การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ กระทบ "เศรษฐกิจไทย" มากแค่ไหน ?

การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ กระทบ “เศรษฐกิจไทย” มากแค่ไหน ?

3 min read  

ฉบับย่อ

  • จากแบบจำลองโรคระบาด SEIR ที่เชื่อมโยงเข้ากับผลกระทบทางเศรษฐกิจชี้ให้เห็นว่าจากข้อมูลการระบาดของโรคใน 27 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอัตราการติดเชื้อหรือการฉีดวัคซีน จะส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 2021 อาจจะหดตัวคิดเป็นสัดส่วน 2.25% ของ GDP ในช่วงก่อนการระบาด
  •  อย่างไรก็ดี หากในกรณีที่เกิดการระบาดรอบใหม่ชั่วคราวหรือการฉีดวัคซีนต้องสะดุด เศรษฐกิจในปี 2021 หดตัวคิดเป็นสัดส่วน 3 – 3.75% ของ GDP ในช่วงก่อนการระบาด และหากมีการกลายพันธุ์ของโรคจนวัคซีนใช้ไม่ได้ผลหรือเกิดการระบาดในวงกว้างอีกครั้ง เศรษฐกิจอาจจะหดตัวไปได้ถึง 5% และยังไม่รวมการหดตัวที่จะต่อเนื่องไปอีกหลายปีในอนาคตด้วย
  • สำหรับเศรษฐกิจไทย เรียกว่าน่าเป็นห่วงที่สุดในบรรดา 27 ประเทศ โดยในกรณีฐานเศรษฐกิจไทยอาจจะหดตัวคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 8% ของ GDP ในช่วงก่อนการระบาด และในกรณีที่มีการระบาดซ้ำ (ซึ่งกำลังเกิดขึ้น) หรือการฉีดวัคซีนล่าช้าออกไปอีก เศรษฐกิจไทยอาจจะหดตัวเพิ่มขึ้นเป็น 9% ของ GDP
  • เทียบกับประเทศอื่น ๆ อย่างมาเลเซียและอินโดนิเซีย ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในกรณีฐาน (Base) จะอยู่ที่ประมาณเกือบ 3 – 4% และในกรณีอื่น ๆ จะอยู่ประมาณ 6 – 7% ขณะที่สิงคโปร์ผลกระทบจะอยู่ที่ประมาณ 2% และ 3 – 4% 9 ตามลำดับ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ขณะที่การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 กำลังรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา รวมไปถึงประเด็นปัญหาเรื่องการจัดหาวัคซีนที่ล่าช้า หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่าแล้ว “เศรษฐกิจไทย” หลังจากนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง ? วันนี้พี่ทุยจะเล่าถึงงานวิจัยหนึ่งที่พยายามตอบคำถามนี้ โดยอาศัยแบบจำลองโรคระบาด (SEIR Model) ที่นิยมใช้กันในทางระบาดวิทยา เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการระบาดในปัจจุบันเข้ากับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นตามมาในกรณีต่าง ๆ

สิ่งที่พี่ทุยคิดว่า มีความน่าสนใจสำหรับงานวิจัยนี้ คือ การพยากรณ์ในลักษณะ “Nowcast” คือ การใช้ข้อมูลในปัจจุบันมาทำนายผลกระทบของเศรษฐกิจในอนาคตโดยทันที ไม่ว่าจะเป็นอัตรการติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิต อัตราการฉีดวัคซีน และระดับการเคลื่อนที่ (Mobility Index) ของประชาชนที่มีความถี่ระดับรายวัน ขณะที่การประมาณการณ์ GDP ตามปกติจะมักใช้ข้อมูลดีที่สุด คือ ระดับรายเดือนเท่านั้น ซึ่งทำให้การทำนายมักจะล่าช้าไม่ทันการณ์ 

โควิด-19 กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก 

จากผลการศึกษาใน 27 ประเทศจากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 10 มีนาคม 2021 พบว่าค่ามัธยฐาน (Median) ของการหดตัวของเศรษฐกิจ (Output Loss) เมื่อเทียบกับ GDP ในช่วงก่อนการระบาดจะอยู่ที่ประมาณ 2.25% ของ GDP สำหรับกรณีฐาน (Base Case) ที่มีการฉีดวัคซีนในอัตราปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปรับตัวดีขึ้นอย่างมากจากปีที่แล้วที่หดตัวไปกว่า 8% อย่างไรก็ดี ในกรณีที่อัตราการฉีดวัคซีนลดลงกว่าที่เป็นอยู่หรือมีการระบาดระลอกใหม่แบบชั่วคราวจะส่งผลให้การหดตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็น 3 – 3.75% ของ GDP และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด คือ มีการระบาดระลอกใหม่ในวงกว้างหรือเกิดการกลายพันธุ์จนวัคซีนที่มีอยู่ไม่สามารถป้องกันไวรัสได้อีกต่อไป การหดตัวของเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นเป็น 5% ของ GDP

โควิด-19 ระลอกใหม่กระทบ “เศรษฐกิจไทย” มากแค่ไหน ?

สำหรับเศรษฐกิจไทยดูน่าเป็นห่วงกว่าประเทศอื่น ๆ ค่อนข้างมาก โดยในกรณีฐานที่อัตราการฉีดวัคซีนยังคงที่แบบนี้เศรษฐกิจไทยจะสูญเสียเกือบ 8% เทียบกับ GDP ในช่วงก่อนการระบาด ขณะที่ในกรณีที่เลวร้ายกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่อัตราการฉีดวัคซีนลดลง มีการระบาดใหม่ทั้งแบบชั่วคราวและในวงกว้าง (ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน) เศรษฐกิจไทยจะสูญเสีย GDP ไปประมาณ 9%

เมื่อเทียบกับกับประเทศอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกับไทยอย่างมาเลเซียและอินโดนิเซีย ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในกรณีฐาน (Base Case) จะอยู่ที่ประมาณเกือบ 3 – 4% และในกรณีอื่น ๆ จะอยู่ประมาณ 6 – 7% ขณะที่สิงคโปร์ผลกระทบจะอยู่ประมาณ 2% และ 3 – 4% ตามลำดับ ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศยังค่อนข้างได้รับผลกระทบแตกต่างกันไป อย่างเกาหลีใต้ผลกระทบจะอยู่ประมาณ 1 – 2% ในทั้ง 3 กรณี ส่วนสหรัฐอเมริกาจะอยู่ประมาณ 2% และ 5% ตามลำดับ

พี่ทุยคิดว่าอาจจะต้องคอยติดตามต่อไป ว่าสถานการณ์การระบาดรอบ 3 ของไทยจะเป็นอย่างไร ถ้าหากรุนแรงมากขึ้นกว่านี้ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจจะมากกว่าที่ประเมินไว้เบื้องต้น ซึ่งข้อดี คือ แบบจำลองนี้จะสามารถทยอยอัพเดทได้ทันทีด้วยข้อมูลใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาเรื่อย ๆ หลังจากนี้

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย