ไทยใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับ 10 ของโลก อนาคตแรงงานเสี่ยงหางานยากขึ้น

ไทยใช้ “หุ่นยนต์” ในอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับ 10 ของโลก อนาคตแรงงานเสี่ยงหางานยากขึ้น

 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

กระแสเรื่อง “หุ่นยนต์” ทำงานแทนคนมีมาให้ได้ยินกันซักพักใหญ่ๆแล้ว พี่ทุยเองก็เอามาเล่าอยู่บ่อยๆเหมือนกัน ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ศึกษาเรื่องผลกระทบการนำหุ่นยนต์มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมกับตลาดแรงงานในประเทศไทย

พบว่าไทยมีการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมมาแล้ว 5-10 ปี และมากเป็นอันดับ 10 ของโลก รองจากจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ เยอรมนี อิตาลี ไต้หวัน ฝรั่งเศส และสเปน

โดยอุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ยานยนต์ ยางและพลาสติก และอิเล็กทรอนิกส์  เพราะมีค่าแรงสูงกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ รูปแบบงานต้องอาศัยความแม่นยำ งานหลายอย่างเป็นงานที่ทำซ้ำๆ เป็นแบบแผน เลยสามารถใช้หุ่นยนต์ทำแทนได้

ส่วนอัตราการใช้หุ่นยนต์ของไทยอยู่ที่หุ่นยนต์ 45 ตัวต่อแรงงาน 1 หมื่นคน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่มีหุ่นยนต์ 74 ตัวต่อแรงงาน 1 หมื่นคน และมีแนวโน้มจะใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานมากขึ้นในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า

ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าอาจเห็นการจ้างงานลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มคนที่ทำงานในรูปแบบซ้ำ ๆ เช่น สายการผลิต พนักงานคิดเงิน รวมถึงนักศึกษาจบใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งมากกว่า 3 ล้านคนที่มีความเสี่ยงถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์

ในขณะที่ค่าแรงมีแนวโน้มสูงขึ้น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนก็ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนที่ถูกลง โดยเฉพาะงานที่ใช้ทักษะน้อยหรืองานที่ทำซ้ำๆ ใครที่เป็นคนวัยทำงานเป็นแรงงาน ถ้าไม่ปรับตัวเพิ่มทักษะให้ตัวเอง เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือความต้องการของตลาดแรงงาน ก็มีโอกาสจะหางานยากขึ้น หรืออาจตกงานได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ส่วนใครที่สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดีก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานหรือภาคธุรกิจมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ถ้าใครอยากอ่านงานวิจัยฉบับเต็มก็ไปอ่านกันได้ที่ลิ้งค์นี้เลยจ้า
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/Industrial_robots.pdf

อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย