ระดับหนี้สาธารณะไทย 50%

“ระดับหนี้สาธารณะไทย” เฉียด 50% รุนแรงแค่ไหน ?

2 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • ระดับหนี้สาธารณะสะสมของประเทศไทยในเดือนกันยายน 2563 อยู่ 49.53% โดยแบงก์ชาติกำหนดกรอบหนี้สาธารณะไว้ไม่ให้เกิน 60% ของ GDP
  • ระดับหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นต่อเนื่องและการกู้เงินฉุกเฉินเพื่อรักษาสภาพคล่องจากโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ชะลอโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ (Mega Project) และทำให้คุณภาพชีวิตโดยรวมแย่ลง
  • การศึกษาพบว่าประเทศที่มีหนี้สาธารณะเกิน 90% ส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศถดถอยแต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนาสัดส่วนของ Dept/GDP เกิน 60% จะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

“ระดับหนี้สาธารณะไทย” ในเดือนกันยายน 2563 อยู่ 49.53% โดยแบงก์ชาติกำหนดกรอบหนี้สาธารณะไว้ไม่ให้เกิน 60% ของ GDP

หนี้สาธารณะ คืออะไร ?

หนี้สาธารณะ คือ หนี้ที่เกิดการการกู้ยืมของรัฐบาล รัฐบาลจะกู้ก็ต่อเมื่อต้องการรักษาสภาพคล่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือมีโครงการ Mega Project ถ้าดูหนี้สาธารณะของประเทศไทยย้อนหลัง 5 ปีพบว่ามีหนี้เพิ่มขึ้นกว่า 5% เลยทีเดียว สาเหตุหนึ่งคือสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้มี

  • การกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 พ.ศ. 2563) 
  • การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 
  • การกู้เงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ 
  • การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

“ระดับหนี้สาธารณะไทย” ต่อ GDP 49.53% รุนแรงแค่ไหน?

หนี้สาธารณะที่สูงขึ้นส่งผลต่อชีวิตประวันของเราโดยตรงเลยล่ะ

  1. ปัญหาเงินเฟ้อ เวลาที่ซื้อของจะรู้สึกว่าของแพงขึ้นแต่แท้จริงแล้วของไม่ได้แพงขึ้นแต่อย่างใด เป็นเพราะอำนาจการใช้จ่ายของเราลดลง 
  2. ภาระค่าใช้จ่ายสินค้าสาธารณะจะตกอยู่ที่เรา เช่น การปรับขึ้นราคาค่ารถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในปีพ.ศ. 2562 การก่อหนี้สาธารณะเพื่อบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจถดถอยจะส่งผลให้ต้องชะลอโครงการ Mega Project เช่น โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อนและแดงเข้มออกไป ประเทศไทยตั้งกรอบหนี้สาธารณะไว้ไม่ให้เกิน 60% ของ GDP หาก Dept/GDP เกิน 60% แล้วสิ่งที่อันตรายสำหรับประเทศกำลังพัฒนาคือหากหนี้สาธารณะสูงเกิน 60% จะทำให้เงินเฟ้อสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 40-60% เป็น 105-119% คิดเป็น 2 เท่าเลยทีเดียว

ผลกระทบของ “ระดับหนี้สาธารณะไทย” ที่มีผลต่อเรา

1.การกู้ยืมเงินก็ต้องมีดอกเบี้ย

ในขณะเดียวกันหากรัฐบาลสร้างหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ทำให้ดอกเบี้ยสะสม ภาษีที่ประชาชนจ่ายส่วนหนึ่งต้องนำไปชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยทำให้เงินภาษีไม่ได้นำไปพัฒนาประเทศแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับประชาชนบางอย่างก็จะล่าช้าหรือต้องหยุดชะงักลงเช่นโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อนและแดงเข้มจากเดิมที่ต้องเปิดในปี 64 เลื่อนเปิดในปี 65 

2.อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมของรัฐสูงขึ้น

ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจสูงตามไปด้วย ธุรกิจจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น  (Cost-Push Inflation) สุดท้ายประชาชนก็ต้องซื้อของแพง

3.รัฐต้องขอเงินกู้จากประชาชนด้วยการขายพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond)

ส่งผลให้คนออมแทนการลงทุน ทำให้การบริโภคสินค้าและบริการลดลง

4.นักลงทุนจะหันมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลและขายหุ้นกู้ของเอกชน

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) เป็นสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง (Free-risk) นักลงทุนจะหันมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลและขายหุ้นกู้ของเอกชน ดังนั้น “ระดับหนี้สาธารณะไทย” ที่สูงจะส่งผลต่อการลงทุนของภาคเอกชนเกิด Crowding-out effect ส่งผลให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ก็เหมือนกับรัฐบาลปล่อยสินเชื่อที่ผลตอบแทนสูงจนกีดกันไม่ให้เอกชนสามารถลงทุนได้ ผลที่เกิดขึ้นทำให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศลดลง

5.ความน่าเชื่อถือในความสามารถชำระหนี้ลดลง

ถ้ารัฐบาลมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ทำให้ความน่าเชื่อถือในความสามารถชำระหนี้ลดลง ส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุน ทำให้สูญเสียอำนาจต่อรองทางการค้าและลงทุนในประเทศจนถึงขั้นที่นักลงทุนถอนทุนไม่ลงทุนในประเทศไทยต่อ แม้ตอนนี้หน่วยงานที่เข้ามาจัดอันดับความน่าเชื่อถือ “Credit Rating Agency” ได้แก่ S&P Moody’s และ Fitch ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+

และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทย มีภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) ที่แข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด แต่ประเทศไทยก็ถูกปรับคะแนนความน่าลงทุนจาก Positive (บวก) เหลือเพียง Stable (คงที่)

ความน่ากังวัลของหนี้สาธารณะประเทศไทย คือ ประสิทธิภาพการใช้จ่ายสาธารณะ

งานศึกษาของต่างประเทศพบว่าค่าเฉลี่ยหนี้สาธารณะอยู่ที่ 80% สำหรับประเทศที่มีหนี้สาธารณะเกิน 90% ส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศถดถอย แต่จะบอกว่าประเทศไทยปลอดภัยดีก็คงไม่ถูกต้องนัก เพราะเราเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความอ่อนไหวทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว 

ถ้าหากรัฐบาลยังไม่จัดการกับโครงสร้างหนี้จะทำให้ประมาณการว่าในปี  2588 หนี้สาธารณะของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 148.9 ต่อ GDP ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 347 ในปี 2608” -ฐิติมา ชูเชิดและคณะ เมื่อปี 2557-

สำหรับประเทศไทยที่มีกรอบหนี้สาธารณะไม่เกิน 60% กรอบนี้มีไว้เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตของประชาชนมากกว่าการป้องกันความเสียหายจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้นกว่าน่ากลัวของหนี้สาธารณะที่แต่ 50% ในปี 2563 นี้ ในปี 2564 อาจทะลุเกินกรอบเป้าหมายหนี้สาธารณะที่วางไว้ได้ในตอนนั้นที่อำนาจการใช้จ่ายของเราลดลง ประกอบกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงอยู่แล้วจะทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงได้

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile