ใครอยากเป็นเศรษฐี ฉันน่ะสิ! ฉันน่ะสิ! เรารู้กันอยู่แล้วว่า ไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลาง แล้ว ประเทศร่ำรวยที่สุดในโลก อยู่มุมไหน ทวีปไหนกันบ้างล่ะ
การระบุว่าประเทศไหนจนหรือรวยที่สุดในที่นี้จะใช้กำลังซื้อของประชากรต่อคนมาประเมิน โดยพิจารณาจากรายได้ประชาชาติต่อหัว (Gross National Income : GNI) per capita ซึ่งก็มาจาก รายได้ที่ประชากรและธุรกิจทำได้ทั้งหมด แล้วนำมาหารด้วยจำนวนประชากร
จากข้อมูลของเว็บไซต์ worldpopulationreview.com พบว่า 10 ประเทศที่รวยที่สุดในโลก มีดังนี้
10 ประเทศร่ำรวยที่สุดในโลก
ถ้าดูตามนี้ ก็จะพอเห็นว่าความร่ำรวยไปกระจุกอยู่ที่ฝั่งยุโรป แล้วทำไมประเทศแถบนี้มีปัจจัยอะไรถึงทำให้รวยเอา ๆ
เหตุผลที่ทำให้ประเทศหรือดินแดนที่รวยที่สุดส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป
1. ปัจจัยด้านประวัติศาสตร์
ต้องบอกว่ายุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีการออกไปล่าอาณานิคมอย่างหนักในยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้ยุโรปสามารถสั่งสมความมั่งคั่งและทรัพยากรที่หามาได้ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
2. เศรษฐกิจแข็งแกร่ง
ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจมีการพัฒนาแล้วอย่างดี โดยมีรายได้ทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ไม่ได้เน้นพึ่งพาภาคใดภาคหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น มีรายได้ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมการผลิต บริการ และเทคโนโลยี
3. มีความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดี
ยุโรปมีการทำการค้าเชื่อมโยงระหว่างประเทศค่อนข้างเหนียวแน่นทีเดียว
4. มีนวัตกรรม และการวิจัย
ประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการวิจัยและพัฒนามากนั้น ก็จะตามมาด้วยการมีนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องได้
5. ภาคการท่องเที่ยวแข็งแกร่ง
ในแต่ละปีประเทศในแถบยุโรปสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ค่อนข้างมาก ซึ่งก็ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศในแถบนี้
6. เป็นผู้นำบริการทางการเงิน
ประเทศในยุโรปหลาย ๆ ประเทศมีความเชี่ยวชาญในด้านบริการทางการเงิน มีสถาบันการเงินชั้นนำอยู่ ซึ่งก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการสร้างความมั่งคั่งของคนในภูมิภาคนี้
7. ระบบการเมืองค่อนข้างมีเสถียรภาพ
การมีระบบการเมืองที่มั่นคงนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยุโรปมีปัจจัยนี้ แม้ว่า จะมีขั้วการเมืองต่าง ๆ เช่นเดียวกับในทวีปอื่น ๆ แต่ด้วยการเลือกตั้ง หรือการปกครองที่เป็นไปอย่างสงบ ก็ทำให้ทวีปนี้สามารถดึงดูดการลงทุน การค้า และพัฒนาเศรษฐกิจได้ดี
8. ระบบสวัสดิการสังคมแข็งแกร่ง
ประชาชนในยุโรปมีความเป็นอยู่ค่อนข้างดี จากการที่ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่มีระบบสวัสดิการทางสังคมที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีนี้เอง ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
ถ้าลองเปรียบเทียบเหตุผลของกลุ่มที่จนที่สุด กับกลุ่มที่รวยที่สุด ก็จะพบความแตกต่างกันแบบสุดขั้วในหลาย ๆ ประเด็น เช่น การเมือง ความหลากหลายของช่องทางการหารายได้ของประเทศ รวมถึงจุดอ่อนจุดแข็งที่สั่งสมมาจากอดีต และการให้ความสำคัญกับการพัฒนา เป็นต้น
ทำไมถึงใช้ GNI per capita ชี้วัดความร่ำรวยของประชากร
ตัวชี้วัดความมั่งคั่งที่ใช้กันแพร่หลาย ก็คือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งวัดมูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประเทศ แต่ค่า GDP นั้น อาจไม่ได้ชี้วัดความร่ำรวยได้แม่นยำนัก เพราะ GDP ต่อประชากร ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับค่าจ้างเฉลี่ยที่คนในประเทศนั้น ๆ ได้รับ
ตัวอย่างเช่น ในปี 2019 GDP ต่อหัวของ สหรัฐอยู่ที่ 65,279.50 ดอลลาร์ แต่ค่าจ้างรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 51,916.27 ดอลลาร์และค่าจ้างมัธยฐานอยู่ที่ 34,248.45 ดอลลาร์
แม้แต่ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดก็ยังมีพลเมืองบางส่วนที่อาศัยอยู่ในความยากจน และแม้แต่ประเทศที่ยากจนที่สุดก็มีประชากรที่ร่ำรวยมากอยู่หลายคน
บางครั้งค่า GDP อาจบิดเบือนได้จากนโยบายการดำเนินธุรกิจ เช่น ไอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และสวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็น “เขตปลอดภาษี” เนื่องจากกฎหมายภาษีของรัฐบาลที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจต่างชาติ เงินจำนวนมากที่ไหลเข้าผ่านประเทศ ได้รับการจดบันทึกว่าเป็น GDP เป็นรายได้ที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ แต่จริง ๆ แล้ว เป็นแค่ทางผ่านของเงินที่บริษัทต่างชาติส่งมาเท่านั้น
การพยายามชดเชยผลกระทบของเขตปลอดภาษีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศ นักเศรษฐศาสตร์หลายคนใช้รายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ของแต่ละประเท
ตัวชี้วัด GNI มีความคล้ายคลึงกับ GDP ตรงที่ตัวชี้วัดนี้วัดมูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตในประเทศ อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดนี้ยังเพิ่มหรือลบเงินที่เข้าหรือออกจากประเทศผ่านธุรกิจต่างประเทศด้วย ตัวชี้วัดนี้ช่วยอธิบายกิจกรรมในเขตปลอดภาษีและให้การวัดสุขภาพและความมั่งคั่งของเศรษฐกิจได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ทว่า GNI ไม่ได้กรองธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศทั้งหมดออกไปทั้งหมด แต่จะช่วยปรับขนาดกำไรให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น แม้ว่าค่าตัวเลขจะเปลี่ยนไป แต่จุดหมายปลายทางที่เลี่ยงภาษีอย่างไอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และสวิตเซอร์แลนด์ก็ยังคงติดอันดับ 10 อันดับแรก
ซึ่งถ้าใช้ GDP per capita เป็นตัววัด ประเทศโมนาโกก็จะเป็นประเทศที่ประชากรร่ำรวยที่สุด มี GDP ต่อหัว 242,611 ดอลลาร์ แต่โมนาโกไม่อยู่ในรายชื่อประเทศร่ำรวยในการชี้วัดด้วย GNI เพราะว่า ข้อมูล GNI ล่าสุดของโมนาโกไม่พร้อมใช้งาน จากการติดตามของ World Bank
อ่านเพิ่ม