“โครงการอินทนนท์” ระบบนำร่องในการพัฒนาธุรกรรมการเงินของไทย

“โครงการอินทนนท์” ระบบนำร่องในการพัฒนาธุรกรรมการเงินของไทย

4 min read  

ฉบับย่อ

  • DLT หรือ Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกการเงินในอนาคต ทำให้ ธปท. เริ่มโปรเจค “โครงการอินทนนท์”
  • “โครงการอินทนนท์” เป็นโครงการที่ ธปท. เริ่มกับ 8 สถาบันการเงินและบริษัท R3 เพื่อพัฒนาระบบ Blockchain ในไทย ผ่าน Corda Platform
  • “โครงการอินทนนท์” ทำให้ต้นทุน ความรวดเร็ว และขั้นตอนของธุรกรรมสั้นลงแถมยังได้ความปลอดภัยที่มากขึ้นอีกด้วย
  • “โครงการอินทนนท์” เป็นระบบนำร่องและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา เพื่อให้พร้อมที่จะรับเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • Central bank ในหลาย ๆ ประเทศก็ได้เริ่มนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาปรับใช้ โดยจีนเป็นประเทศที่น่าสนใจและอาจจะทำระบบให้สมบูรณ์เป็นประเทศแรก

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

Distributed Ledger Technology (DLT) หรือ Blockchain นั้น ถูกมองว่าจะเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกการเงินในอนาคต ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็เล็งเห็นในจุดนี้และได้เริ่มโปรเจ็คนำร่อง “โครงการอินทนนท์” ออกไปเพื่อที่จะได้พร้อมในการเรียนรู้ DLT และพร้อมที่จะนำมาปรับใช้กับประเทศเมื่อเวลามาถึง

อินทนนท์ คืออะไร ?

อินทนนท์นี้ไม่ใช่ชื่อดอยแต่เป็นชื่อโครงการที่ ธปท. เริ่มขึ้นโดยร่วมกับสถาบันการเงิน 8 แห่ง ไทยพาณิชย์, กรุงเทพ, ธนชาต, กรุงศรี ฯ, กรุงไทย, กสิกรไทย และ Standard Chartered ร่วมพัฒนากับบริษัท R3 ซึ่งเป็นผู้พัฒนา Distributed Ledger Technology(DLT) หรือระบบ Blockchain ใน Corda Platform โดยการนำเทคโนโลยี DLT นี้มาประยุกต์ใช้กับระบบการชำระเงินของประเทศ เพื่อเสริม ธปท.และสถาบันการเงินในประเทศ สามารถเข้าใจและเท่าทันเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนไปและมีผลกระทบต่อระบบการเงินในประเทศ

โครงการอินทนนท์เฟส 1

เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือน มกราคม 2562 โดยในเฟส 1 นั้น ธปท. ได้ร่วมมือกับสถาบันการเงิน เปลี่ยนเงินฝากที่ ธปท. (Reserve) ที่สถาบันการเงินฝากไว้ให้อยู่ในรูปสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง เรียกว่า Central Bank Digital Currency หรือ CBDC โดยใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและโอนชำระเงินระหว่างกัน นอกจากนี้ยังออกระบบกลไกที่ใช้สำหรับบริหารสภาพคล่องระหว่างวันระหว่างสถาบันการเงินอีกด้วย หรือที่เรียกว่า Automated Liquidity Provision ทำให้การชำระเงินทำงานดีขึ้นไม่ติดขัด

โครงการอินทนนท์เฟสที่ 2

ในเฟส 2 นี้เป็นการต่อยอดจากระบบของเฟส 1 โดยนำระบบมาใช้กับพันธบัตร โดยแปลงพันธบัตรให้อยู่ในรูปแบบของ Token สามารถส่งมอบพันธบัตรและชำระได้ในเวลาเดียวกันด้วย Delivery Versus Payment (DVP) การจ่ายดอกเบี้ยและการจ่ายเงินต้น รวมถึงการทำระบบให้รองรับตลาดหรือการนำพันธบัตรไปใช้เป็นหลักประกันด้วยระบบ Repurchase Agreement ทำให้เข้าใกล้กับการทำธุรกรรมในชีวิตจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งในเฟส 2 ยังมีระบบป้องกันธุรกรรมต้องสงสัยหรือ Fraud Prevention ที่ช่วยป้องกันและลดกระบวนการของสถาบันการเงินไปในตัว

โครงการอินทนนท์ Blockchain ของไทยกำลังก้าวสู่เฟส 3

ในระยะที่ 3 นั้น อินทนนท์ได้มีการนำ CBDC มาใช้กับระบบชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นก้าวแรกในการชำระเงินข้ามประเทศระหว่างสถาบันการเงิน การนำ CBDC มาใช้ในจุดนี้เพื่อลดตัวกลางในการทำธุรกรรม เพื่อให้กระบวนการนั้นสั้นที่สุด และทำให้ระบบสามารถทำการโอนเงินและชำระเงินตรงถึงกันได้ เมื่อนำ CBDC มาใช้จะทำให้การทำงานของธุรกรรมชำระเงินระหว่างประเทศมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเมื่อตัวกลางหายไป ขั้นตอนรวดเร็วขึ้น ต้นทุนต่าง ๆ ก็ถูกลง แถมการชำระเงินผ่านระบบ CBDC ยังมีความปลอดภัยที่สูงขึ้นอีกด้วย

เป้าหมายของ “โครงการอินทนนท์”

โครงการอินทนนท์ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีและเงื่อนไขต่าง ๆ ของการพัฒนาในปัจจุบัน อาจจะเป็นการพัฒนาตัวต้นแบบของระบบการเงินในอนาคต แต่เป้าหมายของโครงการคือสร้างระบบให้สามารถใช้ได้จริง และพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องให้ก้าวทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยอิงว่าระบบนี้ต้องอยู่ในต้นทุนที่เหมาะสม และคาดว่าโครงการนี้จะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวตามโลกได้ทัน ทำให้ระบบการเงินทั้งในไทยและระหว่างโลกใกล้ชิดกันมากขึ้น สามารถรองรับธุรกรรมการเงินได้ครบวงจร Seamless และ Anywhere Anytime และที่สำคัญต้องมีความปลอดภัยที่สูง

โลกที่ใช้เงินกระดาษกำลังจะหมดไป

ก่อนหน้านี้ธนาคารเยอรมัน (Deutsche Bank) เคยเผยตัวเลขไว้ว่าปี 2030 อาจเป็นจุดจบของเงินกระดาษ (Fiat Currency) และคนจะหันไปเชื่อถือทองคำกับเงินดิจิทัลแทนการควบคุมของเงินแต่ละสกุลที่ถูกควบคุมและจัดการโดยรัฐบาลแต่ละประเทศ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น เหมือนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้คนทั่วโลกต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ มากมาย และตัวเลขการใช้ระบบดิจิทัลในการสั่งซื้อสินค้าต่างก็เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การใช้เงินสดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งจากพฤติกรรมการหันไปใช้ระบบดิจิตอลที่สามารถชำระเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวก แถมการใช้เงินสดก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับสิ่งสกปรกและอาจมีเชื้อโควิด-19 ติดมาได้ ดังนั้นปี 2030 ที่ตั้งไว้ อาจจะเขยิบเข้ามาเร็วกว่าที่เราคิด เพราะทั้งพฤติกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลทุกอย่างปรับเปลี่ยนอย่างกระทันหันจากผลกระทบโควิด-19 นั่นเอง

Blockchain จากธนาคารกลาง (Central Bank) ในประเทศต่าง ๆ

นอกจากไทยเองนั้น ธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศก็ได้วางแผนในการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ ซึ่งหากใครตามข่าวช่วงนี้ก็อาจจะได้ยินพี่จีนเรา ที่กำลังจะเปลี่ยนสังคมของประเทศแทบจะเป็นสังคมไร้เงินสดแล้ว ทางจีนเองก็มี “ดิจิทัลหยวน” หรือ DCEP (Digital Currency Electronic Payment) แทบจะเกือบเรียกได้ว่า เป็นสกุลเงินดิจิทัลจากธนาคารกลางเหรียญแรกเลยก็ว่าได้

จุดประสงค์ของ DCEP นั้นมีเพื่อผลักดันให้เงินหยวนมีการไหลเวียนในระบบคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมให้ประเทศอื่นสามารถเข้าถึงเงินหยวนได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย และไม่แน่นะเงินหยวนดิจิทัลอาจจะมาแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในอนาคตก็เป็นได้

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply