ล่าสุดที่ประชุม ครม. เห็นชอบ การทบทวนหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือน้าท่วมปี 2567 โดยจะให้เงินช่วยเหลือ เยียวยาน้ำท่วม อัตราเดียวครัวเรือนละ 9,000 บาท ครอบคลุม 57 จังหวัด ทั่วประเทศ
ใครมีสิทธิได้รับเงิน เยียวยาน้ำท่วม
กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่า 7 วัน ให้ได้รับเงินช่วยเหลืออัตราเดียวครัวเรือนละ 9,000 บาท และต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย
ส่วนผู้ประสบภัยได้รับเงินช่วยเหลือตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2567 ไปแล้ว ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ครบ 9,000 บาทต่อไป
สำหรับขอบเขตพื้นที่ให้การช่วยเหลือนั้นยังคงเดิมคือ จังหวัดที่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ/ พื้นที่ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/พื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน จำนวน 57 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นนทบุรี นครนายก นครปฐม นครพนม นครสวรรค์ นครราชสีมา นครศรีธรรมราช น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา
พังงา พะเยา พิจิตรพิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยะลา ระยอง ราชบุรี ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สระแก้ว สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อุทัยธานี อุดรธานี อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุบลราชธานี ครอบคลุมครัวเรือนผู้ประสบภัย จำนวน 338,391 ครัวเรือน
ข้อมูล ณ วันที่ 3 ต.ค. 2567 พบว่ามีประชาชนยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือฯ แล้วในพื้นที่ 50 จังหวัด รวม 67,296 ครัวเรือน จากพื้นที่อุทกภัยในฤดูฝนปี 2567 ทั้งหมด 57 จังหวัด และมีบางส่วนที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนที่ขอรับความช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินและได้โอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้วรวมจำนวน 6,363 ครัวเรือน เป็นเงิน 31,857,000 บาท ซึ่งกลุ่มนี้ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับโอนเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ซึ่งจะต้องโอนเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ครบ 9,000 บาทต่อไป
ลงทะเบียนได้ที่ไหน
สามารถยื่นขอรับเงินเยียวยาช่วยเหลือสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ 2 ช่องทางคือ
ผ่านทางเว็บไซต์ของ ปภ. https://flood67.disaster.go.th/Dashboard/BoardHelpRegister
หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล
โดยนำเอกสารไปยื่นในวันและเวลาราชการเท่านั้น ประกอบด้วย
- บัตรประจำตัวประชาชน
พร้อมด้วยหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
- สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีเป็นบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียน)
- สัญญาเช่าบ้านหรือหนังสือรับรองการเช่าจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรณีเป็นบ้านเช่า)
- หากเป็นกรณีอื่น อาทิ บ้านพักอาศัยประจำแต่ไม่มีทะเบียนบ้าน จะต้องให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น รวมกับผู้นำชุมชน ตรวจสอบข้อเท็จจริงและลงนามร่วมกันอย่างน้อย 2 ใน 3
ทั้งนี้ หากทำบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สูญหายหรือชำรุด สามารถไปที่สำนักทะเบียนในเขตพื้นที่เพื่อขอทำเอกสารฉบับใหม่ได้ โดยจะได้รับการยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมเป็นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่มีประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และกรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาได้อีก 15 วัน รวมเป็น 30 วัน
อ่านเพิ่ม
- ภัยพิบัติน้ำท่วม ทำเศรษฐกิจไทยเสียหายแค่ไหน ?
- รถโดนน้ำท่วม เคลมประกันได้ไหม ?
- อสังหาฯ ไทย 2567 ซบเซา บ้านมือสองขายดีกว่าบ้านใหม่