"วิกฤตเศรษฐกิจกรีซ" กับการฟื้นตัวในทศวรรษใหม่

“วิกฤตเศรษฐกิจกรีซ” กับการฟื้นตัวในทศวรรษใหม่

3 min read  

ฉบับย่อ

  • จุดเริ่มต้นของ “วิกฤตเศรษฐกิจกรีซ” คือการที่รัฐบาลกรีซเริ่มต้นผิดนัดชำระหนี้ครั้งใหญ่ จากการมีหนี้สินรวมถึง 3.23 แสนล้านยูโร หรือประมาณ 11 ล้านล้านบาท หนี้สินของกรีซค่อย ๆ สะสมจากการขาดดุลทางการค้าอย่างต่อเนื่อง
  • กรีซต้องแก้ปัญหาด้วยการขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF และปรับโครงสร้างการเงินของประเทศ ลดรายจ่ายภาครัฐลง จนสามารถหยุดรับความช่วยเหลือจาก IMF ได้ในปี 2018 ที่ผ่านมา
  • หลังจากเดินหน้าปรับโครงสร้างการเงินของประเทศอย่างจริงจัง เพื่อให้มีสภาพคล่องกลับมาหมุนเวียนได้อีกครั้ง แต่โดยธรรมชาติของผู้ที่ป่วยมานาน เมื่อเริ่มดีขึ้นก็คงจะไม่ได้ลุกมาวิ่งโดยทันที

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

จุดเริ่มต้นของวิกฤตหนี้สาธารณะในประเทศกลุ่มยุโรปเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2008 จากการล่มสลายของระบบธนาคารในไอซ์แลนด์ นำมาซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาค และการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อหลายประเทศในกลุ่มยุโรป อาทิ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ สเปน และกรีซ สถานการณ์หนี้ในขณะนั้นยังไม่ดีขึ้น ก่อนจะค่อย ๆ ลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตในที่สุด ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ‘กรีซ’ กลายมาเป็นประเทศพัฒนาแล้วชาติแรกที่ผิดนัดชำระหนี้ให้กับ IMF ในปี 2015 พี่ทุยจะพาไปย้อนดูว่าจุดเริ่มต้นของ “วิกฤตเศรษฐกิจกรีซ” ว่าเริ่มจากตรงไหนกัน และกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งได้อย่างไร

จุดเริ่มต้นของ “วิกฤตเศรษฐกิจกรีซ”

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2012 รัฐบาลกรีซเริ่มต้นผิดนัดชำระหนี้ครั้งใหญ่ จากการมีหนี้สินรวมถึง 3.23 แสนล้านยูโร หรือประมาณ 11 ล้านล้านบาท หนี้สินของกรีซค่อย ๆ สะสมจากการขาดดุลทางการค้าอย่างต่อเนื่อง หรือก็คือการใช้จ่ายเกินตัว จนทำให้ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ จนสัดส่วนของการขาดดุลเพิ่มขึ้นจากประมาณ 5% ในปี 1999 เป็น 15% ต่อ GDP ในช่วงปี 2008 – 2009 แน่นอนว่าตลาดหุ้นของกรีซได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ จากที่ดัชนี ATHEX เคยพุ่งขึ้นไปแตะระดับ 5,000 จุด ช่วงปลายปี 2007 กลับลดลงมาเหลือเพียง 500 จุด ในช่วงต้นปี 2016

กรีซต้องแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ด้วยการขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF และปรับโครงสร้างการเงินของประเทศ ลดรายจ่ายภาครัฐลง จนสามารถหยุดรับความช่วยเหลือจาก IMF ได้ในปี 2018 ที่ผ่านมา ข้ามมาในปี 2019 สถานการณ์โดยรวมเริ่มผ่อนคลาย พร้อมหนุนให้ตลาดหุ้นกรีซที่เคยดำดิ่งอย่างต่อเนื่องฟื้นตัวกลับมาได้ถึง 43% โดดเด่นที่สุดของยุโรปและของโลก ในปี 2019 ที่ผ่านมา

กลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจที่ดันให้ตลาดหุ้นกรีซปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรง หุ้นของธนาคาร Piraeus วิ่งขึ้น 250% หุ้น National Bank of Greek เพิ่มขึ้น 171% หุ้น Alpha Bank เพิ่มขึ้น 71% รวมถึงหุ้น Eurobank ก็เพิ่มขึ้น 67% หลังจากหลุดพ้นช่วงรัดเข็มขัด รัฐบาลกรีซเริ่มต้นโครงการ ‘Hercules’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปล่อยกู้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เสียในระบบประมาณ 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ในฐานะผู้ป่วยของยุโรป กรีซน่าจะผ่านช่วงชี้เป็นชี้ตายไปได้แล้ว หลังจากเดินหน้าปรับโครงสร้างการเงินของประเทศอย่างจริงจัง เพื่อให้มีสภาพคล่องกลับมาหมุนเวียนได้อีกครั้ง แต่โดยธรรมชาติของผู้ที่ป่วยมานาน เมื่อเริ่มดีขึ้นก็คงจะไม่ได้ลุกมาวิ่งโดยทันที และเมื่อมองไปยังอัตราส่วนหนี้สินสาธารณะต่อ GDP จะเห็นว่ายังคงอยู่ในระดับสูงถึงกว่า 180% ของ GDP

เว็บไซต์ Statista คาดการณ์ว่าหนี้สินสาธารณะของกรีซในปี 2019 – 2020 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.7 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าเมื่อช่วงภาวะวิกฤตด้วยซ้ำ เพียงแต่สภาพคล่องที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระยะหลัง ทำให้กรีซสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามกำหนดอีกครั้ง โดยสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากทางธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งอัดฉีดเม็ดเงินผ่านมาตรการ QE พร้อม ๆ กับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้ต้นทุนในการกู้ยืมต่ำลง ขณะที่ตัวเลขสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ อัตราการจ้างงานของกรีซในปัจจุบันลดลงจากประมาณ 27% ในช่วงปี 2013 มาอยู่ที่ 16.7%

โดยภาพรวมดูเหมือนว่ากรีซกำลังอยู่ในทิศทางของการค่อย ๆ ฟื้นตัวจากอาการโคม่าในปี 2012 ที่ต้องผิดนัดชำระหนี้ ด้วยบทเรียนเกิดขึ้น (เมื่อไม่นาน) มาแล้ว จึงน่าจะพอประคับประคองประเทศให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ แต่ด้วยเศรษฐกิจโลกที่ค่อนข้างเปราะบางในตอนนี้ และเมื่อหันไปทางใดก็เต็มไปด้วยหนี้สินที่แต่ละประเทศต่างก่อขึ้นมาอย่างไม่หยุดหย่อน คงจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เราไม่สามารถนิ่งนอนใจเท่าใดนัก

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply