5 กับดักจิตวิทยา ต้นตอปัญหา "การลงทุน"

5 กับดักจิตวิทยา ต้นตอปัญหา “การลงทุน”

3 min read  

ฉบับย่อ

  • ในโลกของการลงทุน การเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะนี่คือเครื่องมือที่จะช่วยกำหนดทิศทางการลงทุนให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
  • ในทางกลับกันหากไม่เข้าใจจิตวิทยาการลงทุน ก็อาจจะเป็นกับดักที่ล่อลวงให้การลงทุนผิดพลาดง่าย ๆ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

จิตวิทยา คือ ศาสตร์ในการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนการคิด ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกมา ในโลกของ “การลงทุน” การเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะนี่คือเครื่องมือที่จะช่วยกำหนดทิศทางการลงทุนให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ในบทความนี้พี่ทุยจะมาพูดถึง กับดักจิตวิทยาที่เป็นต้นตอปัญหาของการลงทุน

ในทางกลับกันหากไม่เข้าใจจิตวิทยา “การลงทุน” ก็อาจจะเป็นกับดักที่ล่อลวงให้การลงทุนผิดพลาดง่าย ๆ หากลองพิจารณาดูแล้ว กับดับทางจิตวิทยาที่มักจะพบกันได้บ่อย ๆ และนำมาซึ่งปัญหาการลงทุน ได้แก่

Anchoring

หรือ การทอดสมอทางความคิด เป็นสถานการณ์นักลงทุนยึดติดอยู่กับความคิดใดความคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ อย่างเช่นการยึดติดกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนดีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนเกิดความมั่นใจ (ที่มากจนเกินไป) ต่อหุ้นตัวนั้น แต่อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และนั่นเองทำให้นักลงทุนที่ไม่ทันระวัง เมื่อสถานการณ์ในอนาคตพลิกมาเป็นตรงข้าม ความเสียหายก็มักจะตามมาได้ การหลีกเลี่ยงกับดักข้อนี้ จำเป็นจะต้องรักษาความยืดหยุ่นทางความคิดเอาไว้ พร้อมกับการเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เสมอ และที่สำคัญคือการทำความเข้าใจว่าบริษัทที่ดีในวันนี้ก็มีโอกาสจะล้มหายไปได้เช่นกัน ดังที่เห็นกันมาแล้วนักต่อนัก

Sunk Cost and Loss Aversion

หรือ การไม่ยอมรับความผิดพลาดและยังคงนำความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้วมามีส่วนร่วมกับการตัดสินใจอนาคต การตัดสินใจที่ผิดพลาดไปแล้วก็เหมือนกับ ‘Sunk cost หรือ ต้นทุนจม’ ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์นั้นไม่ควรจะนำต้นทุนนี้มาคิดอีกแล้ว แน่นอนว่าการตัดสินใจผิดพลาดย่อมไม่ใช่สิ่งที่ดี และการยอมรับความผิดพลาดอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก แต่หากยังคงอยู่กับความผิดพลาดนั้นต่อไป สิ่งที่ตามมามักจะเป็นสิ่งที่แย่ลงเสียส่วนใหญ่ ตัวอย่างที่คลาสสิคหนึ่งคือ สำหรับผู้ที่เข้าลงทุนในช่วงต้นวิกฤตดอทคอม ในปี 1999 จำเป็นจะต้องรอถึงหนึ่งทศวรรษเพียงเพื่อจะได้เงินลงทุนคืนมาเท่าเดิม

Overconfidence and Overtrade

ในมุมกลับกันกับการตัดสินใจผิดพลาด เมื่อทำอะไรก็กลายเป็นดีไปหมด นักลงทุนมักมีแนวโน้มที่จะมั่นใจมากเกินไป จนหลายต่อหลายครั้งกลายเป็นการเพิกเฉยต่อความเสี่ยง หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ยึดถือมาก่อนหน้านั้น ในขณะเดียวกัน เมื่อความมั่นใจที่มากเกินไปเกิดขึ้นมาแล้ว นักลงทุนก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขนาดการลงทุนให้สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ส่งผลอย่างรุนแรงต่อพอร์ตการลงทุน หาก “การลงทุน” ในครั้งนั้นเกิดผิดพลาดขึ้นมา

Confirmation seeking

หรือ การพยายามมองหาความคิดที่เหมือนกัน เป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่งหากความคิดหรือแนวทางที่เกิดขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่กำลังผิดพลาด โดยอาจจะเป็นไปได้ทั้งการรู้ตัวอยู่แล้วว่าผิดพลาด เพียงแต่มองหาคนที่ผิดพลาดเช่นเดียวกันเพื่อเยียวยาความรู้สึกไม่ดี หรืออาจจะเป็นความผิดพลาดที่ไม่รู้ตัว แต่หากมีใครที่คิดเหมือนกันแล้ว จะช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง สำหรับกับดับข้อนี้ หากพบว่ากำลังพูดกับตัวเองผ่านความคิดอย่างเช่น “หุ้นที่ถือร่วงลงตั้ง 20% แต่มันน่าจะดีกว่าถ้าถือต่อไป ใช่มั้ย?” ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงการกำลังมองหาคนมาช่วยสนับสนุนความคิด ทั้ง ๆ ที่ควรจะตัดสินใจจากเหตุและผลมากกว่า

Self-Handicapping bias

หรือ การเป็นอุปสรรคต่อตัวเอง เป็นสถานการณ์ที่ความผิดพลาดเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่เพียงแต่การไม่ยอมรับความผิดพลาดเท่านั้น นักลงทุนยังมีแนวโน้มจะมองหาปัจจัยอื่น (ที่ไม่ใช่ตัวเอง) และมองว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของตัวเอง มาจากปัจจัยนั้น ๆ

อย่างเช่น การติดหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเป็นเวลานาน และมองว่าความผิดพลาดนั้นเกิดจากความผันผวนของตลาด ทำให้หุ้นที่เลือกเข้ามาถูกผลกระทบไปด้วย ในขณะเดียวกันนักลงทุนก็มีแนวโน้มจะหาข้ออ้างต่าง ๆ มารองรับความผิดพลาดมากขึ้น และส่งผลให้ความผิดพลาดเหล่านั้นไม่ได้รับการแก้ไขเสียที

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply