10 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับ Fantom

10 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับ Fantom

3 min read  

ฉบับย่อ

  • Fantom เป็นแพลตฟอร์ม Smart Contract แบบ Directed Acyclic Graph (DAG) 
  • Fantom มี ความเร็วในการทำธุรกรรมเฉลี่ยของ คือ 1 วินาที 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

Fantom หรือ FTM เป็นหนึ่งในเหรียญเชนที่มีกระแสแรงมาก เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา แรงขนาดที่ว่าภายในไม่ถึง 1 ปีก็มีการอัตราการเติบโตของราคาสูงถึง 203 เท่า หรือประมาณ 20,300 % กันเลยทีเดียว แต่ถ้าใครติดตามข่าวในวงการคริปโตดี ๆ ก็จะรู้ว่าช่วงนี้ FTM กำลังเจอศึกหนัก เพราะหนึ่งในที่ปรึกษาชื่อดังได้ประกาศถอนตัวจากโปรเจกต์นี้ไป

ทำเอาราคาในปัจจุบันดิ่งลงมาแตะแนวรับสำคัญตามข่าวไปแล้วเรียบร้อย แต่นี้จะเป็นวิกฤตของ FTM หรือเป็นโอกาสให้นักลงทุนช้อนของถูกกันแน่ ซึ่งถ้าใครอยากรู้ว่า FTM มีดีอะไรและจะกลับมาผงาดได้อีกครั้งหรือไม่ ไปดู 10 ข้อน่ารู้ในวันนี้กันได้เลย

10 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับ Fantom

1. ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โดย Dr. Ahn Byung Ik นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มากประสบการณ์จากเกาหลีใต้

2. FTM เป็นแพลตฟอร์ม Smart Contract แบบ Directed Acyclic Graph (DAG) ที่สามารถปรับขนาดของเครือข่ายโหนดให้สามารถตอบสนองต่อปริมาณของผู้ใช้งาน และมีความรวดเร็วในการทำธุรกรรม อีกทั้ง Fantom ยังมีเป้าหมายที่จะเอาชนะ Ethereum โดยการลดระยะเวลาในการทำธุรกรรมต่าง ๆ บนเชนให้เหลือน้อยกว่า 2 วินาที

3. FTM ติดอันดับ 42 ของเหรียญที่มีมูลค่าที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าตลาดสูงถึง 2,838 ล้านดอลลาร์

4. FTM เป็นเหรียญที่มี Max Supply อยู่ที่ 3,175 ล้านเหรียญ และตอนนี้มีเหรียญหมุนเวียนในระบบไปแล้วกว่า 80% หรือ 2,550 ล้านเหรียญ

5. ทำ All Time High ไปเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2564 ด้วยราคา 3.4842 ดอลลาร์

6. FTM มีอัตราการเติบโตตั้งแต่ต้นปี 2564 จนถึงช่วง All Time High อยู่ที่ 203 เท่าหรือ 20,300 % หรือถ้าเพื่อน ๆ ลงทุนไว้ 1 หมื่นบาทในวันที่ 1 ม.ค. 64 แล้วขายในช่วงพีคสุดของราคา เงินทุนก้อนนั้นจะมีมูลค่าราว ๆ 2,030,000 บาท !

7. ปัจจุบันความเร็วในการทำธุรกรรมเฉลี่ยของ FTM คือ 1 วินาที เมื่อเทียบกับ Ethereum ที่ใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 3 นาทีแล้ว FTM ถือว่าเร็วกว่าถึง 180 เท่า !

8. ผู้พัฒนาชื่อดังระดับโลกและหนึ่งในที่ปรึกษาของ Fantom อย่าง Andre Cronje ได้ประกาศถอนตัวจากโปรเจกต์ไปเมือเดือนที่แล้ว หรือเดือน มี.ค. 2565 

9. Fantom เคยมี TVL สูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่าได้กับ De-Fi ชื่อดังระดับโลกอย่าง AAVE และ Uniswap ในปัจจุบัน

10. Node ของ FTM ไม่มีจำนวนจำกัด เพียงแค่ Staking ไว้ 1,000,000 FTM ก็จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความปลอดภัยของเชน Fantom ซึ่งเป็นระบบการรักษาความปลอดภัยที่รู้จักกันในชื่อ Lachesis ซึ่งเป็นตัวอย่างของกลไกที่เรียกว่า Aysnchronous Byzantine Fault Tolerant (aBFT) ที่จะช่วยให้เครือข่ายสามารถรองรับผู้ใช้งานที่มีพฤติกรรมการใช้งานในทางที่ส่งผลเสีย (Malicious Behavior) ต่อเครือข่ายได้มากถึง 1 ใน 3 โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อการดำเนินการของเครือข่ายนั่นเอง

ก็ต้องบอกเลยว่าถือเป็นอีกหนึ่งเชนที่น่าสนใจไม่น้อย แม้ที่ปรึกษาอย่าง Andre Cronje จะประกาศถอนตัวไปแล้ว แต่ Product ต่าง ๆ ของ FTM ไม่ได้เปลี่ยนไปแต่อย่างใด อีกทั้งทาง FTM ไม่ได้มีผู้พัฒนาอย่าง “Andre Cronje” แค่เพียงคนเดียว แต่มาจากการทำงานและพัฒนากันเป็น “ทีม” นั่นเอง

ดังนั้น ผลกระทบของราคาที่ร่วงในครั้งนี้อาจจะเป็นแค่การ Panic จากข่าวร้ายเฉย ๆ ก็ได้ ซึ่งถ้าใครมองว่าเป็นโอกาสอันดี นี้ก็ถือเป็นจุดสำคัญที่น่าช้อนซื้อ 

แต่นักลงทุนทุกคนก็ควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจในระบบของ FTM กันให้ดีเสียก่อนจะเข้าไปลงทุนนะ เพื่อป้องกันเงินต้นที่มีโอกาสสูญหายได้ เนื่องจากตลาดคริปโตค่อนข้างผันผวนและอ่อนไหวง่ายกับข่าวต่างๆกันเสียเหลือเกิน 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย