SSF RMF ลดหย่อนภาษี 2563

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ หลักการนับจำนวนปีที่ซื้อของ “SSF RMF”

2 min read  

ฉบับย่อ

  • ถ้าให้นึกถึงสินค้าการเงินที่เอาไว้ลดหย่อนภาษี พี่ทุยคิดว่าน่าจะต้องนึกถึง “SSF RMF” หรือถ้าเป็นเมื่อก่อนก็ต้องเป็น LTF  กันมาเป็นชื่อแรก ๆ แน่นอน
  • ซึ่งเงื่อนไขของ SSF ที่ออกมาแทน LTF นั้นมีความแตกต่างกันในหลากหลายประเด็นเพราะ LTF เราจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่รวมไม่เกิน 500,000 บาท แล้วต้องถืออย่างน้อย 7 ปี ปฏิทิน จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขมีความแตกต่างกันทั้งจำนวนเงินที่ลดหย่อนได้ รวมถึงระยะเวลาการถือครองด้วย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

สำหรับคนที่มีรายได้แล้วต้องเสียภาษี พี่ทุยมักจะแนะนำเสมอให้ลงทุนในสินค้าการเงินที่ช่วย “ลดหย่อนภาษี” ด้วย นอกจากเราจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว เรายังได้เงินคืนจากภาษีในปีนั้นแบบทันทีเลยด้วย ถ้าให้นึกถึงสินค้าการเงินที่เอาไว้ลดหย่อนภาษี พี่ทุยคิดว่าน่าจะต้องนึกถึง “SSF RMF” หรือถ้าเป็นเมื่อก่อนก็ต้องเป็น LTF  กันมาเป็นชื่อแรก ๆ แน่นอน ทีนี้คำถามที่เกี่ยวกับ SSF RMF เนี้ยก็คือ เราต้องถือกี่ปี ? ก่อนอื่นเรามาดูข้อจำกัดเวลาที่เราใช้ SSF กับ RMF ลดหย่อนภาษีกันก่อน

กองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (Super Saving Fund หรือ “SSF”)

ตอนนี้ถ้าเราใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อ SSF เราจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่รวมไม่เกิน 200,000 บาท แถมเมื่อนับรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ไม่จะเป็น กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกบข. และประกันชีวิตแบบบำนาญ ห้ามเกิน 500,000 บาท  แล้วต้องถืออย่างน้อย 10 ปีแบบวันชนวัน

ซึ่งเงื่อนไขของ SSF ที่ออกมาแทน LTF นั้นมีความแตกต่างกันในหลากหลายประเด็นเพราะ LTF เราจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่รวมไม่เกิน 500,000 บาท แล้วต้องถืออย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขมีความแตกต่างกันทั้งจำนวนเงินที่ลดหย่อนได้ รวมถึงระยะเวลาการถือครองด้วย

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ “RMF”)

แต่ถ้าเราจะใช้ RMF แทนเงื่อนไขหลักก็คือ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่เมื่อนับรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ อย่างกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกบข. และประกันชีวิตแบบบำนาญต้องไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนระยะเวลาการถือต้องถือจนครบอายุ 55 ปีบริบูรณ์และต้องถืออย่างน้อย 5 ปี

RMF และ SSF จะถือเต็มปี ไม่เหมือนกับ LTF ที่ถือแค่ปีปฏิทิน

ทีนี้จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขของ LTF ก็คือ 7 ปีปฏิทิน แต่ RMF จะเป็น 5 ปี และ SSF จะเป็น 10 ปี ความต่างก็คือ LTF จะนับปีเฉย ๆ เช่น ถ้าเราซื้อตอน 20 ธันวาคม 2560 เราสามารถขายตอน 3 มกราคม 2566 ได้เลย ถ้าดูเวลาที่เราถือจริง ๆ ก็แค่ 5 ปีกับอีกไม่กี่วันเท่านั้น

แต่ถ้าเป็น RMF  ระยะเวลาที่ถือจะนับวันชนวัน ถ้าเราซื้อ 20 ธันวาคม 2550 เราจะขายก็ต่อเมื่อ 20 ธันวาคม 2555 เท่านั้น (ในกรณีที่ผู้ซื้ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้วนะ) นั่นแปลว่าเราต้องถือ 5 ปีเต็ม !! ในกรณีของ SSF ก็คิดคำนวณ 10 ปีเต็มแบบเดียวกับ RMF

คือเมื่อก่อนตอนที่ยังสามารถซื้อ LTF ได้ก็ถือแค่ 7 ปีปฏิทินเท่านั้น แต่ทีเนี้ยคนส่วนใหญ่ก็ซื้อ 28-29 ธันวาคม แล้วก็ไปขายอีก 5 ปีข้างหน้าวันที่ 3 มกราคมแทนอะไรแบบนี้ ทำให้เวลาที่ถือกองจริงๆก็แค่ 5 ปี กับอีกไม่กี่วันเท่านั้น ทำให้ทางกรมสรรพากรก็เลยออกกฎให้รัดกุมในส่วนนี้มากยิ่งขึ้นพี่ทุยว่าไหน ๆ เราก็จะต้องลงทุนอยู่แล้ว ก็อย่าลืมดูสิทธิประโยชน์อะไรพวกนี้ก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้เราได้ผลตอบเยอะขึ้นเหมือนกันนะ 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย