ซีรีส์ startup

5 สิ่งที่ได้เรียนรู้โลกธุรกิจ จากซีรีส์ “Start-Up”

3 min read  

ฉบับย่อ

  • Sandbox เป็นสถาบันบ่มเพาะผู้ประกอบการ ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนเงินทุน สร้างเครือข่ายสำหรับธุรกิจ Startup ที่เรียกว่า Accelerating Center
  • ยุนซอนฮัก ประธาน Sandbox ในซีรีส์มองสถานที่นี้ทำหน้าที่คล้ายกับพื้นทรายที่ปูบนสนามเด็กเล่นเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ กล้าลอง กล้าเล่นตกลงมาก็ไม่เจ็บตัวเพราะมีพื้นทรายรองรับไว้ สุดท้ายเด็ก ๆ ก็จะเล่นเก่งขึ้น เหมือนกับนักธุรกิจหน้าใหม่ที่ต้องมีพื้นที่ในเริ่มต้นในการทดสอบไอเดีย กล้าที่จะผิดพลาดและเติบโตขึ้น
  • 5 สิ่งที่เรียนรู้จากโลกธุรกิจในซีรีส์ Startup หลังผ่านการนำเสนอแผนธุรกิจแล้ว แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเจอก็คือการบริหารจัดการทีมและเงินทุนที่ได้รับ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ใครที่ดูซีรีส์เรื่อง “Start-Up” ไม่ว่าจะทีมนัมโดซานหรือทีมฮันจีพยองก็ตาม สิ่งที่ดีงามของเรื่องคือสถานที่อย่าง Sandbox หากเราเป็นผู้ที่อยากทำธุรกิจแล้วไม่รู้จะเริ่มต้นเส้นทางนี้อย่างไรดี ที่นี่คงเป็นพื้นทรายนุ่ม ๆ ให้ได้ทดสอบไอเดีย ซ้อมตอบคำถามกับนักลงทุน ปรับปรุง Business Model ล้มลุกคลุกคลานก่อนจะเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ 

ทำไม “Start-Up” ควรมีผู้ให้การสนับสนุนทั้งเงินทุนทำธุรกิจและผู้ให้คำปรึกษา

“Start-Up ไม่ควรรีบหากำไร ตั้งแต่ช่วงเริ่มตั้งธุรกิจ แต่ควรขยายกลุ่มผู้ใช้และปรับปรุงสินค้าและบริการของเราให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า มีหลายธุรกิจที่สนใจแต่ตัวเลขกำไรจนปล่อยผู้ใช้หลุดมือ”

จริง ๆ แล้วการทำธุรกิจนั้นผลกำไรเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงก่อน ไม่เช่นนั้นก็อาจจะไม่มีเงินหมุนเวียนทำธุรกิจต่อ แต่การขยายฐานผู้ใช้งานให้กว้างก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำธุรกิจเช่นกัน ผู้ประกอบการที่ไม่มีพื้นที่ให้ได้รับการสนับสนุนตรงนี้ก็เหมือน

“ลอยอยู่บนมหาสมุทรมีทางเลือก 2 ทาง ไม่กระหายน้ำตายก็รอดตาย กระหายน้ำแค่ไหนก็ต้องอดทนกินน้ำทะเลไม่ได้ ต้องรอฝนตกถึงจะช่วยดับกระหาย เหมือนกับธุรกิจที่ไม่ยอมหากำไรแต่ต้องการพัฒนาธุรกิจถ้าโชคดีธุรกิจก็รอด ถ้าโชคร้ายก็ต้องเก็บความฝันกลับไป แต่ถ้ารีบหากำไรตั้งแต่ต้นก็เหมือนกับต้องรีบดื่มน้ำทะเลเข้าไปสุดท้ายธุรกิจก็ไปไม่รอด”

-พ่อของซอดัลมี-

Sandbox เป็นสถาบันบ่มเพาะผู้ประกอบการ ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนเงินทุน สร้างเครือข่ายสำหรับธุรกิจ Startup ที่เรียกว่า Accelerating Center จุดเริ่มต้นของสถานที่ในฝันของผู้ประกอบการมาจากยุนซอนฮัก ประธาน Sandbox ในซีรีส์เรื่องนี้ที่ครั้งหนึ่งเคยได้เกือบจะเป็นคู่ค้าทางธุรกิจ (Partner) กับพ่อของซอดัลมี ซึ่งก็คือนางเอกของเรื่องที่ชีวิตของการทำธุรกิจด้วยตนเองยากลำบาก เปรียบเทียบกับเวลาล้มกระแทกบนพื้นปูน พอล้มลงหลาย ๆ ครั้งก็เกิดความกลัว ไม่กล้าเดินหน้าทำธุรกิจที่หวังไว้ให้เป็นจริง Sandbox จึงกำเนิดมาเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยของเหล่าผู้ประกอบการให้มีพื้นที่ในเริ่มต้นในการทดสอบไอเดีย กล้าที่จะผิดพลาดและเติบโตขึ้น

พี่ทุยขอสรุป 5 สำคัญของการทำธุรกิจในซีรีส์ Start-Up หลังผ่านการนำเสนอแผนธุรกิจ (Pitching) แล้ว แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเจอก็คือการบริหารจัดการทีมและเงินทุนที่ได้รับเพื่อสร้างผลงานที่เรียกว่าสินค้าและบริการเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค (Customer) หรือกลุ่มธุรกิจ (Business) พี่ทุยจะเล่าให้ฟังว่าเหล่า Startup ต้องเตรียมตัวกับอะไรบ้าง

1.ธุรกิจ “Start-Up” ก่อนแบ่งหุ้นต้องรู้จัก Keyman

ตอนทำธุรกิจกับเพื่อน 4 คนแบ่งคนละ 25% ก็ฟังดูยุติธรรมดีแต่ไม่ดีในสายตาของนักลงทุน เพราะดูเหมือนธุรกิจนี้ไม่มีใครมีอำนาจบริหาร สำหรับความเป็นเพื่อน ความสัมพันธ์ในกลุ่มก็รู้ดีว่าจะคงอยู่ตลอดไป แต่ก็มีหลาย ๆ ธุรกิจที่เกิดปัญหากันภายหลัง จะยึดเสียงโหวตก็ตัดสินไม่ได้เพราะคะแนนออกมาเท่ากัน ทางออกคือการยุบบริษัทซึ่งนักลงทุนต้องสูญเงินแน่ ๆ และในอีกกรณีหากบริษัทต้องการขยายธุรกิจ เปิดระดมทุน ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นคือหุ้นส่วนใหญ่จะตกไปสู่นักลงทุน ทำให้ธุรกิจเสียอำนาจการบริหารไปเลย 

นั่นคือเหตุผลที่ธุรกิจต้องมี Keyman ผู้ที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ ขาดไม่ได้ ในที่นี้ Keyman อาจไม่ใช่คนเดียวกับเจ้าของไอเดียธุรกิจก็ได้แต่ต้องมีความรับผิดชอบ รู้หลักการบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้าและนักลงทุน สัดส่วนหุ้นที่ Keyman ควรถือคือ 60% ขึ้นไป และหุ้นที่เหลือค่อยจัดการแบ่งในทีมตามหน้าที่ความรับผิดชอบ

สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากการแบ่งหุ้นของธุรกิจ Start-Up คือต้องเตรียมตัวสำหรับการระดมทุนที่ไม่ใช่รอบเดียวแต่โดยพื้นฐานแล้วต้องระดมทุนตามรอบการเติบโต เช่น Seed, Series A, B, C, และ D จนถึงการนำหุ้นเข้า IPO ดังนั้นการระดมทุนแต่ละรอบ สัดส่วนหุ้น Keyman จะลดลง จึงเป็นเหตุผลที่ธุรกิจต้องเตรียมรับมือเพื่อป้องกันการสูญเสียอำนาจการบริหารไป

2.อัตราของการเผาเงินทุน (Burn rate)

อัตราการเผาเงินทุน (Burn rate) ที่ได้รับจากกองทุนหรือการประกวดต่าง ๆ จัดเป็นค่าใช้จ่ายต่อเดือนช่วงที่บริษัทใช้เงินทุนที่ได้มา โดยยังไม่มีรายรับเข้ามา เมื่อได้เงินก้อนนี้มาต้องจัดสรรเงินสำหรับการดำเนินงานทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Cost) เช่น เงินเดือน ค่าเช่าสำนักงาน และค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable Cost) เช่น ค่าเทคโนโลยี ค่าน้ำ ค่าไฟ คำนวณค่าใช้จ่ายออกมาจะรู้ว่าหากบริษัทไม่มีรายได้เลยจะอยู่ได้นานแค่ไหน

เช่น ได้รับเงินก้อนแรกมา 100,000 บาท คิดแล้วต่อเดือนมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 10,000 บาท แปลว่าบริษัทจะอยู่ได้ 10 เดือน ถ้าอยู่ได้นานกว่านี้ต้องลด Burn Rate ก็คือการลด Opearation Cost ที่เกิดขึ้นได้แก่

  • การปลอดพนักงานออกหรือลดชั่วโมงการทำงาน
  • ลดขนาดออฟฟิศลง ช่วยประหยัดค่าเช่าพื้นที่และของใช้สำนักงานที่ไม่จำเป็น
  • เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เพื่อการทำ Marketing ให้มีประสิทธิภาพ

3.ป้องกันหุ้นส่วนทิ้งงานด้วยวิธี Vasting 

ในเรื่องกระบวนการ Vasting เกิดจากนัมโดซาน พระเอกของเรื่องได้ทำสัญญากับอเล็กซ์ นักลงทุนจากบริษัททุสโท สหัฐอเมริกา แล้วหมดสัญญาครบ 3 ปีแล้ว กำลังจะกลับเกาหลีแต่ผลงานดีจนนักลงทุนอยากให้อยู่ต่อจึงต่อรองด้วยการทำ Vasting คือจะทยอยให้หุ้นถ้าทำงานตามระยะเวลาที่สัญญาไว้แต่ป้องกันโดซานเปลี่ยนใจกลับไปหาซอดัลมี 

Vasting คือรูปแบบหนึ่งของการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ (Share based payment) โดยส่วนใหญ่แล้วการให้ Vesting ก็จะให้หุ้นเมื่อพนักงานทำงานครบระยะเวลาหรือผลงานที่ตกลงกันไว้ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของการทยอยให้หุ้น หรือให้ครั้งเดียวเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด ที่เรียกว่า Restricted Stock

สิ่งที่เกิดขึ้นคู่กับกลไก Vasting คือ Cliff ก็คือรูปแบบการสัญญากันไว้ว่าจะให้หุ้น ถ้าทำงานจนพ้น 1 ปีไปแล้วนะหรือน้อยกว่านั้นตามที่ตกลงกัน ป้องกันผู้ที่เข้ามาหาประโยชน์ระยะสั้นแล้วชิ่งหนี เพราะสำหรับธุรกิจมีมูลค่า พันล้าน เพียงได้หุ้น 1% ก็มีมูลค่าถึง 10 ล้านเชียว

4.Stock option เพียง 1% ก็รวยได้

การให้หุ้นจากข้อที่แล้วเป็นแบบ Restricted Stock ที่เป็นการให้หุ้นตามระยะเวลาที่สัญญากันไว้ แต่ Stock Option ต่างออกไป คือ การให้หุ้นแก่พนักงาน Employee Stock Options (ESOPs) ให้สิทธิ์พนักงานบริษัทในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทในราคาคงที่

เช่น ราคาหุ้น ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 100 บาท แต่ ESOPs อยู่ที่ 20 บาท เท่ากับพนักงานได้กำไรไปเลย 4 เท่าหรือ 200% ข้อเสนอแบบนี้มีไว้เพื่อให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานเพราะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดขึ้น อย่างทีมพี่นางเอกซออินแจ ก็ใช้วิธีนี้ให้พนักงานซื้อ ESOPs แล้วตนเองก็ถือหุ้น Keyman ไป 90% เต็ม ๆ

และในเรื่องก็มีอีก 1 คนที่ขอซื้อ Stock Option โดยแลกกับการทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ช่วยถ่ายวิดีโอให้ ช่วยทำนามบัตรเช่นลูกพี่ลูกน้องของนัมโดซานที่ขอหุ้น 1% และขอหุ้นเพียง 1% จากหลาย ๆ บริษัทเพื่อกระจายความเสี่ยงโดยแลกกับสิ่งที่ทำให้เล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะถ้าบริษัทใดทำมูลค่าได้สูง หุ้นก็จะีมูลค่าสูงขึ้นสมกับที่มีพ่อครัว Charlie Ayers แห่ง Google เป็นไอดอล 

5.ความต่างของการซื้อกิจการ (Merge & Acquire) 

ทีมซัมซานเทคได้อ่านสัญญาการซื้อบริษัทพลาดไปทำให้พวกวิศวกรซอฟต์แวร์ถูกซื้อตัวแยกไป เพราะเข้าใจว่านักลงทุนซื้อกิจการพร้อมพนักงาน แต่ที่จริงแล้วนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นเพราะสนใจเฉพาะนักพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น รูปแบบการเข้าซื้อกิจการทำได้ 2 วิธีคือ

  • การควบรวม Merge กับกิจการแม่เพราะเห็นศักยภาพบางอย่างเช่น ผลกำไร อัตราการเติบโต หรือรูปแบบธุรกิจที่ช่วยต่อยอดให้บริษัทผู้ซื้อได้
  • การซื้อกิจการ (Acquire) โดยบริษัทที่ถูกซื้อไปจะไม่ถูกยุบรวมกับบริษัทแม่ แต่วิธีการซื้อก็ทำได้ 2 แบบคือซื้อสินทรัพย์ (Asset Acquire) และซื้อหุ้น (Stock Acquire) 

ในกรณีของซัมซานเทคโดนซื้อแบบ Stock Acquire ทำให้ทีมนักลงทุนมีอำนาจแทรกแซง ปลดคนงานที่ไม่ต้องการออกและซื้อเฉพาะนักพัฒนาไป สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะนักลงทุนยังไม่เห็นกำไรจึงไม่สนใจกิจการ แต่นักลงทุนเห็นความสามารถของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะเข้าไปช่วยพัฒนา Technology ให้บริษัทของตัวเองได้

สิ่งนี้เป็นข้อสำคัญสำหรับบริษัทที่ต้องการเงินทุนก็เลยทีเดียว เพราะหากได้เงินมาจริงจากการขายกิจการแต่บริษัทยังไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน แต่มีทรัพยากรบุคคลที่น่าสนใจ นักลงทุนอาจซื้อเฉพาะคนก็ได้และบริษัทก็จะสูญเสียอำนาจ แผนธุรกิจเปลี่ยน จนสร้างความลำบากใจให้ผู้ร่วมทำธุรกิจที่มีความฝันแบบหนึ่งแต่สุดท้ายแล้วความฝันได้ถูกเปลี่ยนไปจนหมดกำลังใจในการทำงาน

พี่ทุยว่าการมีพื้นที่อย่าง Sandbox ให้กับผู้ประกอบการและผู้ที่มีความฝันในการทำธุรกิจเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เลย ในอนาคตเราจะได้เห็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ Pain Point ของผู้บริโภคทั้งในประเทศและระดับโลก พี่ทุยเชื่อว่าจุดเริ่มต้นของความประสบความสำเร็จล้มนั้นล้วนประกอบด้วยความล้มเหลวนับพันครั้ง แต่คนมักจะกลบความล้มเหลว

มีคำพูดหนึ่งของนัมโดซานว่า 

“ตัวเลขคาวมแม่นยำ 92.4% มันจะดูน้อยถ้าเทียบกว่าทีมอื่นแต่ถ้าเราใส่เลขนี้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยให้เหนือกว่าคู่แข่ง ตัวเลข 92.4% นี้จะปลอมทั้งหมด” 

พี่ทุยเห็นด้วยเลยและเข้าใจถึงว่าทำไมต้องมีพื้นที่ให้ลองเรียนรู้ ลองผิดพลาด ยอมรับเพื่อที่จะพัฒนาต่อได้ ถ้าไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้ทำธุรกิจเลยการผิดพลาดเพียงครั้งเดียวก็แปลว่าพลาดโอกาสไปเลย ใครที่เริ่มต้นทำธุรกิจ บางจุดที่เป็นคอขวดไปต่อไม่ได้ลองหาคำตอบจากเรื่องนี้และพัฒนากันต่อไป ถึงพี่ทุยจะเอาพูดนัมโดซานมาแต่จริง ๆ แล้ว อยู่ทีมฮันจีพยองนะฮ๊าฟฟฟฟฟ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply