หนี้เรื้อรัง

ปิดจบหมด หนี้เรื้อรัง อย่างยั่งยืน

5 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • การเข้าร่วมมาตรการจะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยได้ เหลือไม่เกิน 15% ต่อปี ซึ่งการจ่ายดอกเบี้ยลดลงก็จะช่วยทำให้เราสามารถโปะปิดหนี้ได้เร็วมากขึ้น
  • การเข้าร่วมการช่วยทำให้เรามีแผนผ่อนชำระเป็นงวดชัดเจน ด้วยเงื่อนไขที่เราผ่อนไหว ซึ่งตรงตามเป้าหมายที่อยากจะช่วยให้ลูกหนี้ปิดหนี้เรื้อรังทั้งหมดได้ภายใน 5 ปี 
  • ไม่ต้องเสียค่าปรับ Prepayment Fee หรือ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด
  • สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการได้กับ ธนาคารกรุงเทพ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ปัญหาเรื่องการเงินที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยเราตอนนี้เลยก็คือเรื่องของหนี้ ซึ่งตอนนี้ทาง “ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)” กำลังให้ความเป็นห่วงกลุ่มลูก หนี้เรื้อรัง ที่เป็นนาน เป็นยาว ปิดจบไม่ได้ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่อาจจะทำให้มีปัญหาด้านอื่นๆ ตามมาได้ ทาง ธปท. ได้ออกมาตรการแก้ปัญหาเพื่อปิดจบ หนี้เรื้อรัง สำหรับลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็น หนี้เรื้อรัง โดยมีการขอความร่วมมือกับสถาบันการเงิน และธนาคารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาหนี้เรื้อรังอย่างยั่งยืน

หนี้เรื้อรังคืออะไร ? ใครที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง แล้วสามารถเข้าไปขอรับความช่วยเหลือได้ที่ไหนบ้าง ? พี่ทุยสรุปมาให้อ่านแล้ว

สำหรับ “มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน” จากธนาคารแห่งประเทศไทยเน้นไปที่กลุ่มลูกหนี้เรื้อรัง หรือ กำลังจะเรื้อรังเป็นหลัก เรามาดูกันดีกว่า ว่าเป็นหนี้แบบไหนเรียกว่า เรื้อรัง ที่ต้องรีบจัดการด่วน ๆ เลย

  1. ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทวงเงินหมุนเวียน ที่ไม่มีกำหนดเวลาปิดจบหนี้ เช่น บัตรกดเงินสด 
  2. ยังไม่เป็นหนี้เสีย (non-NPL) 
  3. มีการจ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นที่ชำระมาทั้งหมดเป็นระยะเวลานาน

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มก็คือ  “กลุ่มเริ่มเรื้อรัง (general PD)” ที่จ่ายหนี้เกินเงินต้นรวมมานานกว่า 3 ปี แต่ยังไม่เกิน 5 ปี และ “กลุ่มเรื้อรัง (severe PD)” ที่จ่ายหนี้เกินเงินต้นมากกว่า 5 ปี ทั้งลูกหนี้กลุ่มแบงก์ที่มีรายได้ต่อเดือนไม่ถึง20,000 บาท หรือเป็นลูกหนี้กลุ่ม non-bank ที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท

สำหรับพี่ทุยมองว่ามาตรการนี้ดีมาก โดยเฉพาะสำหรับคนที่กำลังมีปัญหาเรื่องหนี้อยู่ เพราะการเข้าร่วมมาตรการจะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยได้ เหลือไม่เกิน 15% ต่อปี ซึ่งการจ่ายดอกเบี้ยลดลงก็จะช่วยทำให้เราสามารถโปะปิดหนี้ได้เร็วมากขึ้น นอกจากนี้ การเข้าร่วมการจะช่วยทำให้เรามีแผนผ่อนชำระเป็นงวด (Installment Plan) ที่ชัดเจน ว่าเราจะต้องผ่อนชำระเดือนละเท่าไหร่บ้างด้วยเงื่อนไขที่เราผ่อนไหว ซึ่งตรงตามเป้าหมายที่อยากจะช่วยให้ลูกหนี้ปิดหนี้เรื้อรังทั้งหมดได้ภายใน 5 ปี 

หนี้เรื้อรัง 4 สัญญาณเตือนปัญหาหนี้ ก่อนเป็นหนี้หัวโต!

ปกติแล้วก่อนที่เราจะป่วย ร่างกายมักจะส่งสัญญาณเตือนให้เรารู้ตัวก่อน จะได้รีบไปหาหมอได้ทัน เรื่องหนี้เองก็เช่นกัน ก่อนที่เราจะมีปัญหาหนี้ สภาพคล่องทางการเงินจะส่งสัญญาณเตือนเราดังนี้

1. เริ่มจ่ายหนี้ไม่ตรง จ่ายหนี้ช้า
2. เริ่มจ่ายขั้นต่ำ ติดต่อกันมากกว่า 2 ครั้ง
3. เริ่มกดเงินสดจากบัตรต่าง ๆ มาเพื่อเอามาเคลียร์หนี้
4. รายได้ที่หามาไม่เพียงพอต่อรายจ่าย

ถ้าใครกำลังเจอสัญญาณเตือนเหล่านี้ แม้เพียง 1 ข้อ ควรรีบจัดการปัญหาหนี้ให้ได้อย่างทันทีท่วงที

แก้หนี้
ปัญหาหนี้ โดยเฉพาะหนี้เรื้อรังหลาย ๆ ครั้ง อาจเป็นเพราะเราไม่มีแผนหรือแนวทางในการจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ ทำให้เราไม่สามารถปิด จบหมดหนี้ได้สักที สำหรับใครที่รู้ตัวว่าตอนนี้เป็น “หนี้เรื้อรัง” ตามเงื่อนไข แล้วต้องการเข้าร่วม

มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระ หนี้เรื้อรัง 

สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการกับธนาคารกรุงเทพ

ได้ที่: https://www.bangkokbank.com/DebtSolution-Form 

หนี้เรื้อรัง แต่ถ้าใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนยังไง ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก พี่ทุยแนะนำเลยว่าให้ลองติดต่อเจ้าหน้าที่ขอ “ปรับโครงสร้างหนี้” เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินแล้วหาแนวทางร่วมกัน  ภายใต้มาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องกังวลแม้ว่าจะเป็นหนี้กับหลายเจ้า เพราะเจ้าหนี้แต่ละรายจะพิจารณาภาระหนี้ทั้งหมด พร้อมประเมินความไหวของลูกหนี้ด้วย ว่าจะต้องมีเงินเพียงพอในการดำรงชีพด้วย

หนี้ และอีกหนึ่งประโยชน์ที่ดีมาก ๆ สำหรับใครก็ตามที่เข้าร่วมมาตรการนี้คือ

ไม่ต้องเสียค่าปรับ Prepayment Fee หรือ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด

ช่วยทำให้เราสามารถบริหารจัดการหนี้ได้ง่ายขึ้น มีเงินเหลือมากขึ้น ก็เคลียร์หนี้ได้คล่องตัวมากขึ้น สำหรับใครที่อยากปิดจบหมดหนี้ไว เพิ่มสภาพคล่องได้ทันที หายใจหายคอสะดวกขึ้นชัวร์ แนะนำลองเข้าไปขอรับคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมได้เลย

หนี้เรื้อรัง ซึ่งมาตรการ “ปิดจบ หนี้เรื้อรัง” ครั้งนี้ยังไม่นับรวมหนี้บัตรเครดิต

(แต่บัตรกดเงินสดสามารถเข้าร่วมได้) เนื่องจากหนี้บัตรเครดิตไม่นับว่าเป็น “หนี้เรื้อรัง”

เนื่องจากในช่วงต้นปี 2567 ทาง ธปท. มีมาตรการก่อนหน้านี้ให้หนี้บัตรเครดิตมีการชำระขั้นต่ำอย่างน้อย 8% (จากเดิม 5%) ทำให้มีการตัดเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ยต่อเนื่อง 

ซึ่งแปลว่าหนี้บัตรเครดิตสามารถปิดจบหนี้ได้ในระยะไม่นาน หากมีการจ่ายชำระอย่างต่อเนื่อง ซึ่งด้วยเงื่อนไขของหนี้เรื้อรังจะต้องมีจ่ายหนี้และเงินต้นมากกว่า 5 ปีขึ้นไป

แต่ทั้งนี้การใช้บัตรเครดิตก็ไม่ควรจ่ายขั้นต่ำ เมื่อรูดใช้งานทุกครั้ง ควรต้องจ่ายชำระเต็มเสมอเพื่อไม่ให้เกิดภาระดอกเบี้ยจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

หนี้เรื้อรัง สำหรับใครที่สนใจสาระดีดีด้านการเงิน ที่สามารถเอามาปรับใช้ เพื่อช่วยให้แผนการเงินของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งนอกจากเรื่องหนี้แล้ว ยังมีเกร็ดความรู้ด้านการออม การลงทุน การวางแผนการเงินต่างๆ  อย่างแผนเกษียณ รวมไปถึงเทคนิคที่ช่วยให้เราจัดการเงินได้อย่างฉลาดมากขึ้นพี่ทุยแนะนำ “Tips & Insights” จากธนาคารกรุงเทพ เป็นอีกหนึ่งช่องทางดีดี ที่อัปเดตบทความและไลฟ์สไตล์การเงิน ที่เข้าใจง่าย ให้เราสามารถเอาไปปรับใช้ต่อได้ทันที

สนใจอ่านคอลัมน์อื่น ๆ เพิ่มเติม “Tips & Insights” ได้ที่: https://www.bangkokbank.com/Financial-Insights 
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดจบหมดหนี้เรื้อรังได้ที่: https://www.bangkokbank.com/DebtSolution-Measure

อ่านเพิ่ม

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
บทความนี้เป็นบทความ Advertorial