3 เช็คลิสต์สำหรับคนที่เหมาะการลงทุนใน "กองทุนรวม"

3 เช็คลิสต์สำหรับคนที่เหมาะการลงทุนใน “กองทุนรวม”

3 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • ถึงแม้ “กองทุนรวม” เป็นสินค้าการเงินที่สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภทก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนเหมาะที่จะลงทุนกองทุนรวม
  • เพื่อเป็นการเช็คว่าเราเหมาะสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมจริง ๆ หรือเปล่า ลองมาเช็คลิสต์กันหน่อยถ้าเป็นคนแบบนี้ก็แสดงว่าเราเหมาะสำหรับกองทุนรวมจริง ๆ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

อย่างที่เรารู้กันว่าเมื่อได้ชือว่าสินค้าทางการเงินแล้ว ไม่มีสินค้าการเงินตัวไหนที่ดีที่สุดในโลก อารมณ์ประมาณว่าซื้อตัวนี้ตัวเดียวสามารถตอบทุกเป้าหมายการเงินได้ เหมือนเวลาที่เราไปหาหมอ ก็คงไม่มีหมอคนไหนที่จ่ายยาตัวเดียวให้กับคนไข้ทุกคน เพราะไม่มียาแบบนั้นบนโลก เรื่องของสินค้าการเงินก็เช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่กองทุนรวมที่สามารถเลือกกองทุนรวมที่ไปลงในสินทรัพย์ต่างๆ นั่นแปลว่าถึงแม้เป็นกองทุนรวมที่ตอบโจทย์ได้หลากหลายเป้าหมายการเงินมันก็ไม่ได้เหมาะกับคนทุกคนนั่นเอง

คนแบบไหนที่เหมาะกับการลงทุนใน​ “กองทุนรวม” ล่ะ ?

เพื่อเป็นการเช็คว่าเราเหมาะสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมจริงๆหรือเปล่า ลองมาเช็คลิสต์กันหน่อยถ้าเป็นคนแบบนี้ก็แสดงว่าเราเหมาะสำหรับกองทุนรวมจริงๆ เริ่มจาก…

1. เป็นนักลงทุนรายย่อย

เกิดเป็นนักลงทุนรายย่อยที่ไม่มีอำนาจต่อรองอะไร สมมติถ้าเราอยากซื้อพันธบัตรรัฐบาล แน่นอนว่าเราไม่สามารถซื้อโดยตรงกับรัฐบาลได้เลย แบบนี้เราก็ซื้อผ่านกองทุนเป็นหลัก และการลงทุนผ่านกองทุนรวมทำให้เกิดการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมด้วยจำนวนเงินไม่เยอะด้วย ถ้าเงินเราไม่เยอะเราซื้อหุ้นอาจจะได้แค่ไม่กี่ตัว ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงของพอร์ตเราสูงกว่าที่ควรจะเป็นด้วย

ลองคิดดูว่าถ้าเรามีเงินลงทุนประมาณ 50,000 บาทเราอาจจะซื้อหุ้น SCC ได้เพียง 100 หุ้นเงินลงทุนก็หมดแล้ว แต่ถ้าเราใช้ 50,000 บาทไปลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ถือทั้ง PTT SCC AOT ฯลฯ ได้มากกว่า 20-30 หุ้น ซึ่งดีกว่าการลงทุนหุ้นเป็นรายตัวซึ่งความเสี่ยงสูงมาก

2. คาดหวังผลตอบแทนแบบสมเหตุสมผล

ข้อจำกัดของกองทุนรวมอีกอย่างนึงก็คือ ไม่อาจจะทำให้ผลตอบแทนที่สูงมากได้เท่าไหร่ คำว่าสูงของพี่ทุยก็คือ 20-30%++ ในระยะยาว เพราะว่ากองทุนรวมจะมีการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมอยู่เสมอ ไม่ได้โฟกัสลงไปให้หุ้นตัวไหนตัวหนึ่ง (ถ้าไม่ใช่กองทุนชนิดพิเศษหรือว่ากองทุนรวมที่เป็น AI)

ดังนั้นกองทุนรวมโดยทั่วไปจะดีกว่าค่าเฉลี่ยอยู่เล็กน้อยหรือถ้าบางกองที่ทำผลตอบแทนได้ดีมากๆ ก็ทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยเยอะแต่ก็ยังไม่ถึงขนาด 20%+ ในระยะยาวได้ แต่ถ้าใครต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นก็อาจจะต้องไปลงทุนเองในหุ้นรายตัวหรือบางครั้งถ้าคาดหวังผลตอบแทนที่สูงมากก็อาจจะต้องใช้ตราสารอนุพันธ์เข้าช่วย แต่อย่าลืมว่าเมื่อเราคาดหวังผลตอบแทนที่สูง ความเสี่ยงก็ยิ่งสูงขึ้นด้วย แต่พี่ทุยอยากเพิ่มอีกอย่างนึงก็คือเราก็ต้องใช้ความเข้าใจที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

3. ไม่มีเวลาติดตามการลงทุน

คำว่าไม่มีเวลาติดตามการลงทุนของพี่ทุยนั้น หมายถึง ไม่พร้อมที่จะซื้อหรือขายทันทีเมื่อถึงเวลาต้องซื้อขายทันที บางทีการใช้กองทุนรวมพี่ทุยว่าก็น่าจะดีกว่า เพราะถ้าเราลงทุนเองเกิดสมมติว่าหุ้นที่เราถือเป็นตัวเกิดลงเพราะเหตุผลบางอย่างหรือว่าเป็นจังหวะที่ดีที่เข้าซื้อแล้วเราไม่สะดวกที่จะเข้ามาซื้อ ก็จะทำให้เราเสียโอกาสหรือว่าอาจจะขาดทุนอย่างมากก็เป็นได้

นอกจากเวลาซื้อขายอย่างทันทีก็คือ เวลาที่เราจะติดตามข่าวสารด้วย การลงทุนคนที่มีข้อมูลมากกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบจากการลงทุน การอัพเดทข่าวเศรษฐกิจให้ทันอยู่เสมอ รวมถึงการคิดวิเคราะห์ตามทุกวันเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรทำ แต่ถ้าเราไม่สามารถหรือไม่สะดวก พี่ทุยว่าใช้กองทุนรวมดูจะเหมาะสมกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าการลงทุนผ่านกองทุนรวมไม่ต้องติดตามการลงทุนเลยนะ ต้องติดตามเช่นกันแต่ความเข้มข้นหรือความถี่เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนเองนั้นแตกต่างกันพอสมควร

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเช็คลิสต์แบบง่ายๆ ลองทำกันดูเน้อถ้าเป็น “ถูกทั้ง 3 ข้อ” พี่ทุยว่ากองทุนรวมเถอะอย่าคิดเยอะ แต่ถ้าเกิดเป็นถูก 1-2 ข้อเท่านั้น พี่ทุยว่าอาจจะต้องกระจายพอร์ตดู เช่น ลงทุนเอง 50% แล้วลงทุนผ่านกองทุนรวมอีก 50% แล้วลองมาเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ทำได้กันดู ถ้าอันไหนทำได้ดีกว่าก็ค่อยย้ายมาเป็น 100% ก็ยังไม่สาย 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile