปี 2564 อาจโตเพียง 7-8% จากเดิมที่คาดไว้ 11-12% นอกจาก CPALL แล้ว MAKRO ที่เป็นบริษัทลูกก็โดนปรับลดเรทติ้งด้วยเช่นกัน แต่จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า

ก่อนจะไปทำความรู้จักกับอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) เรามารู้จักกับตราสารหนี้กันก่อนดีกว่า

ตราสารหนี้ คืออะไร ?

ตราสารหนี้ คือ สินทรัพย์ทางการเงินตัวหนึ่งที่บริษัทผู้ออกมีสถานะเป็นลูกหนี้ และผู้ที่ซื้อ หรือ ถือตราสารหนี้จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” พูดง่าย ๆ ก็คือบริษัทผู้ออก “ตราสารหนี้” มาขอกู้จากผู้ที่ซื้อหรือถืออย่างเรา ๆ นั่นเอง

ทีนี้ทางผู้ออกตราสารหนี้เค้าก็ไม่ได้กู้เราฟรี ๆ นะ ทางผู้ออกที่เป็นลูกหนี้ จะจ่ายดอกเบี้ยและจ่ายเงินต้นคืนให้กับเราเป็นงวด ๆ ตามที่ระบุไว้ให้กับผู้ซื้อหรือถือตราสารหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้

Fitch Rating เป็นคนที่คอยจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งระดับองค์กร โดยดูจากข้อมูลางการเงิน แผนธุรกิจ และแนวโน้มของอุสาหกรรมในอนาคต และระดับตราสารหนี้  

ทำไมตราสารหนี้ต้องมี Credit Rating ?

อันดับเรตติ้งของตราสารหนี้ เป็นเหมือนเกรดที่บอกคุณภาพหรือความน่าเชื่อถือของทั้งบริษัทที่ออกตราสารหนี้แล้วก็ตัวตราสารหนี้เองด้วย

ถ้าเรทติ้งยิ่งสูง ยิ่งแสดงว่ามีสิทธิ์ที่จะเบี้ยวหนี้ หรือ ไม่จ่ายหนี้เราน้อย แต่ถ้าเรทติ้งต่ำหมายถึงบริษัทและตัวตราสารหนี้นั้นมีโอกาสที่ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นได้ตามที่เค้าสัญญากับเราไว้ หรือที่เรียกว่า Default Risk (ใครยังไม่คืนเงินพี่ทุยระวังพี่ทุยลดเรทติ้งนะ!)

เราควรลงทุนในเรทติ้งระดับไหนดีล่ะ ? 

คำถามนี้พี่ทุยว่าขึ้นอยู่ว่าเรารับความเสี่ยงได้ขนาดไหน พี่ทุยจะแบ่งให้เห็นชัด ๆ เป็นสองกลุ่มแล้วกัน 

  1. กลุ่มที่เหมาะกับการลงทุน จัดเป็นกลุ่มที่เหมาะกับการลงทุนเพราะมีความเสี่ยงของบริษัทและตราสารหนี้ค่อนข้างต่ำ เรทติ้งที่สูงที่สุดในกลุ่มนี้ คือ AAA แล้วไล่ลงไปตามตัวอักษรภาษาอังกฤษเลย เช่น AA+ A+ A- B+ ไปถึงถึงเรทติ้งต่ำที่สุดในกลุ่มนี้ คือ BBB- นั่นเอง กลุ่มนี้ความเสี่ยงจะต่ำแต่ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนก็จะไม่ได้สูงมากนะ
  2. กลุ่มที่เหมาะกับการเก็งกำไร  เป็นตราสารหนี้ที่มีเรทติ้งตั้งแต่ BB+ ลงไป จนถึงเรทติ้ง D กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในตัวของบริษัทและตัวตราสารหนี้มากกว่ากลุ่มแรก แต่ก็แลกมาด้วยดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่สูงกว่ากลุ่มแรก

ทั้งสองกลุ่มก็น่าสนใจทั้งคู่นะ แต่อย่างที่พี่ทุยบอกว่าขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรารับได้ ใครที่รับความเสี่ยงได้น้อยพี่ทุยก็แนะนำกลุ่มแรก แต่ถ้าใครอยากได้ดอกเบี้ยที่สูงหน่อยและรับความเสี่ยงได้สูงพี่ทุยก็สามารถลงกลุ่มที่สองได้

พี่ทุยแนะนำว่าสำหรับคนที่เริ่มสนใจลงทุนในตราสารหนี้ ควรศึกษาบริษัทผู้ออกและรายละเอียดของตัวตราสารหนี้ให้ดี และเน้นลงทุนในบริษัทและตราสารหนี้ ที่มีอันดับเรทติ้งไม่ต่ำกว่า BBB- เพราะความเสี่ยงจะค่อนข้างต่ำ

“CPALL” ถูกลดอันดับเรทติ้ง คืออะไร ?

การลดอันดับเรทติ้ง คือ การที่ผู้จัดอันดับเรทติ้ง มองว่าบริษัทนั้น ๆ อาจมีความเสี่ยงทางธุรกิจ โครงสร้างรายได้ การเติบโตในอนาคตรวมทั้งความมั่นคงทางการเงินลดลง เพื่อให้ผู้ซื้อตราสารหนี้รู้ว่าบริษัทที่เรากำลังจะตัดสินใจลงทุนนี้มีตรงจุดไหนที่แข็งแกร่งและจุดไหนที่เราต้องระวัง

การลดอันดับเรทติ้ง ส่งผลอย่างไรต่อ “CPALL” ?

สำหรับ CPALL ที่ถูกปรับลดเรทติ้งลงมาอยู่ที่ระดับ A- พี่ทุยมองว่าว่ายังไม่น่าเป็นห่วง แต่ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดี ถึงแม้การที่โดนปรับลดอันดับเรทติ้ง จะทำให้ราคาของตราสารหนี้ลดลง การที่ราคาลดลงเพราะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นนั่นเอง

ให้นึกถึงเวลาเพื่อน ๆ ไปซื้อโต๊ะที่ร้านเฟอร์นิเจอร์นะ ร้าน A เป็นโต๊ะเกรดดีไม่มีรอยบิ่น ตั้งราคาขายไว้ 1,000 บาท แต่ร้าน A- โต๊ะมีรอยบิ่นนิดหน่อย เค้าเลยต้องลดราคาเหลือ 900 บาท เพราะถ้าขาย 1,000 บาท เท่าร้าน A ใครจะมาซื้อร้าน A- ถูกไหม

แต่ถ้าเราถือตราสารหนี้จนครบอายุที่บริษัทกำหนดพี่ทุยว่าก็ไม่เป็นปัญหานะ ส่วนใครที่ลงทุนในกองทุนรวมที่มีตราสารหนี้ที่ถูกลดราคา กองทุนรวมจะทำการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนใหม่ ก็จะทำให้ราคาของกองทุน (NAV) ลดลงตามไปด้วยนั่นเอง..

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย