นักลงทุนระดับโลกทำอย่างไรกันบ้าง เมื่ออยู่ใน “ภาวะตลาดหมี”

นักลงทุนระดับโลกทำอย่างไรกันบ้าง เมื่ออยู่ใน “ภาวะตลาดหมี”

3 min read  

ฉบับย่อ

  • Warren Buffett ขายหุ้นออกมามากถึง 19 ตัว ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ขณะที่ PNC สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ก็ลดสัดส่วนการถือหุ้นในกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Blackrock เหล่านี้ทำให้ตลาดกลับมาตั้งคำถามกันอีกครั้งว่าการฟื้นตัวของตลาดในขณะนี้จะเป็นแค่การเด้งเพื่อลงต่อหรือไม่
  • ขณะเดียวกันการสำรวจความเห็นผู้จัดการกองทุนระดับโลก 68% ในจำนวนนี้ยังมองว่าการเด้งของตลาดในรอบนี้เป็นเพียงการเด้งแบบ “ภาวะตลาดหมี” เท่านั้น และตัวเลขการถือครองเงินสดก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ภาพของตลาดหุ้นทั่วโลก ดูเหมือนกำลังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อดูจาก MSCI World Index ในขณะนี้กลับมายืนเหนือ 2,000 จุด อีกครั้ง หลังจากร่วงไปแตะระดับ 1,650 จุด ในช่วงที่วิกฤตโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยที่ลงไปทัวร์ระดับต่ำกว่า 1,000 จุด มาแล้ว ก็สามารถเด้งกลับจนทะลุ 1,300 จุด ได้เช่นกัน เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว เราจะพอมั่นใจกันได้หรือยังว่า สถานการณ์เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นในรอบนี้ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ? วันนี้พี่ทุยจะพามาดูกันว่า เมื่อเกิด “ภาวะตลาดหมี” นักลงทุนทั่วโลกเค้าทำอย่างไรกันบ้าง

ในความเป็นจริงคงไม่มีใครฟันธง 100% แต่เมื่อมองไปยังการกระทำของนักลงทุนระดับโลก ดูเหมือนว่าพวกเขาเหล่านั้นยังพยายามที่จะจำกัดความเสี่ยงจากวิกฤตในครั้งนี้อยู่พอสมควร อย่าง Berkshire Hathaway ภายใต้การบริหารงานของ Warren Buffett ได้รายงานการขายหุ้นออกมาถึง 19 ตัว ในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มการเงินขนาดใหญ่อย่าง Goldman Sachs และ JPMorgan Chase และเมื่อเหลือบไปมองที่กระแสเงินสดของ Berkshire Hathaway ปัจจุบันบริษัทถือครองเงินสดอยู่ถึง 1.28 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเกือบ 4 ล้านล้านบาท

ไม่เพียงแค่ Berkshire เท่านั้น อีกหนึ่งการขายที่ทำให้ตลาดต้องหันกลับมาสนใจกันคือ บริษัทการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง PNC ตัดสินใจเทขายหุ้นทั้งหมด 22.4% ซึ่งถืออยู่ใน Blackrock กองทุนใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็นมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3.5 แสนล้านบาท นอกจากนี้ การสำรวจความเห็นผู้จัดการกองทุนทั่วโลก โดย BofA Global Research ซึ่ง 68% ของผู้จัดการกองทุนเหล่านี้
มองว่าการฟื้นตัวในรอบนี้เป็นเพียงการเด้งขึ้นใน “ภาวะตลาดหมี” (Bear market rally) ขณะเดียวกันมีผู้จัดการกองทุนถึง 75% มองว่าการฟื้นตัวจะเป็นแบบตัว U หรือตัว W ซึ่งเป็นลักษณะของการฟื้นตัวแบบช้า ๆ และเช่นเดียวกับ Berkshire Hathaway ที่หันมาตุนเงินสดเพิ่มขึ้น โดยกระแสเงินสดของบริษัทต่าง ๆ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.7% สูงที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 เมื่อปี 2011 ถือเป็นสัญญาณลบต่อตลาด

ทั้งนี้ ตลาดเริ่มตั้งข้อสังเกตกันว่า การฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ถึง 30% โดยหลักถูกหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ไม่กี่บริษัทในตลาด อาทิ Amazon, Microsoft, Apple, Facebook และ Alphabet ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีสัดส่วนมูลค่าตลาดคิดเป็นถึง 21% ของมูลค่าตลาด S&P500 ความเสี่ยงสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับตลาดหุ้นในยามนี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของความเสี่ยงที่ควิด-19 อาจจะกลับมาแพร่ระบาดอย่างหนักรอบสอง รวมถึงความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลายต่อหลายธุรกิจ อย่าง JC Penny หนึ่งในห้างสรรพสินค้าในสหรัฐฯ ประกาศยื่นล้มละลาย หรือบริษัทให้เช่ารถอย่าง Hertz เองก็กำลังเผชิญกับปัญหาอย่างหนักจนต้องยื่นล้มละลายเช่นกัน ขณะที่บริษัทในประเทศอย่าง การบินไทย ก็กำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ โดยภาพรวมแล้ว แม้ตลาดหุ้นจะฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว แต่ดูเหมือนผลกระทบบางอย่างเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้วเราอาจจะต้องใช้คำว่า สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร สำหรับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply