4 หลักการ เลือกใช้ "Stop Loss" ให้เหมาะกับการลงทุน

4 หลักการ เลือกใช้ “Stop Loss” ให้เหมาะกับการลงทุน

3 min read  

ฉบับย่อ

  • “Stop Loss” หรือ การตัดขาดทุน ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถช่วยปกป้องเงินลงทุนของเรา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน
  • การตัดขาดทุน (Stop loss) นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีเช่น Percentage stop, Chart stop, Volatility stop และ Time stop ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรดูลักษณะของหุ้นหรือสินทรัพย์ที่เราลงทุนว่าตัดขาดทุนแบบไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เมื่อเข้ามาลงทุนในตลาด แต่ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ หากเราเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วย นอกจากเรื่องของการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน การใช้  “Stop Loss” หรือ “จุดตัดขาดทุน” ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถช่วยปกป้องเงินลงทุนของเรา

การ “Stop Loss” มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้รูปแบบไหนให้เหมาะสมกับแนวทางการลงทุน และสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป

Percentage stop

Percentage stop น่าจะเป็นจุดตัดขาดทุน ที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดี พูดง่าย ๆ คือ เป็นการกำหนดว่าเราจะยอมขาดทุนคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุนที่ใช้ซื้อไป เช่น หากเราสามารถรับความเสี่ยงได้สูงสุด 7% หลังจากเข้าซื้อ หากราคาปรับตัวลงมาถึง 7% ก็จะยอมขายออกไป ในส่วนของ Percentage stop นี้ จะมีอีกลักษณะหนึ่งที่คล้ายกันคือ การกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนสูงสุดจากเงินลงทุนรวมแทน เช่น เรารับความเสี่ยงสูงสุดได้ 5% ของเงินลงทุนรวม หากเรามีเงินลงทุน 100,000 บาท เราจะขายตัดขาดทุนออกไป หากเงินลงทุนลดต่ำลงกว่า 95,000 บาท

ข้อดีของการวาง “จุดตัดขาดทุน” แบบนี้คือ เราจะรู้ว่าการซื้อหุ้นแต่ละครั้งมีความเสี่ยงสูงสุดเท่าไหร่ ทำให้เราสามารถบริหารจัดการเงินทุนได้ง่าย แต่ด้วยวิธีการนี้ก็อาจทำให้เราตัดขาดทุนในจังหวะที่ผิดพลาด อย่างเช่น การเข้าซื้อในจังหวะที่หุ้นกำลังวิ่งขึ้น หลังจากนั้นเกิดการปรับฐานระยะสั้นจนสูงกว่าเปอร์เซ็นต์ที่เราตั้งไว้ ทำให้เราต้องตัดขาดทุนออกไปก่อนที่หุ้นจะเด้งขึ้นต่อ

Chart stop

สำหรับนักลงทุนสายเทคนิคคอล การกำหนดจุดตัดขาดทุนโดยพิจารณาจากกราฟราคาหุ้น ซึ่งแนวทางการใช้กราฟในการหาจุด Stop Loss มีค่อนข้างหลากหลาย โดยหนึ่งในวิธีที่คุ้นเคยกันมากที่สุด คือ การใช้แนวรับ (Support level) เป็นจุดในการตัดขาดทุน แนวรับในกราฟราคานี้ อาจจะกำหนดจากจุดที่ราคามีการย่ำฐานหลาย ๆ ครั้ง จนสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นจุดที่ราคามักจะกลับทิศ หากราคาปรับตัวหลุดลงไปจากจุดนี้ เราก็จะขายตัดขาดทุนออกไป นอกจากนี้ การกำหนดจุดโดยใช้แนวรับ อาจจะมาจากการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ อาทิ SMA EMA หรือ WMA ส่วนค่าที่จะเลือกใช้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรารับได้

อย่างการใช้เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น เช่น 10 วัน จะช่วยให้ตัดขาดทุนได้เร็วขึ้น แต่ก็มีโอกาสจะถูกความผันผวนในระยะสั้นบีบให้ขายออกไปในช่วงปรับฐานระยะสั้น หรือการใช้เส้นค่าเฉลี่ยในระยะกลาง อย่าง 75 วัน ก็จะช่วยให้เราถือหุ้นไปกับแนวโน้มใหญ่ได้ดีกว่า แต่ช่วงห่างของการตัดขาดทุนก็จะมากขึ้นตามมาด้วย

Volatility stop

การวางจุดตัดขาดทุนโดยนำความผันผวนของราคามาช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งอาจจะใช้ผสมผสานกับการ Stop Loss ในแบบอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะในลักษณะที่เรียกว่า Trailing stop หรือการเคลื่อนจุดตัดขาดทุนไปตามแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาสมมุติว่า หุ้นที่เราซื้อวิ่งขึ้นไปตามที่คาดการณ์ไว้ แต่ด้วยธรรมชาติของหุ้นที่มักจะมีความผันผวนอยู่เสมอ การกำหนดจุดขายในลักษณะนี้ จะทำให้เราสามารถรักษากำไรที่เกิดขึ้นเอาไว้ได้ หากราคาหุ้นเกิดการกลับทิศอย่างรุนแรง

หนึ่งในเครื่องมือที่นิยมใช้สำหรับการกำหนด “จุดตัดขาดทุน” ในรูปแบบนี้ คือ ATR (Average True Range) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยระบุระยะของความผันผวนในช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้เราสามารถคาดเดาได้ว่าราคาของหุ้นนั้น ๆ ใน 1 วัน มีโอกาสจะแกว่งตัวขึ้นลงในช่วงประมาณเท่าไหร่ จุดเด่นของรูปแบบนี้คือ การรักษากำไรที่เกิดขึ้นเอาไว้ แต่ในมุมกลับกัน การขยับจุดขึ้นไปตามราคาหุ้น อาจทำให้เราพลาดกับแนวโน้มใหญ่ได้เช่นกัน และอาจจะทำให้เราต้องตัดสินใจซื้อขายบ่อยขึ้นด้วย

Time stop

เป็นวิธีการตัดขาดทุนที่อิงจากเวลาเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วการใช้ Time stop มักจะใช้เพื่อปิดจุดบอดในเรื่องของการถือหุ้นที่ไม่เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่เราต้องการ แต่ก็ไม่ได้ปรับตัวลงไปจนเราต้องตัดขาดทุนด้วยวิธีอื่น หรือเป็นภาวะ Sideway แบบแคบ ๆ สิ่งที่เรามักจะสูญเสียไปในภาวะเช่นนี้คือ โอกาสของการลงทุน เพราะการถือหุ้นที่ไม่ขยับไปไหน เท่ากับว่าเราต้องเสียเวลาในการถือหุ้นนั้น ๆ ไปเรื่อย ๆ

แน่นอนว่าการวาง “จุดตัดขาดทุน” รูปแบบนี้ จะช่วยป้องกันการสูญเสียโอกาสไปกับหุ้นที่ไม่ขยับ แต่ก็อาจจะสูญเสียโอกาสไปจากการจับจังหวะที่ผิดพลาดได้เช่นกัน การเลือกใช้จุดตัดขาดทุนลักษณะนี้จึงต้องอาศัยประสบการณ์ และความเข้าใจลักษณะของตลาดเข้ามาช่วย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply