Retention คืออะไร

Retention คืออะไร ? – ต่างจาก Refinance ยังไง ?

1 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • “Retention” คือ การขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม
  • เราสามารถเดินเข้าไปเจรจากับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินว่าขอลดดอกเบี้ยได้
  • ช่วยลดความยุ่งยากและไม่ต้องมาคำนวณเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

นอกจากการ Refinance แล้ว ผู้กู้ยังมีระบบกู้เงินแบบที่สามารทำให้เราประหยัดรายจ่ายเรื่องดอกเบี้ย และมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากเท่า ซึ่งจะเป็นขั้นตอนก่อนการ Refinance ซึ่งก็ คือ Retention นั่นเอง แล้ว Retention คืออะไร มีข้อดียังไง

Retention Vs Refinance

โดยทั่วไปคนเรามักรู้จักคำว่า รีไฟแนนซ์ (Refinance) คือการนำเงินกู้ก้อนใหม่เพื่อไปชำระคืนกับเจ้าหนี้เดิม เพื่อให้ได้เงื่อนไขการกู้ที่ดีว่าเดิม แต่การรีไฟแนนซ์เองก็มีข้อควรระวังที่ต้องดูให้ดีเช่นกันก็คือ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • ค่าจดจำนองใหม่
  • ค่าอาการแสตมป์
  • ค่าประเมินหลักทรัพย์
  • หรือบางทีอาจจะมีค่าปรับต่าง ๆ เพิ่มเติม
  • ฯลฯ

รวมถึงวิธีการคิดดอกเบี้ยของเงินก้อนใหม่ อาจจะไม่ได้ทำให้เราประหยัดรายจ่ายเรื่องดอกเบี้ยได้อย่างที่เราคิดก็เป็นไปได้ หลาย ๆ ครั้งการรีไฟแนนซ์อาจจะไม่ใช่ทางออก วันนี้จึงมีอีกวิธีนึงที่ช่วยทำให้เราประหยัดรายจ่ายเรื่องดอกเบี้ยลงไปได้ แถมยังไม่วุ่นวายเท่ากับการทำรีไฟแนนซ์ด้วย นั่นก็คือการทำ “รีเทนชั่น (Retention)”

Retention คืออะไร ?

“Retention” คือ การขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม ซึ่งเราสามารถเดินเข้าไปเจรจากับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินว่าขอลดดอกเบี้ยได้ ซึ่งการทำ “Retention” แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้อัตราดอกเบี้ยที่น่าดึงดูดเท่ากับเราไปขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ แต่การทำ Retention จะช่วยลดความยุ่งยากและไม่ต้องมาคำนวณเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้ในเรื่องของระยะเวลาการขออนุมัติสินเชื่อนั้น ต้องใช้เวลาประมาณ 7 วันถึงจะรู้ผล ซึ่งการขออนุมัติ Retention เร็วกว่าการขอรีไฟแนนซ์อย่างมาก เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบประวัติผู้กู้ เนื่องจากธนาคารเดิมมีข้อมูลของเราอยู่แล้ว

ดังนั้นก่อนทำรีไฟแนนซ์ทุกครั้งอย่าลืมเจรจา Retention กับธนาคารเดิมก่อน อาจจะได้เงื่อนไขที่ดีกว่าการรีไฟแนนซ์ก็เป็นไปได้..

ติดตามคำศัพท์การเงินอื่น ๆ ได้ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply