ฮ่องกง-จีน-ไทย เสี่ยงวิกฤตการเงิน อสังหาโตแรง หนี้พุ่ง

ฮ่องกง-จีน-ไทย เสี่ยงวิกฤตการเงิน อสังหาโตแรง หนี้พุ่ง

 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ปัญหาเรื่อง หนี้เสีย” ที่พี่ทุยพูดถึงบ่อยๆไม่ใช่เป็นปัญหาที่เกิดในบ้านเราอย่างเดียว แต่ว่าเกิดขึ้นกับหลายประเทศทั่วโลก แต่วันนี้พี่ทุยจะขอมาเน้นที่ทางฝั่งเอเชีย ล่าสุดนักวิเคราะห์จากโนมูระได้ออกมาให้ความเห็นว่า ประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะกลุ่มตลาดเกิดใหม่มีความเสี่ยงจะเจอวิกฤตทางการเงินอีก 3 ปีข้างหน้า โดย 3 อันดับนั้น ได้แก่ ฮ่องกง จีน และไทย

จากการวิเคราะห์ 5 ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คือ

  1. สัดส่วนสินเชื่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนต่อขนาดเศรษฐกิจ (GDP)
  2. สัดส่วนหนี้สินต่อรายได้
  3. อัตราแลกเปลี่ยน
  4. ราคาอสังหาริมทรัพย์
  5. ราคาหุ้น

ฮ่องกงมีความเสี่ยงมากที่สุด 52 ประการจาก 60 ประการ จีนรองลงมาที่ 40 ประการ และไทยเสี่ยงเป็นอันดับ 3 ด้วยความเสี่ยง 26 ประการ

ฮ่องกงและจีนอยู่ในระยะที่อันตราย ถ้ารัฐบาลยังไม่ยอมลดการปล่อยสินเชื่อและลดความร้อนแรงของราคาอสังหาฯในตลาด การจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวก็จะยิ่งทำได้ยาก ดูตัวอย่างในอดีตได้จากปี 2540 ที่มีการปล่อยสินเชื่อง่ายจนเกิดฟองสบู่ในอสังหาฯ ตอนนี้ฮ่องกงมีราคาอสังหาฯแพงที่สุดในโลก มีการขยับราคาขึ้นมาอีก 25% จากเดือน มี.ค. 2559 ในขณะที่จีนก็มีสัดส่วนหนี้ที่สูงมากจนน่ากลัว โดยมีสินเชื่อภาคเอกชนอยู่ที่ 211% ของจีดีพี

พี่ทุยคิดว่า “วิกฤต” ไม่ใช่เรื่องที่เราควรคิดว่าจะเกิดหรือไม่? แต่คำถามที่ควรถามแล้วต่อยอดไปก็คือ ถ้ามันเกิด เราจะรับมือกับมันอย่างไรมากกว่า เพราะถ้าวิกฤตไม่เกิดก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเกิดเราต้องมีแผนรับมือจะดีที่สุด พี่ทุยเชื่อว่ายังไงระบบเศรษฐกิจที่มีการกู้เงินจากอนาคตมาใช้ สักวันนึงถ้าเงินที่กู้มาไม่สามารถสร้างผลตอบได้มากกว่าดอกเบี้ยที่เราจ่ายอยู่ทุกวัน วิกฤตก็ต้องเกิดแน่นอน แล้วถ้าเราเอาแต่กู้หนี้ใหม่ไม่ปิดหนี้เก่าพร้อมดอกเบี้ย นั้นก็คือระเบิดเวลาที่ซุกอยู่ใต้พรม รอมันระเบิดเท่านั้นเอง ซึ่งคงไม่ต้องบอกว่าตอนนี้ประเทศไหนบ้างที่กำลังทำแบบนั้นอยู่

ถ้ามาคิดต่อว่าในฐานะรายย่อยแบบเราๆ จะต้องทำยังไงถ้าเกิดวิกฤตขึ้นมาอีกจริงๆ พี่ทุยคิดว่า สิ่งที่เราน่าจะเตรียมรับมือได้ก็คือ อย่างแรกพยายามอย่าก่อหนี้เพิ่มและลดสัดส่วนหนี้ลงให้มากกว่าปกติ โดยปกติแล้วเราจะมีหนี้ทั่วไปรวมหนี้บ้านแล้ว ผ่อนจ่ายไม่ควรเกินเดือนละ 40% หรือมากที่สุดไม่ควรเกิน 45% แต่ในช่วงที่อะไรก็ดูเสี่ยง พี่ทุยว่าน่าจะลดให้เหลือสัก 15-20% ไม่ควรเกินนี้

แล้วมีเงินเก็บเหลือน่าจะต้องจัดพอร์ตรับวิกฤตที่จะเกิดขึ้นดีดี เราต้องกลับไปศึกษาดูว่าเวลาที่อะไรก็ดูไม่ดี มีสินทรัพย์ไหนบ้างที่ราคาขึ้น หรือราคาไม่ลงบ้าง เพราะกฎเหล็กของโลกใบนี้ก็คือ เงินต้องหาที่อยู่ ถ้าออกจากสินทรัพย์นึงจะต้องไปหาอีกสินทรัพย์นึงเสมอ !!

สุดท้ายพี่ทุยเชื่ออย่างสุดหัวใจว่า วิกฤตที่เกิดจะไม่เกิดในรูปแบบเดิมๆอย่างในอดีตที่ผ่านมา แต่วิกฤตทุกครั้งที่เกิดขึ้นจะซับซ้อนมากขึ้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่าวิกฤตจะมาเมื่อไหร่ เริ่มที่ไหนและจบอย่างไร เพราะมนุษย์เราไม่รู้อนาคต แต่สามารถเรียนรู้วิธีป้องกันจากอดีตได้เท่านั้น

อ้างอิง: โพสต์ทูเดย์

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย