ทำไม "ตลาดหุ้นไต้หวัน" น่าจับตามองที่สุดในเอเชีย ปี 2020

ทำไม “ตลาดหุ้นไต้หวัน” น่าจับตามองที่สุดในเอเชีย ปี 2020

3 min read  

ฉบับย่อ

  • ปัจจัยหนุนการเติบโตของไต้หวัน ส่วนสำคัญมาจากการย้ายฐานผลิตของหลายธุรกิจจากในจีนกลับมาในประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า ทำให้การส่งออกจากไต้หวันเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี 5G
  • ในบรรดาเสือทั้ง 4 ตัวของเอเชีย ดูเหมือนว่า ไต้หวัน น่าจะเป็นตัวที่โดดเด่นที่สุดสำหรับปี 2020 ส่วนปีที่ผ่านมา หากเทียบฟอร์มกันแล้ว เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฮ่องกง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

แม้หุ้นไทยจะประคองตัวให้จบปี 2019 ด้วยผลตอบแทน 1% ในปีก็ถือได้ว่ามีปัจจัยกดดันอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงครามการค้า การเมืองทั้งภายใน และภายนอกประเทศ แต่ถ้าเหลือบมองไปยังตลาดหลัก ๆ ทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ทั้งดาวน์โจนส์ และ S&P500 บวกได้กว่า 20% ดัชนี DAX เยอรมัน บวกประมาณ 25% ส่วนตลาดหลัก ๆ ของเอเชีย อย่าง Nikkei ของญี่ปุ่นบวกได้ 18% ตลาด Shanghai ของจีน บวก 22% รวมไปถึง “ตลาดหุ้นไต้หวัน” ซึ่งเป็นตลาดที่โดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในปีที่ผ่านมา พุ่งขึ้นมากว่า 23% เติบโตสูงที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ พี่ทุยขอพาไปส่องเศรษฐกิจของไต้หวันกันสักหน่อย ว่าน่าจับตามองแค่ไหน

การขยายตัวของเศรษฐกิจในไต้หวันเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา ทำได้ค่อนข้างดีท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกขณะนี้ และค่อนข้างจะโดดเด่นกับประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอย่าง ฮ่องกง ซึ่งโดนผลกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศ รวมถึง สิงคโปร์ ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าพอสมควร ซึ่งในขณะที่นักวิเคราะห์กลับปรับประมาณการ GDP ของไต้หวันเพิ่มขึ้น จากเดิมที่คาดว่าเติบโต 2.19% น่าจะเติบโตได้ถึง 2.46% ส่วนปี 2020 รัฐบาลไต้หวันก็คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวต่อเนื่องอีก 2.58% เลย

ปัจจัยหนุนการเติบโตของไต้หวัน ส่วนสำคัญมาจากการย้ายฐานผลิตของหลายธุรกิจจากในจีนกลับมาในประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า ทำให้การส่งออกจากไต้หวันเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี 5G อย่างกลุ่ม Semiconductor ซึ่งไต้หวันเป็นหนึ่งในผู้นำของอุตสาหกรรมนี้อยู่แล้ว

การพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจในกลุ่มนี้ของไต้หวันยกระดับตัวเองขึ้นมาจากในอดีต เดิมทีเป็นลักษณะของการรับจ้างผลิต (OEM) ทั่วไป แต่หลังจากปี 2011 เป็นต้นมา ธุรกิจของไต้หวันได้ก้าวสู่ยุค Innovation-driven stage จนสามารถผลักดันให้ยอดขายรวมต่อปีของบริษัทเหล่านี้ พุ่งขึ้นมาถึงระดับ 4.4 พันล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 1.32 แสนล้านบาท

ส่วนปี 2020 คาดว่าจะเห็นเม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าไปยังไต้หวันได้ต่อเนื่อง จากที่ไหลเข้าไปกว่า 8 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2019 ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี 5G และ Semiconductor จะยังคงเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดเงินลงทุนเข้ามาเช่นเดิม

ปัจจุบันสัดส่วนการถือครองของ “ตลาดหุ้นไต้หวัน” เพิ่มขึ้นมาถึงระดับ 40% จากเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว อยู่ที่เพียง 30% เม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้าไปยังไต้หวันมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวันที่ประเมินว่าสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา น่าจะยืดเยื้อออกไปอีก จึงสนับสนุนให้บริษัทสัญชาติไต้หวันที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะในจีน ย้ายกลับมาลงทุนมากขึ้น
ซึ่งก็มีบริษัทถึงเกือบ ๆ 100 แห่ง ตัดสินใจลงทุนเพิ่มรวม ๆ กันเป็นเงินลงทุนถึง 1.59 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ช่วยสร้างงานกว่า 4.3 หมื่นตำแหน่ง ปัจจุบัน GDP ของไต้หวันอยู่ที่ประมาณ 6 แสนล้านดอลลาร์ฯ

ในบรรดาเสือทั้ง 4 ตัวของเอเชีย ดูเหมือนว่า “ตลาดหุ้นไต้หวัน” น่าจะเป็นตัวที่โดดเด่นที่สุดสำหรับปี 2020 ส่วนปีที่ผ่านมา หากเทียบฟอร์มกันแล้ว เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฮ่องกง มีการคาดการณ์กันว่า GDP น่าจะเติบโตได้ต่ำกว่า 2% ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นเมื่อปีก่อน เป็นเกาหลีใต้ซึ่งทำได้ดีรองลงมาแต่ก็บวกได้เพียง 7.6% ห่างจากไต้หวันซึ่งทำได้ถึงระดับ 23% หลังจากนี้คงต้องมาติดตามดูกันว่า ไต้หวัน จะโดดเด่นต่อเนื่องอีกปีหรือไม่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply