VIX Index คืออะไร

VIX Index คืออะไร ? – ดัชนีแห่งความกลัว บอกอะไรนักลงทุน

4 min read  

ฉบับย่อ

  • VIX Index จะเคลื่อนที่สวนทางกับดัชนีของตลาดหุ้น โดยเฉพาะ​ตลาดหุ้นอเมริกา​ และคำนวณมาจากปริมาณ Option ของ​ S&P500
  • VIX Index​ มีชื่อเล่นว่าดัชนีแห่งความกลัว​ เพราะจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมีการเข้าซื้อ Put Option ในปริมาณสูง​ เนื่องจากนักลงทุน​มองว่าตลาดจะมีการปรับตัวลง
  • เมื่อวันจันทร์ที่​ 16​ มีนาคม​ 2020​ ที่ผ่านมา​ ดัชนีดาว​โจนส์​ปรับตัวลงเกือบสามพันจุดหรือคิดเป็น​ 93% และ​ VIX Index​ ก็ได้ทำราคาปิดเป็นจุดสูงสุดใหม่ที่​ 82.69​ ทำลายสถิติ​จุดสูงสุดเดิมที่​ 80.86​ เมื่อวันที่​ 20​ พฤศจิกายน​ 2008
  • สามารถซื้อขายทำกำไรจาก VIX ด้วย VIX Future หรือผ่าน ETF ที่มีการลงทุนใน VIX Future

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ช่วงที่ตลาดทั่วโลกพากันเทกระจาดอย่างนี้ ถ้าลองเปิดดูตามเว็บไซต์การเงินหรือแอปพลิเคชันการเงินต่าง ๆ เราจะเห็นได้ว่าในทุกครั้งที่ตลาดทั่วโลกพร้อมใจกันลง จะมีดัชนีหนึ่งที่ไม่เข้าพวกกับเค้าเลย เพราะจะเขียวสว่างไสวอยู่คนเดียว ยิ่งตลาดหุ้นอเมริกาแดงมากเท่าไหร่ เค้าก็จะยิ่งเขียวเท่านั้น วันนี้พี่ทุยขอแนะนำให้รู้จักกับเค้าคนนั้น​ คือ VIX Index เค้ามีชื่อเล่นอย่างไม่เป็นทางการแต่เป็นสากลเลย เพราะต่างชาติก็เรียกกันอย่างนี้ว่า “ดัชนีแห่งความกลัว” หรือ “Fear index” แล้ว VIX Index คืออะไร

VIX Index คืออะไร ?

ชื่อเต็มของ “VIX Index” ก็คือ Volatility Index ซึ่งคำนวณโดยตลาดซื้อขายอนุพันธ์ Chicago Board Options Exchange (CBOE) ดัชนีนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาในปี 1993 โดย ดร.Robert Whaley ในตอนแรก VIX คำนวณมาจากราคาของ Option S&P100 หรือ OEX ตอนนั้นมีเพียงเเค่ 8 Option เองที่นำมาใช้คำนวณ แต่ต่อมาในปี 2003 CBOE และ Goldman Sachs ก็ได้ปรับวิธีการคำนวณ VIX ใหม่ โดยเปลี่ยนไปอ้างอิงกับ Option ในตลาด S&P500 แทน

ดังนั้นจากเพียง Option 8 ตัว ในตอนแรกก็กลายเป็น Option จำนวนมากที่จะสะท้อนให้เห็นภาพรวมของตลาดได้ดีขึ้น เพราะตลาด S&P500 นี้ถือเป็นเกณฑ์ประเมิน (Benchmark) ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ Performance ในสหรัฐอเมริกาเลย เช่น ถ้าซื้อกองทุนหุ้นเชิงรุก (active fund) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เราก็จะใช้ผลตอบแทนของ S&P500 เป็นตัวชี้วัดว่า กองทุนดังกล่าวทำผลงานได้ดีมั้ยนะ

ทำไม VIX Index ถึงถูกเรียกว่า FEAR INDEX?

ตัวเลข VIX บ่งบอกถึง Implied Volatility ของ Option ใน S&P500 ที่คาดการณ์ในอีก 30 วันข้างหน้า ซึ่ง Implied Volatility เป็นสิ่งที่จะบ่งบอกถึงความถูกแพงของ Option ซึ่งจะเอาค่ากึ่งกลางระหว่าง Bid และ Ask ของ Option มาคำนวณ

พี่ทุยอธิบายอย่างนี้​ หลายคนอาจจะเริ่มขมวดคิ้วกัน​ เอาเป็นว่าขอแปลไทยเป็นไทยง่าย ๆ ว่า VIX คำนวณมาจาก Option ใน​ S&P500 และสาเหตุที่เค้าถูกเรียกว่าดัชนีแห่งความกลัว​ (ในหลายครั้งก็ถูกเรียกว่าดัชนีแห่งความโลภด้วย) ก็เพราะเค้าสะท้อนถึงจำนวนของสัญญา Put Option เนี่ยแหละ

Call & Put Option คืออะไร ?

พี่ทุยขอทวนความจำสั้น ๆ ว่า เราจะซื้อ Call Option เมื่อมองว่าตลาดหรือหลักทรัพย์นั้น ๆ จะปรับตัวขึ้นและจะใช้ Put Option เมื่อมองว่าตลาดหรือหลักทรัพย์นั้น ๆ จะปรับตัวลง เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่มียอดการซื้อ Put Option ของนักลงทุนมาก ๆ ย่อมแสดงว่านักลงทุนและนักเก็งกำไร (Trader) มีมุมมองว่าตลาดจะมีการปรับตัวลง

และเนื่องจาก Put Option เป็นอะไรที่มีความซับซ้อนประมาณนึง ผู้ที่เล่น Put Option ก็จะจำกัดนิดนึง ดังนั้นเมื่อปริมาณ Put Option สูงจึงแปลว่านักลงทุนรายใหญ่ เช่น ผู้จัดการกองทุน นักลงทุนรายใหญ่หรือนักลงทุนที่ลงทุนเป็นอาชีพมีมุมมองว่าตลาดจะปรับตัวลง จึงทำการซื้อ Put Option ไว้เพื่อประกันความเสี่ยงของพอร์ตหุ้น เพราะพอร์ตหุ้นของผู้เล่นกลุ่มนี้มีขนาดใหญ่ เคลื่อนไหวยาก

เช่น สมมุติว่ามีหุ้น X อยู่ร้อยล้านหน่วย ถึงจะมีมุมมองว่าหุ้น X จะปรับตัวลง ก็ไม่สามารถเทขายหุ้น X ทั้งหมดร้อยล้านหน่วยได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่มีคนซื้อ (Bid) รองรับเพียงพอ และการขายหุ้นปริมาณมหาศาลขนาดนี้ย่อมจะส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นตัวดังกล่าวปรับตัวลงอย่างรุนแรง ทำให้ต้องขายในราคาถูกลงเรื่อย ๆ เป็นต้น

ดังนั้นทางเลือกที่ง่ายที่สุดของพอร์ตใหญ่อย่างนี้ คือการซื้อ Put Option เพื่อประกันความเสี่ยง (Hedging) เมื่อหุ้นตัวนั้นราคาลงตามที่คิดจริง ๆ​ ถึงจะขาดทุนหรือกำไรลดลงจากการที่ยังมีมันในพอร์ต​ ก็จะมีกำไรจากการซื้อ Put Option มาทดแทนไงและเมื่อมีการเข้าซื้อ Put Option มากขึ้น ก็จะส่งผลต่อ Implied Volatility ตัวเลขของ VIX Index ก็พุ่งขึ้นสูง

“VIX Index” แค่ไหนที่เรียกว่าสูง ?

Harvest Volatility Management ได้คำนวณค่าเฉลี่ยของ​ VIX Index​ โดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี​ 1995 มาได้ว่า ตัวเลขจะอยู่ที่​ 21​ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับตัวเลขที่นักลงทุน​ควรเริ่มให้ความสนใจและเริ่มมองหาความผิดปกติของสภาวะเศรษฐกิจ​และตลาดการเงินที่หลายแหล่งเห็นตรงกันคือ​ 20

ที่ผ่านมามีปีที่​ VIX Index​ สูงกว่า​ 20​ หลายครั้ง​ เช่น​ ช่วงปี​ 1929-1940 ที่เกิดเศรษฐกิจ​ตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ปี​ 1946 หลังสงครามโลกครั้งที่​ 2 Black Monday ในปี 1987 และล่าสุดก็คือ Hamburger Crisis นั่นเอง

มาดูค่า​ VIX Index​ ย้อนหลังกัน

"VIX Index" (ดัชนีแห่งความกลัว) คืออะไร ?

"VIX Index" (ดัชนีแห่งความกลัว) คืออะไร ?

ถึงแม้ตัวเลขค่าเฉลี่ย​ในบางปีอาจจะดูต่ำแต่ก็มีบางวันที่มีค่าสูง เกินกว่า​ 20​ ไปเหมือนกัน​ และจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าปีที่ค่า​ VIX Index​ สูงโด่งเตะตาออกมาเลยคือปี​ 2008-2009​ ที่เกิดวิกฤตซับไพร์ม ​หรือ​ Hamburger crisis

"VIX Index" (ดัชนีแห่งความกลัว) คืออะไร ?

และเมื่อวันจันทร์ที่​ 16​ มี.ค. 20​ ตลาดดาวโจนส์ได้​ปิดลบถึง​เกือบสามพันจุดหรือคิดเป็น​ 12.93% จนโดนปิดการซื้อขาย (Circuit​ Breaker) เป็นครั้งที่​ 3 ในรอบ​ 2 อาทิตย์​ ในขณะเดียวกัน​ VIX Index​ ​ ก็ได้สร้างจุดสูงสุดใหม่ไปแล้วที่ระดับ​ 82.69 ล้มล้างจุดสูงสุดเดิมที่สร้างไว้เมื่อวันที่​ 20 พฤศจิกายน​ 2008​ ที่ระดับ​ 80.86 แต่ยังไม่สามารถทำลายสถิติจุดสูงสุดระหว่างที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมในปี 2008​ ได้

ันที่มีราคาปิดสูงสุดของ​ VIX Index​ สูงสุด 3 อันดับแรกคือ

อันดับ​ 1 ราคาปิดของดัชนี​ VIX Index อยู่ที่​ 82.69​ เมื่อวันที่​ 16​ มีนาคม​ 2020
อันดับที่​ 2 ราคาปิดของดัชนี VIX Index อยู่ที่​ 80.86 เมื่อวันที่​ 20​ พฤศจิกายน​ 2008
อันดับ​ 3 ราคาปิดของดัชนี​ VIX Index​ อยู่ที่​ 80.06 เมื่อวันที่​ 27​ ตุลาคม​ 2008

ันที่มีราคาปิดสูงสุดของ​ VIX Index​ ต่ำสุด 3 อันดับแรกคือ

อันดับ​ 1 ราคาปิดของดัชนี​ VIX Index​ อยู่ที่​ 9.14 เมื่อวันที่​ 3 พฤศจิกายน​ 2017
อันดับ​ 2 ราคาปิดของดัชนี​ VIX Index อยู่ที่​ 9.15 เมื่อวันที่​ 3 มกราคม​ 2018
อันดับ​ 3 ราคาปิดของดัชนี​ VIX Index​ อยู่ที่​ 9.19 เมื่อวันที่​ 5 ตุลาคม​ 2017

เราเทรด​ VIX​ ได้มั้ย ?

คุยกันมาจนถึงตอนนี้​ พี่ทุยเชื่อว่าคงมีหลายคนที่สงสัยว่าเราสามารถเทรด​ VIX​ เหมือนเทรดดัชนี​ SET Index ได้หรือไม่​ พี่ทุยขอตอบเลยว่า​ ได้ !!! แต่เราต้องไปเปิดบัญชีซื้อหุ้น หรือ อนุพันธ์ของตลาดต่างประเทศ เพื่อเข้าซื้อ VIX Future หลักการซื้อขายและทำกำไรก็จะเหมือนกับ Future ทั่วไปเลย หรือถ้าไม่มีบัญชีอนุพันธ์ก็สามารถซื้อผ่านบัญชีหุ้นต่างประเทศ ETF ได้เลย มีให้เลือกทั้งขาขึ้น (Bull) และ ขาลง (Bear)

ก่อนหน้าที่จะมีวิกฤต​ที่กระทบไปทั้งโลกอย่างเรื่องของการเกิดโรคระบาด​ พี่ทุยเคยได้ยินคำพูดทำนองว่า​

SET ​ไทยไม่ใช่ดาวโจนส์​ คนละตลาดกัน​ ไม่เกี่ยวกันหรอก

ขอบอกเลยว่าเกี่ยวข้องกันนะ​ ตลาดหุ้นไทยจะถูกแบ่งนักลงทุนออกเป็น 4 ประเภท และ 1 ในประเภทนั้นก็คือ นักลงทุนต่างชาติ การไหลเข้าออกของเงินต่างชาติมีผลต่อตลาดหุ้นบ้านเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อมีเทคโนโลยี​ที่เชื่อมโลกได้ภายในเสี้ยววินาทีอย่างทุกวันนี้​ ปัจจัยเฉพาะของแต่ละประเทศ​เป็นเรื่องนึงที่ย่อมจะส่งผลกระทบถึงอารมณ์​ของนักลงทุน​อีกซีกโลก​แล้ว​ เช่น​ สงครามการค้า​ ไม่ต้องพูดถึงว่าปัจจัยใหญ่ ๆ​ ที่ผลกระทบต่อทุกประเทศ จะมีผลขนาดไหน​ เพราะทุกสินทรัพย์​และตลาดทั่วโลกมีสิ่งที่เรียกว่า​ ค่าสหสัมพันธ์​ หรือ​ Correlation ระหว่างกัน​

พี่ทุยเคยบอกว่าจะลงทุนอะไรต้องมีการกระจายความเสี่ยง (Diversified) วันนี้ขอเสริมนิดหน่อยนะว่าการกระจายความเสี่ยง เราต้องดูด้วยว่าเค้ามีความสัมพันธ์​กันยังไง​ ถ้าเค้ามีความสัมพันธ์​เป็นไปในทางเดียว​กัน​ นอกจากจะไม่ช่วยกระจายความเสี่ยงเเล้วยังเสี่ยงมากขึ้นอีกด้วยนะ​ อันนี้ต้องระวังให้ดีเลย..

ติดตามคำศัพท์การเงินอื่น ๆ ได้ที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply