ทำไมเราต้องจ่ายภาษี แล้วภาษีที่จ่ายไปไหนบ้าง ?

ทำไมเราต้องจ่ายภาษี แล้วภาษีที่จ่ายไปไหนบ้าง ?

4 min read  

ฉบับย่อ

  • ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อนำไปใช้สนับสนุน พัฒนาและเยียวยาประเทศในรูปแบบต่าง ๆ
  • รายได้รัฐบาลมาจาก 1.กรมสรรพากร 2.กรมสรรพสามิต 3.กรมศุลกากร 4.รัฐวิสาหกิจ 5.ส่วนราชการอื่น 
  • รายจ่ายรัฐตามกรอบยุทธศาสตร์ไปอยู่ที่ 1.ความมั่นคง 2.การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 3.การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 4.การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5. การพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 6.การปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ 7.รายการค่าดำเนินการภาครัฐ 
  • ประชาชนได้ภาษีกลับมาในรูปแบบนโยบายต่าง ๆ เช่น โครงการคนละครึ่ง การจัดหาวัคซีน การพัฒนา EEC เพื่อสร้างงาน, โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน, การพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ภาษีที่เราจ่ายกันทุกปี รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายของรายการรายได้ต่าง ๆ นานา ที่เราคุ้นเคยกันทุกวันในชีวิตประจำวันนั้น ถูกส่งไปใช้ประโยชน์ที่ไหนบ้าง แล้วเราได้รับกลับมาในรูปแบบไหน วันนี้พี่ทุยพาไปหาคำตอบว่า แล้วภาษีที่จ่ายไปไหนบ้าง ไปฟังกัน

ภาษี คืออะไร ?

ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อนำไปใช้สนับสนุน พัฒนาและเยียวยาประเทศในรูปแบบต่าง ๆ หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากประชาชน และนำส่งให้เป็นรายได้ของแผ่นดิน ได้แก่ “กระทรวงการคลัง”

ทำไมเราต้องจ่ายภาษี แล้วภาษีที่จ่ายไปไหนบ้าง ?

ใครต้องเป็นคนเสียภาษี และเสียภาษีอย่างไร ?

บุคคลที่ต้องเสียภาษีอย่างน้อยจะต้อง “มีรายได้มากกว่า 310,000 บาทต่อปี” เพราะ หากหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท เงินได้สุทธิหลังหักรายการต่างจะมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเข้าข่ายการเสียภาษีที่ฐานภาษี 5% ซึ่งไทยมีฐานการเสียภาษีแบบขั้นบันได

อีกทั้งการยื่นแบบและชำระภาษีปี 2564 เป็นการคิดรายได้ในปี 2564 ทั้งปี ตั้งแต่ 1 ม.ค. ถึง 31 ธ.ค. 2564 โดยสามารถยื่นได้ในปี 2565 แบ่งเป็น 2 แบบ

1. การยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ยื่นได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2565 เป็นวันสุดท้าย
2. การยื่นเอกสารเสียภาษีแบบกระดาษ ยื่นได้ถึงวันที่ 31 มี.ค. 2565 เป็นวันสุดท้าย

อ่านเพิ่ม

รายได้รัฐบาลมาจากไหนบ้าง ? 

อ้างอิงจากงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2565 จะมีการประมาณการงบประมาณที่จะจัดเก็บภาษีได้ในปี 2565 ดังนี้ 

  1. กรมสรรพากร จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรสแตมป์ มูลค่าประมาณ 1.87 ล้านล้านบาท
  2. กรมสรรพสามิต จัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพ หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น มูลค่าประมาณ 5.97 แสนล้านบาท
  3. กรมศุลกากร จัดเก็บภาษีศุลกากร จากการค้าระหว่างประเทศ เช่น ภาษีอากรขาเข้า-ขาออก มูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท
  4. รัฐพาณิชย์ หรือ รัฐวิสาหกิจ มูลค่าประมาณ 1.42 แสนล้านบาท
  5. ส่วนราชการอื่น มูลค่าประมาณ 1.69 แสนล้านบาท 

จากนั้นนำไปหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น

  1. การคืนภาษีของกรมสรรพากร
  2. อากรถอนคืนกรมศุลกากร
  3. การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก
  4. การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด
  5. การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จะคงเหลือรายได้สุทธิ 2.4 ล้านบาท แต่ตามโครงสร้างแล้ว ตั้งงบประมาณไว้ที่ 3.1 ล้านล้านบาท ฉะนั้นจึงต้องกู้หนี้สาธารณะเพิ่มอีก 7 แสนล้านบาท นั่นเอง

อ่านเพิ่ม

รัฐบาลใช้ภาษีทำอะไร

แล้วภาษีที่จ่ายไปไหนบ้าง สำรวจโครงสร้างรายจ่ายของรัฐ ปี 2565 

เมื่อเราได้รายรับที่เพียงต่อรายจ่าย จากการนำรายได้ มารวมกับการกู้แล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่ารายจ่ายตามงบประมาณปี 2565 เมื่อแยกตามด้านต่าง ๆ แล้วจะมีอะไรบ้าง 

โครงสร้างรายจ่าย ปี 2565 หากแบ่งตามกรอบยุทธศาสตร์ สามารถแยกได้ดังนี้ 

  1. ความมั่นคง 3.83 แสนล้านบาท คิดเป็น 12.4%
  2. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 7.31 แสนล้านบาท คิดเป็น 23.6%
  3. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3.32 แสนล้านบาท คิดเป็น 10.7%
  4. การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1.19 แสนล้านบาท คิดเป็น 3.9%
  5. การพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 5.45 แสนล้านบาท 17.6%
  6. การปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ 5.58 แสนล้านบาท 18.0%
  7. รายการค่าดำเนินการภาครัฐ 4.29 แสนล้านบาท คิดเป็น 13.8% 

หรือ หากแบ่งตามอันดับกระทรวงที่ได้รับงบประมาณเยอะที่สุด สามารถแยกได้ ดังนี้ 

  1. ศึกษาธิการ ได้รับ 3.30 แสนล้านบาท
  2. มหาดไทย ได้รับ 3.15 แสนล้านบาท
  3. การคลัง ได้รับ 2.73 แสนล้านบาท
  4. กลาโหม ได้รับ 1.99 แสนล้านบาท
  5. คมนาคม ได้รับ 1.73 แสนล้านบาท 

ภาษีที่เราจ่ายกันทุกปี รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายของรายการรายได้ต่าง ๆ นานา ที่เราคุ้นเคยกันทุกวันในชีวิตประจำวันนั้น ถูกส่งไปใช้ประโยชน์ที่ไหนบ้าง แล้วเราได้รับกลับมาในรูปแบบไหน วันนี้พี่ทุยพาไปหาคำตอบว่า จ่ายภาษีแล้วไปไหนบ้าง ไปฟังกัน 

ประชาชนได้อะไรจากการใช้งบประมาณ

เมื่อเรารู้แล้วว่างบประมาณต่าง ๆ กระจายไปกระทรวงไหนมากที่สุดหรือค่าใช้จ่ายด้านไหนมากที่สุด แล้วงบประมาณเหล่านั้นกลับมาหาประชาชนในรูปแบบไหน 

พี่ทุยจะมายกตัวอย่างให้ดูว่าโครงการต่าง ๆ ที่เราคุ้นชื่อ หรืออาจจะเคยได้ยินให้ฟังกัน ว่าโครงการเหล่านี้แหละมาจากภาษีประชาชนทั้งสิ้น โดยจะแบ่งแยกตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ 

รู้หรือไม่…จ่ายภาษีแล้วไปไหนบ้าง ?

1. การแก้ไขปัญหา เยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19

สามารถแบ่งเป็นได้เป็นหลายด้าน ดังนี้ 

  • การแพทย์และสาธารณสุข เช่น การจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการระบาดโควิด-19 เช่น การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรค วัคซีนป้องกันโรค และห้องแลป​, การป้องกันและควบคุมโรค, การเตรียมความพร้อมด้านค่าใช้จ่ายในการรักษา และการกักตัวผู้มีความเสี่ยง ในการติดเชื้อโควิด-19 รวมไปถึงการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินเนื่องจากการระบาด
  • การช่วยเหลือและชดเชยให้กับภาคประชาชน โดยเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เช่น โครงการคนละครึ่ง, โครงการเราเที่ยวด้วยกัน, โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้, โครงการเราชนะ, การลดค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า, การช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, ม.33 เรารักกัน, เงินช่วยเหลือเกษตรกร และ โครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

2. ด้านสังคม 

สามารถแบ่งเป็นได้เป็นหลายด้าน ดังนี้

  • การสาธารณสุข เช่น ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ระบบประกันสังคม, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, คลินิกออนไลน์ (Telemedicine), ระบบปรึกษาทางไกล (Tele – Consult), การกระจายแพทย์ไปสู่ชนบท, การพัฒนา Platform สุขภาพดีวิถีไทย สร้างไทย สร้างชาติ เป็นต้น
  • การศึกษา เช่น ยุทธศาสตร์ ม.ราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, บัณฑิตพันธุ์ใหม่และอาชีวะพันธุ์ใหม่, การพัฒนาครูสอนภาษาอังกฤษ, การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพทุกตำบล, โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน, การศึกษาทางไกล เป็นต้น
  • การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เช่น การสนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น, การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยภายใต้โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, การส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาอาชีพคนพิการ และ การสนับสนุนเบี้ยเด็กแรกเกิด เป็นต้น

3. ด้านเศรษฐกิจ

สามารถแบ่งเป็นได้เป็นหลายด้าน ดังนี้

  • การคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ เช่น  การก่อสร้างทางเพื่อแก้ปัญหาจราจรใน กทม. และเมืองหลัก, การก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 (กทม. – นครราชสีมา), โครงการพัฒนาและปรับปรุงทาง/สะพานเพื่อสนับสนุนรถไฟทางคู่ 42.11 กม. เป็นต้น
  • การท่องเที่ยว เช่น โครงการเสริมชายหาดป้องกันการกัดเซาะ 2 แห่ง ใน จ. เพชรบุรี และพังงา, โครงการสนับสนุน Startup ในการสร้างสรรค์สินค้าชุมชน 100 ชุมชน, โครงการก่อสร้างทางหลวงชนบทและพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว, การจัดงาน Mega Event 4 งาน เช่น งาน World Music Festival, การแข่งขันวิ่งมาราธอน ฯลฯ, การส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วง Low Season เช่น จัดเทศกาลเที่ยวเมืองไทย สนับสนุนการจัดงานประเพณีตามภูมิภาค เป็นต้น
  • การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การพัฒนาด้านต่าง ๆ ของ EEC เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทำให้เกิดการลงทุนของภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ EEC ส่งผลให้ GDP ประเทศเพิ่มขึ้น และมีการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและสังคมกับนานาประเทศ เช่น ก่อสร้างทางหลวงระยะทาง 112.19 กม., การถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (Aripolis), การก่อสร้างศูนย์การแพทย์ครบวงจรและโรงพยาบาลศูนย์เฉพาะทาง เป็นต้น
  • การพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เช่น การส่งเสริม SME ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน, การส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีช่องทางการค้าผ่าน e – Commerce, การจัดงาน Startup x Innovation Thailand Expo (SITE) เพื่อให้ความรู้ด้านธุรกิจแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงาน
  • เกษตร เช่น รวมกลุ่มผลิตสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่, การพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer), การเข้าถึงแหล่งทุนและแก้ไขปัญหาที่ดิน ทำกินของเกษตรกร, โครงการเมล็ดพันธุ์ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานเพื่อออกใบรับรอง, การตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าประมง, เกษตรกรได้รับการอบรมถ่ายทอดความรู้ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เช่น การพัฒนาระบบอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต, อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่, เทคโนโลยีดิจิทัล, อาหาร, ชีวภาพ และการแพทย์ครบวงจร, การพัฒนางานบริการตรวจสอบสมรรถนะหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์, ศูนย์ทดสอบอากาศยานและดาวเทียม และการพัฒนาห้องปฏิบัติการด้านอุปกรณ์ประมวลผลด้านสุขภาพแบบสวมใส่ (Wearable Devices)

4. ด้านสิ่งแวดล้อม

สามารถแบ่งเป็นได้เป็นหลายด้าน ดังนี้

  • การบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำ เช่น การจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค-บริโภค, การจัดการน้ำภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม,  แก้ปัญหาน้ำท่วม, การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติให้ได้รับการฟื้นฟู, การจัดการนำ้เสีย, การเพิ่มพื้นที่ป่า และการป้องกันการพังทลายของดิน เป็นต้น
  • เรื่องมลพิษและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการการแก้ปัญหามลพิษจากขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายชนิดต่าง ๆ , การจัดการปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดลงจากการลดการใช้ปุ๋ยเคมี และการหยุดเผา, การป้องกันการเผาในที่โล่ง ไฟป่า และลดหมอกควัน, ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน และการลดปริมาณฝุ่นละอองจากการเผาไหม้เครื่องยนต์ เป็นต้น

5. ด้านความมั่นคง

สามารถแบ่งเป็นได้เป็นหลายด้าน ดังนี้

  • การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) เช่น การจัดหายุทโธปกรณ์พิเศษและเสริมกำลังกองทัพ เพื่อลดการสูญเสียจากเหตุความรุนแรงในพื้นที่ จชต. และโครงการสร้างความเข้มแข็งเพื่อรักษาความสงบ เรียบร้อยระดับตำบล เป็นต้น
  • การป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เช่น การปราบปรามยาเสพติด บำบัด รักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด, การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด, การส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน, การส่งเสริมให้มีกลไกการแก้ไขปัญหายาเสพติด, การสืบสวนและขยายผลยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด เป็นต้น

สรุป แล้วภาษีที่จ่ายไปไหนบ้าง

จะเห็นได้ว่าเงินภาษีจากเรากลายไปเป็นสวัสดิการ และนโยบายต่าง ๆ มากมายที่มีประโยชน์และเอื้อต่อการใช้ชีวิตของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม ไมว่าจะเป็น การอุดหนุนรายได้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง การยกระดับสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากความไม่สงบ และการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักของชาติ 

นั่นจึงเป็นหน้าที่รัฐ ที่จะต้องนำเงินกองกลาง หรือ ภาษี ไปลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับชีวิตคนในสังคม และทำให้ทุกคนในประเทศสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขนั่นเอง 

ซึ่งเมื่อดูจากโครงการทั้งหมดที่พี่ทุยเพียงแค่ยกตัวอย่างมาแล้วนั้น หากไทยสามารถบรรลุโครงการเหล่านี้ได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ พี่ทุยเชื่อว่าไทยจะน่าอยู่ ฟื้นฟูตัวเองได้จากสถานการณ์โรคโควิด-19 และทำให้ประเทศพัฒนาไปได้อีกขั้นหนึ่งเลยทีเดียว

ทำไมเราต้องจ่ายภาษี แล้วภาษีที่จ่ายไปไหนบ้าง ?

อ่านเพิ่ม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย