ค่าธรรมเนียมหุ้น

5 สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับ ค่าธรรมเนียมหุ้น

3 min read  

ฉบับย่อ

  • “ค่าธรรมเนียมหุ้น” หลายคนมองข้ามไป ถึงแม้ว่ามันไม่ได้เป็นจำนวนเงินที่มาก แต่เมื่อเราคิดจะเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นแล้ว ก็เป็นสิ่งที่เราควรรู้เหมือนกัน
  • ปกติแล้วการซื้อขายหุ้นโดยทั่วไป เราสามารถซื้อขายหุ้นได้ 2 ช่องทาง คือ ซื้อขายเองผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ ซื้อขายผ่าน marketing ซึ่งแน่นอนว่าค่าธรรมเนียมที่เราซื้อขายเองย่อมต่ำกว่าซื้อขายผ่าน marketing แต่สำหรับการซื้อขายหุ้นด้วยตัวเอง ค่าธรรมเนียมจะแตกต่างตามประเภทบัญชีที่เราใช้

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ค่าธรรมเนียมหุ้น หรือที่บางคนเรียกว่าค่าคอมมิชชั่น เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนที่กำลังเริ่มเล่นหุ้นอาจจะมองข้ามไป เมื่อเราเริ่มต้นลงทุนในหุ้นที่มีการลงทุนผ่านระบบเทรดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Streaming หรือว่า efin ก็ตาม ซึ่งความจริงแล้วมันก็เป็นต้นทุนของเราเหมือนกัน เพราะอย่าลืมว่าไม่มีใครมาเปิดบริการให้เราใช้ฟรีแน่นอน

วันนี้พี่ทุยเลยมี 5 ข้อที่เราควรรู้เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นมาฝากกันสักหน่อย

1. “ค่าธรรมเนียมหุ้น” แตกต่างกันตามแต่ละประเภทบัญชีและวิธีการซื้อขาย

ปกติแล้วการซื้อขายหุ้นโดยทั่วไป เราสามารถซื้อขายหุ้นได้ 2 ช่องทาง คือ ซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ ซื้อขายผ่าน marketing ซึ่งแน่นอนว่าค่าธรรมเนียมที่เราซื้อขายเองย่อมต่ำกว่าซื้อขายผ่าน marketing แต่สำหรับการซื้อขายหุ้นด้วยตัวเอง ค่าธรรมเนียมจะแตกต่างตามประเภทบัญชีที่เราใช้ คือ ถ้าเราซื้อขายผ่านบัญชีเงินสดจะเสียค่าธรรมเนียมสูงกว่าบัญชีแคชบาลานซ์หรือเครดิตบาลานซ์ ไว้พี่ทุยจะลองมาแยกให้ดูว่าบัญชีแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

2. ในค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่เราเสียไปส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายให้ตลาดหลักทรัพย์ด้วย

อย่างที่เรารู้ดีว่าตลาดหลักทรัพย์มีหน้าที่กำกับดูแลและปกป้องนักลงทุนรายย่อย ซึ่งย่อมมีค่าใช้จ่าย แต่เป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือ

  • ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET Trading Fee) : 0.005% ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน
  • ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (TSD Clearing Fee) : 0.001% ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน
  • ค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล : 0.001% ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน

ซึ่งรวมกัน คือ 0.007% เท่านั้นเอง พี่ทุยว่าน้อยมาก ๆ แล้วก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการลงทุนก็ถือว่าไม่เลวเลยทีเดียว

3. นอกจาก “ค่าธรรมเนียมหุ้น” แล้ว เรายังต้องจ่าย VAT อีก 7%

แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะ VAT ไม่ได้เก็บจากจำนวนเงินที่เราซื้อขายหุ้น แต่ VAT จะคิดจากค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่เราจ่ายให้กับโบรคเกอร์รวมกับค่าธรรมเนียมที่เราจ่ายให้ตลาดหลักทรัพย์ สมมติว่าเค้าเสียค่าธรรมเนียม 0.18% เราก็จะเสียค่าธรรมเนียมจริง ๆ  ก็บวกไปอีก 7% ของ 0.18% หรือเท่ากับ 0.1926% เท่านั้นเอง ถ้าคิด 7% จากเงินลงทุน พี่ทุยว่าเล่นหุ้นชาติไหนจะรวยได้ละเนี้ย พี่ทุยคนนึงคงไม่เล่นหุ้นแน่ ๆ

4. เราสามารถต่อรองค่าธรรมเนียมได้ !!

ถ้าเรายิ่งเทรดจำนวนเงินเยอะ ๆ ค่าธรรมเนียมก็จะยิ่งถูกลง ๆ ได้เรื่อย ๆ ขึ้นอยู่การต่อรองกันทั้งนั้น แต่พี่ทุยบอกได้เลยว่ารายย่อยแบบเราไปต่อรองเค้าก็คงไม่ได้ให้โปรโมชั่นอะไรกับเราเท่าไหร่ แต่เผื่อไว้ในอนาคตที่เรารวย ๆ ก็อย่าลืมไปเจรจาต่อรองกันดู

5. มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำหรือเปล่า ?

ส่วนใหญ่โบรคเกอร์ที่คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำจะคิดที่ 50 บาทต่อวัน สำหรับมือใหม่ที่เริ่มลงทุนน้อยๆปริมาณเทรดต่อวันไม่เกิน 25,000 บาท พี่ทุยแนะนำให้ไปลองหาโบรคเกอร์ที่เค้าไม่คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำดีกว่า เพราะสมมติเราเทรดเองต่อวัน 10,000 บาท ค่าธรรมเนียมตามจริงที่เราจะเสียคือ 0.2% ก็คือ 20 บาท แต่โบรคเกอร์ที่เราใช้มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 50 บาท เท่ากับเรามีต้นทุนการซื้อขายเพิ่มขึ้นมา 1.5 เท่าเลยทีเดียว แบบนี้พี่ทุยแนะนำให้หาโบรคเกอร์ที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำจะดีกว่านะ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับ “ค่าธรรมเนียมหุ้น” พี่ทุยหวังว่าจะทำให้เข้าใจตลาดหุ้นและเรื่องค่าธรรมเนียมมากขึ้น ถ้าหากเรารู้เรื่องนี้ แล้วอยากที่จะเริ่มต้นซื้อหุ้นแบบจริงจังแต่ยังไม่รู้ว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นที่ดี ลองเข้ามาอ่านเทคนิคการเลือกหุ้นกันได้เลย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย